posttoday

“สรรพสามิต ” ชง ครม.เคาะ “Carbon Tax” 10 ธ.ค.นี้

03 ธันวาคม 2567

กุลยา อธิบดีกรมสรรพสามิต เผยเตรียมเสนอ ครม.เห็นชอบ ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) 10 ธ.ค.67 คาดมีผลบังคับใช้ภายในปีนี้ ยันไม่กระทบประชาชน-ผู้บริโภค

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวภายในงานสัมมนา “Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business” ภายใต้หัวข้อ “Government's Mechanisms to Achieve SDGs” จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ ว่า กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากร เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันอังคารที่ 10 ธ.ค.67 พิจารณาเห็นชอบการเก็บภาษีคาร์บอน Carbon Tax โดยการเก็บภาษีดังกล่าวจะครอบคลุมสินค้าเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมด แต่ยืนยันว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับประชาชน และภาคธุรกิจ โดยเร่งให้มีผลบังคับใช้ภายในปี 2567 

การเก็บภาษีคาร์บอนต้องเกิดขึ้นแน่นอน เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเกิดขึ้น แต่จะไม่เป็นภาระผู้ประกอบการต้องแบกต้นทุนเพิ่มขึ้น ภาระผู้บริโภคไม่เพิ่มขึ้น เพราะภาษีจะถูกฝังในราคาผลิตภัณฑ์น้ำมัน ราคาจะเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค และผู้ผลิตให้หันไปผลิต และบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนสู่โลก

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก World Economic Forum (WEF) ชี้ว่า 10 ปีประเทศที่มีกลไกลเก็บภาษีคาร์บอน ปริมาณการปล่อยคาร์บอนสู่โลกเพิ่มขึ้นปีละ 2% ประเทศไม่มีภาษี ปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้น 3% แก็ปจะกว่างขึ้น 5%  และหากดูจากประเทศที่ชำนาญ มีประสบการณ์ และประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ เช่น สวีเดิน สิงคโปร์ ที่การเก็บจากน้ำมันเชื้อเพลิง พลังงานอยู่ที่127 เหรียญต่อตันคอร์บอน ญี่ปุ่นเก็บในอัตราน้อยประมาณ 42 เหรียญต่อตันคาร์บอน โดยสวีเดนเก็บภาษีคาร์บอร์น และนำรายได้เข้ารัฐ เพื่อนำไปใช้จ่ายจ่ายผ่านกระบวรการงบประมาณ ส่วนญี่ปุ่นเก็บเพื่อนำเข้ากองทุนเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม สำหรับไทยจัดเก็บจากภาษีน้ำมัน ส่วนพลังงานทดแทนไม่เก็บภาษี ขณะที่ไบโอดีเซล 100 ไม่เกิลบจากพลังงานทดแทน เพื่อสนับสนุนสิ่งแวดล้อม โดยนำเงินภาษีนี้นำเข้ารัฐ เข้าสู่กระบวนการงบประมาณ และนำเงินไปสนับสนุนโครงการลดโลกร้อนต่างๆ