"Jubilee Diamond" การปรับตัวในยุคดิจิทัลของธุรกิจ "อัญมณีไทย"

14 เมษายน 2568

คุยกับ "อัญรัตน์ พรประกฤต" CEO เจน 4 ของ "Jubilee Diamond" ธุรกิจเครื่องประดับเพชรอายุเกือบ 100 ปีของไทย กับมุมมองและแนวคิดที่นำพากิจการล้ำค่าก้าวสู่ยุคดิจิทัลเต็มตัว!

“เราจะไม่ตัดสินใจลงมือทำอะไร โดยไม่มีข้อมูลสนับสนุน” อาจคือคำจำกัดความที่แสดงตัวตนของ อัญรัตน์ พรประกฤต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ที่นำพากิจการเพชรระดับพันล้านของไทยเข้าสู่ยุคใหม่ในเจน 4 ได้อย่างงดงาม สร้างสรรค์ โดดเด่นและน่าสนใจ

 

การเติบโตของธุรกิจในวันที่ spending behavior เปลี่ยนไปคือความท้าทายและคือตัวอย่างของความสำเร็จที่เกิดจากปรับตัวได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าสถานการณ์โลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร เพราะนี่คือยุคของการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกดิจิทัลในทุกวงการ

 

ถ้าคุณเดินเข้ามาที่ “ยูบิลลี่ ออฟ สยาม” (Jubilee of Siam) หน้าร้านหลักที่ถือเป็นเรือธงของแบรนด์ (Flagship Store) บนถนนสีลม คุณอาจไม่รู้ตัวว่าคุณกำลังเดินอยู่ใน ไดมอนด์ บูทีคที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าคุณกำลังมองหาเพชร อัญมณีที่หยุดทุกสายตา ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด หากนึกถึงแบรนด์หนึ่งที่อยู่ในสายตาและความทรงจำมาโดยตลอดอย่างยาวนาน เชื่อว่า "Jubilee Diamond" (ยูบิลลี่ ไดมอนด์) คือหนึ่งในภาพจำ

 

และเมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มตัว ถ้าคุณลองถาม AI ว่าธุรกิจเพชรหรือร้านเพชรรายใหญ่ระดับ No.1 ในประเทศไทยมีที่ไหนบ้าง คุณจะได้คำตอบแรกคือ “Jubilee Diamond”

 

\"Jubilee Diamond\" การปรับตัวในยุคดิจิทัลของธุรกิจ \"อัญมณีไทย\"

 

โพสต์ทูเดย์ได้มีโอกาสพูดคุยกับ อัญรัตน์ พรประกฤต CEO ในเจนที่ 4 ของ Jubilee Diamond ในวันที่ธุรกิจเข้าสู่ยุคของปรับตัวสู่โลกดิจิทัล (2020 - ปัจจุบัน) อย่างเต็มตัว คุณอัญรัตน์ ได้เปิดเผยถึงการนำกลยุทธ์ดิจิทัลมาใช้ไม่ว่าจะเป็น การขายผ่านออนไลน์ จากเว็บไซต์และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่างครบวงจร ไปจนถึงการออกแบบคอลเลกชันร่วมสมัย ที่ได้มีการเปิดตัวคอลเลกชันพิเศษ เช่น การจับมือกับ POP MART สร้างเครื่องประดับร่วมกับคาแรคเตอร์ดังอย่าง “Sweet Bean” ผสานศิลปะของอาร์ตทอยกับเครื่องประดับเพชร

 

ในส่วนของการใช้เทคโนโลยี ได้มีการนำเทคนิค Microscope Setting จากญี่ปุ่นมาใช้เพื่อเพิ่มความประณีตในการฝังเพชร ไปจนถึงการสร้างประสบการณ์ใหม่ ทั้งการจัดอีเวนต์และแคมเปญพิเศษ เพื่อสร้างประสบการณ์การเลือกซื้อเพชรแบบ Exclusive 

 

กล่าวได้ว่าในวันนี้ Jubilee Diamond ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผสมผสานความคลาสสิกและนวัตกรรมใหม่เข้าด้วยกัน จนทำให้สามารถเดินทางเข้าสู่หัวใจคนรุ่นใหม่ได้โดยไม่ทิ้งรากฐานความเป็นแบรนด์เพชรชั้นนำของประเทศไทย

 

\"Jubilee Diamond\" การปรับตัวในยุคดิจิทัลของธุรกิจ \"อัญมณีไทย\"

 

และหากถามต่อว่า “ยูบิลลี่ ไดมอนด์” มีคอลเลกชันและโปรเจกต์พิเศษอะไรที่น่าสนใจ

คุณจะได้คำตอบทันใดว่า คอลเลกชัน LARME D'AMOUR (ลาร์เม่ เดอ อามัวร์) ซึ่งเป็นคอลเลกชันที่โดดเด่นของยูบิลลี่ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหยดน้ำค้างในยามเช้า เป็นชุดเครื่องเพชรที่สะท้อนความงดงามและความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ ด้วยการออกแบบที่หรูหราและประณีต ตามมาด้วยคอลเลกชัน Jubilee x Pop Mart : Sweet Bean - I Want A Hug Series ซึ่งเป็นคอลเลกชันจากการร่วมมือระหว่าง Jubilee Diamond และ Pop Mart นำเสนอเครื่องประดับเพชรที่มีดีไซน์น่ารักและอบอุ่น ภายใต้แนวคิดการมอบอ้อมกอดที่มีพลังวิเศษช่วยปลอบโยนและสร้างความสุขให้กับผู้สวมใส่ คอลเลกชันนี้เปิดให้พรีออเดอร์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และได้รับการตอบรับอย่างดีมากๆ จากลูกค้า

 

อัญรัตน์ พรประกฤต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) อัญรัตน์ พรประกฤต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)

 

ผู้บริหารเจน 4 ของ “Jubilee Diamond”

คุณอัญรัตน์ เล่าให้ฟังว่า เธอตั้งต้นมาจากการเป็นนักบัญชีของบริษัทยักษ์ใหญ่ หลังเรียนจบจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่เมื่อต้องมารับหน้าที่สืบสานธุรกิจของครอบครัวในฐานะบุตรสาวคนโต ทำให้เธอหันมาเรียนรู้เรื่องการดูเพชรตามหลักสูตรของนักอัญมณีศาสตร์ (Gemologist) จนค้นพบว่าเป็นเส้นทางที่เหมาะกับตัวเอง 

 

“พอตั้งใจทํามันก็ทําได้ พอทําได้ก็รู้สึกสนุก เพราะอะไรที่เราทําได้ มันจะมีความมั่นใจว่านี่คือทางของเรา” คุณอัญเล่าถึงเส้นทางในสายอัญมณี

 

หลังจากนั้นบิดาก็ได้มอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) ก่อนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ตามลำดับในปี 2558 กระทั่งทำให้แบรนด์มีลุคใหม่ๆ แตกต่างจากยุคก่อนหน้า ทำให้วันนี้เพชรไม่ใช่อัญมณีที่เข้าถึงยาก หรือเพียงแค่นำมาสวมใส่แต่ในโอกาสพิเศษเท่านั้น หากคือเครื่องประดับที่หยิบมาใส่ได้ทุกวันแบบ Every Look

 

\"Jubilee Diamond\" การปรับตัวในยุคดิจิทัลของธุรกิจ \"อัญมณีไทย\"

 

ประวัติศาสตร์ Jubilee Diamond

Jubilee Diamond เริ่มต้นกิจการในปี พ.ศ. 2472 เป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายเพชรดิบจากต่างประเทศจากร้านเล็กๆ ย่านสะพานเหล็ก ที่ค่อยๆ เติบโตกลายเป็นหนึ่งในผู้ค้าเพชรรายใหญ่ของไทย จนถึงปัจจุบันนับเวลาได้ 96 ปี จากธุรกิจครอบครัว Jubilee ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง กระทั่งเปิดสาขาในห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าชั้นนำทั่วประเทศ ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 130 แห่ง ด้วยฐานลูกค้าถึงกว่าสองแสนราย

 

“อัญเป็นเจเนอเรชันที่ 4 ของครอบครัว ซึ่งมีพื้นเพเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ธุรกิจของครอบครัวเราอยู่ในประเทศไทยมานานแล้ว เริ่มต้นตั้งแต่รุ่นเหล่ากง ซึ่งก็คือคุณทวดของอัญ แต่เป็นยุคที่อัญทันได้เจอ ท่านส่งต่อธุรกิจมายังรุ่นคุณปู่ หรือ “อากง” ของอัญ ซึ่งเป็นคุณพ่อของคุณพ่อ

 

ในยุคนั้น ธุรกิจเพชรพลอยยังคงเป็นแบบดั้งเดิม ภายใต้ชื่อ "สมาคมเพชรพลอยเงินทอง" ซึ่งคุณปู่ของอัญเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญ ท่านมีแนวคิดที่ถือว่าทันสมัยมากในยุคนั้น คือการสร้าง "มาตรฐาน" ในการซื้อขายอัญมณี เพราะมองว่าเมื่อมีมาตรฐาน ผู้บริโภคก็จะรู้สึกมั่นใจมากขึ้น ไม่ต้องเชื่อเพียงแค่คำพูดของผู้ขาย แต่มีสิ่งยืนยัน เช่น ใบรับรอง (certificate) ที่ตรวจสอบได้”

 

\"Jubilee Diamond\" การปรับตัวในยุคดิจิทัลของธุรกิจ \"อัญมณีไทย\"

 

จากแนวคิดนี้ จึงเกิดเป็น “ยูบิลลี่” ที่หันมาโฟกัสกับเครื่องประดับเพชรโดยเฉพาะ

ร้านแรกของจูบิลลี่ตั้งอยู่ที่ย่านสะพานเหล็ก ซึ่งในยุคนั้นถ้าใครจะซื้อเพชรหรืออัญมณี มักจะไปที่สะพานเหล็กหรือไม่ก็แหล่งชานเมืองเล็ก ๆ ร้านของเราจึงเริ่มต้นจากจุดนั้น และจนถึงปัจจุบันก็ยังคงเปิดให้บริการอยู่ ถือเป็นหนึ่งในสาขา "สแตนด์อโลน" ดั้งเดิมของยูบิลลี่

 

เมื่อเวลาผ่านไป เมืองเริ่มขยายตัว ห้างสรรพสินค้าก็เริ่มมีมากขึ้น และแน่นอนว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนตามไปด้วย ยูบิลลี่จึงเป็นบริษัทแรก ๆ ที่บุกเบิกการนำเครื่องประดับเพชรเข้าไปจำหน่ายในห้างฯ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีแบรนด์ไหนทำมาก่อน

 

พอมีโซนเครื่องประดับเกิดขึ้น เราก็เป็นแบรนด์ที่เข้าไปวางขายจริงจัง และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายสาขาไปทั่วประเทศ

 

สิ่งที่ตามมาก็คือ “การสร้างอาชีพ” เพราะเดิมทีธุรกิจเพชรเป็นงานของคนในครอบครัว ญาติพี่น้องเท่านั้นที่จะมาทำหน้าที่ขาย เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงและต้องอาศัยความไว้วางใจ

 

แต่เมื่อขยายสาขามากขึ้น ก็ต้องมีบุคลากรที่สามารถให้คำแนะนำลูกค้าได้อย่างเชี่ยวชาญ จึงเกิดบทบาทใหม่ขึ้นในองค์กร นั่นก็คือ “Diamond Advisor” หรือที่ปรึกษาด้านเพชร ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิจ ที่ทำให้เราก้าวจากธุรกิจครอบครัว สู่การเป็นองค์กรที่มีระบบ และขยายโอกาสให้กับคนอื่นได้เข้ามาร่วมเติบโตไปด้วยกัน

 

และในปี 2552 Jubilee ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ภายใต้ชื่อ "JUBILE" ทำให้กลายเป็นบริษัทเพชรเจ้าแรกและเจ้าเดียวในไทยที่เข้าสู่ตลาดหุ้น และยังเป็นบริษัทเพชรรายแรกของโลกที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาของ HRD Antwerp สถาบันอัญมณีศาสตร์อันดับ 1 ประเทศเบลเยียม ซึ่งมอบรางวัลระดับโลก HRD Antwerp Certified Diamond Jeweller ให้กับบริษัทในด้านคุณภาพสินค้า การให้บริการระดับชั้นนำ และความโดดเด่นด้านการบริหารที่โปร่งใส

 

ปัจจุบัน บมจ.ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นธุรกิจค้าปลีกที่จัดจำหน่ายเครื่องประดับเพชร 2 แบรนด์ คือ “ยูบิลลี่ ไดมอนด์” (Jubilee Diamond) ซึ่งเป็นแบรนด์ต้นตำรับของบริษัท และ “ฟอร์เอเวอร์มาร์ค” (FOREVERMARK) ของกลุ่มบริษัทเดอเบียร์ส (De Beers) ที่ยูบิลลี่เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายโดยเน้นทำตลาดในต่างประเทศเป็นหลัก

 

\"Jubilee Diamond\" การปรับตัวในยุคดิจิทัลของธุรกิจ \"อัญมณีไทย\"

 

มุมมองด้านความยั่งยืน (Sustainability) แนวคิดที่ทุกองค์กรต้องมี

"ตอนนี้หนึ่งในบทบาทของอัญในฐานะผู้บริหารองค์กร ก็คือการสร้างทีม โดยเฉพาะในเรื่องของ “คน” ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าไปได้อย่างยั่งยืน แน่นอนว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เฉพาะองค์กรของอัญ ทุกองค์กรก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เหมือนกัน

 

วันนี้เราได้คุยกันถึงคำว่า "Sustainability" ซึ่งในมุมของอัญ มันไม่ได้หมายถึงแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการวางผังองค์กร วางระบบงานให้สามารถขับเคลื่อนได้โดยไม่ยึดติดกับตัวบุคคลมากเกินไป ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก อัญพยายามจะทำให้องค์กรสามารถเดินตามแผนงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะมีใครอยู่หรือไม่อยู่ นี่คือสิ่งที่อันกำลังพยายามทำอยู่ค่ะ”

 

\"Jubilee Diamond\" การปรับตัวในยุคดิจิทัลของธุรกิจ \"อัญมณีไทย\"

 

การให้ความสำคัญกับ “ทีมงาน” หัวใจขององค์กร

"และถ้าพูดถึงตัวองค์กรเอง เราได้พูดถึง “Customer Centric” ไปแล้ว แต่ในมุมขององค์กรภายใน อัญก็ให้ความสำคัญกับ “คน” เหมือนกัน โดยเฉพาะทีมงาน ซึ่งอัญเองมีหลักคิดในการบริหารที่ใช้เหมือนกับตอนบริหารลูกค้าเลยค่ะ

 

คือเวลาบริการลูกค้า เราต้องเข้าใจเขาก่อน อัญก็มองว่าการบริหารทีมงานก็เช่นเดียวกัน ต้องเข้าใจเขาก่อนเหมือนกัน ต้องรู้ว่า Resource ที่เรามีอยู่ตอนนี้คืออะไร มีข้อจำกัดหรือศักยภาพในด้านไหนบ้าง แล้วอัญก็จะพยายามออกแบบ Workflow การทำงานในระยะสั้นให้สอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่"

 

“แน่นอนว่าบางครั้ง resource ที่มีอาจจะไม่ได้ match กันเป๊ะ ๆ กับสิ่งที่ต้องทำ ก็ต้องหาวิธีบริหารจัดการให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้”

 

“ดังนั้นสิ่งที่อัญให้ความสำคัญมากคือ การเข้าใจ "คน" ก่อนค่ะ เข้าใจว่าแต่ละคนมีบุคลิกแบบไหน มีแนวทางการทำงานยังไง เพราะว่าเวลาทำงานร่วมกันมันก็เหมือนกับการพายเรือลำเดียวกัน ซึ่งแต่ละคนก็มีลีลา มีจังหวะของตัวเอง อัญมองว่า การเข้าใจทีม เข้าใจจังหวะของแต่ละคน จะช่วยให้เราสามารถพายเรือไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

 

\"Jubilee Diamond\" การปรับตัวในยุคดิจิทัลของธุรกิจ \"อัญมณีไทย\"

 

เทคนิค “ลงไปผัดก๋วยเตี๋ยวด้วย”

"โดยพื้นฐานแล้ว อัญเป็นคนที่ "ลงไปผัดก๋วยเตี๋ยว" ด้วยตลอด อัญมักใช้คำนี้บ่อย ๆ ซึ่งหมายถึงว่าทำงานไปพร้อมๆ กับทีม ทำด้วยกัน ลงมือด้วยกัน เพราะอัญติดนิสัยการทำงานแบบนั้นมาตั้งแต่สมัยก่อน ที่ต้องลงมือจริง และเป็นทีมเวิร์กแบบเต็มตัว"

 

"อัญจึงค่อนข้างเป็นคนที่ไม่ใช่แค่บริหารจากข้างบนอย่างเดียว แต่จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาด้วย เพราะปัญหาในการทำงานมีทุกวัน โดยเฉพาะในสายงานรีเทล ซึ่งเป็นงานที่ต้อง active อยู่ตลอดเวลา และหยุดนิ่งไม่ได้"

 

"หากถามว่าเป็นคนละเอียดไหม อัญคิดว่ามันก็ขึ้นอยู่กับเรื่องนะคะ บางเรื่องก็อาจจะไม่ได้ละเอียดมาก แต่บางเรื่อง โดยเฉพาะถ้าเกี่ยวกับ "โครงสร้าง" (structure) อันจะเป๊ะมาก เป็นคนที่ชอบให้ทุกอย่างชัดเจน มีระบบ มีการเช็กอินและเช็กเอาต์ทุกขั้นตอน ต้องรู้ว่าทำถึงไหนแล้วบ้าง แม้ผลลัพธ์สุดท้ายจะไม่เป็นไปตามเป้า ก็ไม่เป็นไร แต่อัญจะ “ทำจนถึงที่สุด” เพราะอัญเป็นคนที่ “Commit” กับสิ่งที่รับผิดชอบเสมอ"

 

จากคำกล่าวของบิดาที่ว่า "งานแรก" ของคนเรา เหมือนเป็นการเซ็ตเวย์ความคิดและนิสัยการทำงาน

"อัญว่าคุณพ่อพูดถูกนะคะ เพราะ "งานแรก" ของคนเรามันเหมือนเป็นการเซ็ตเวย์ความคิดและนิสัยการทำงานของเราไปเลย สำหรับอัญงานแรกคือการเป็นออดิเตอร์ (ผู้ตรวจสอบบัญชี) ซึ่งต้องใช้ความถึกพอสมควร เพราะเราต้องตรวจสอบบัญชีให้เสร็จเรียบร้อยก่อนถึงจะปิดจ๊อบได้ งานของออดิเตอร์คือทุกอย่างต้องออกจากจ๊อบเป็นทีม จะปล่อยงานไว้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่ได้เลย

 

ถ้าปิดจ๊อบได้เร็ว นั่นคือ "จ๊อบสวรรค์" เลยนะคะ เพราะโดยเฉลี่ยแล้ว กลับบ้านสามทุ่มเป็นเรื่องปกติ นี่จึงเป็นสาเหตุที่อัญชินกับการทำงานช่วงค่ำ ๆ ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นเรื่องลำบาก เพราะตอนอยู่ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ฯ (PwC) ก่อนจะได้ออกจากออฟฟิศก็ปาเข้าไปสามทุ่มกว่าแทบทุกวัน"

 

\"Jubilee Diamond\" การปรับตัวในยุคดิจิทัลของธุรกิจ \"อัญมณีไทย\"

 

การทำงานกับคนรุ่นใหม่ 

"พูดถึงคนทำงานรุ่นใหม่ในวงการนี้ จริง ๆ แล้วอันว่าคนรุ่นใหม่ทุกวันนี้มีความรอบรู้ แล้วก็มีเครื่องมือหรือ tools ต่าง ๆ ที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ประมวลผลต่าง ๆ ได้เร็วขึ้นกว่าเดิมเยอะมาก

 

สำหรับอัญเอง สิ่งสำคัญคือการสนุกกับทุก ๆ วัน และรู้สึกมีความสุขในทุกเช้าที่ได้ตื่นขึ้นมา แล้วก็ยังได้เห็นเพชร ได้อยู่กับงานที่เรารัก

 

"ถามว่าเห็นเพชรแล้วยังรู้สึกดีอยู่ไหม? อัญต้องบอกเลยว่าใช่ค่ะ เพราะเห็นมาตั้งแต่เด็กแล้ว มันกลายเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้วอันก็สนุกกับการได้ลงไปทำคลิปบ้าง ได้อยู่ในทีมงานดี ๆ ที่มีพลังร่วมกัน เพราะงั้นเวลาได้ลงมือทำงาน มันก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกมี energy ขึ้นมาทันที

 

หลายคนที่เคยเจออัญก็มักจะบอกว่าอัญเป็นคนที่มีพลัง เป็นคนที่สร้างพลังงานบวกให้กับรอบข้าง ซึ่งอัญว่าคนรุ่นใหม่ทุกวันนี้มีความสามารถนะคะ เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย แค่เพิ่มความมุ่งมั่นลงไปอีกนิด ถามตัวเองว่า "จะเอาจริงไหม?" ถ้าเอาจริง ยังไงก็ประสบความสำเร็จได้แน่นอนค่ะ"

 

ทั้งหมดนี้ก็สอดคล้องกับที่เราคุยกันเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และทิศทางของอุตสาหกรรมเพชรที่เปลี่ยนจาก “Exclusive Luxury” สู่ “Inclusive Luxury”

ในข้อนี้อัญเห็นด้วยค่ะ วันนี้เพชรไม่ได้เป็นสิ่งที่เข้าถึงยากอีกต่อไป ในมุมมองของผู้บริหาร อันว่าพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปมาก เรื่องการใช้จ่ายก็เลยเปลี่ยนตามไปด้วย เอาง่าย ๆ ตอนเรายังเด็ก ใครจะคิดล่ะคะว่าเราจะกล้าซื้อกาแฟแก้วละร้อย ทุกวันนี้เป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว นี่แหละค่ะที่บอกว่า โลกมันเปลี่ยน คนเปลี่ยน และธุรกิจก็ต้องปรับตามให้ทัน

 

\"Jubilee Diamond\" การปรับตัวในยุคดิจิทัลของธุรกิจ \"อัญมณีไทย\"

 

โปรโมชั่นช้อปเครื่องประดับที่ JUBILEE DIAMOND กับบัตรเครดิต KTC

สิทธิพิเศษจาก KTC
สิทธิพิเศษ 1 ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน พร้อมรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5,200 บาท/เซลส์สลิป อัตราดอกเบี้ย 0% เมื่อลูกค้าชำระเต็มจำนวนภายในวันครบกำหนดชำระ


ลงทะเบียนภายในวันที่มียอดใช้จ่าย พิมพ์ JB1 เว้นวรรค ตามด้วยหมายเลขบัตรเครดิต 16 หลัก ส่งมาที่ 061-3845000 (ค่าบริการ SMS ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการเครือข่าย) หรือลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ KTC ทั้งนี้ สมาชิกจะต้องได้รับข้อความตอบกลับยืนยันจากเคทีซี จึงจะมีสิทธิ์เข้าร่วมรายการนี้

1 ม.ค. 68 – 30 เม.ย. 68 (รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก)

Thailand Web Stat