posttoday

PTTEP อัดงบ 5ปี 3.3 หมื่นล้านดอลล์ เดินหน้า Drive-Decarbonize-Diversify

20 ธันวาคม 2567

PTTEP กางแผนลงทุน 5 ปี อัดฉีดงบลงทุน 33,587 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เดินหน้าปี 2568 ลงทุน 7,819 ล้านดอลลาร์เดินหน้ากลยุทธ์ Drive-Decarbonize-Diversify เพิ่มมูลค่าธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม-ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์-ลงทุนธุรกิจใหม่

KEY

POINTS

  • PTTEP กางแผนลงทุน 5 ปี อัดฉีดงบลงทุน 33,587 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 
  • ปตท.สผ. เดินหน้าเพิ่มมูลค่าธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม-ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์-ลงทุนธุรกิจใหม่

นางชนมาศ ศาสนนันทน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า แผนการดำเนินงานประจำปี 2568 ของ ปตท.สผ. และบริษัทย่อย ภายใต้แผนกลยุทธ์ Drive-Decarbonize-Diversify เพื่อขับเคลื่อนและเพิ่มมูลค่าธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 รวมถึงขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) 

โดยจัดสรรงบประมาณประจำปี 2568 รวมทั้งสิ้น 7,819 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบด้วยรายจ่ายลงทุน (Capital Expenditure) จำนวน 5,299 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และรายจ่ายดำเนินงาน (Operating Expenditure)จ านวน 2,520 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป้าหมายการดำเนินงานของบริษัทในปี 2568 ยังคงมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทย ควบคู่การสร้างความแข็งแกร่งและขยายการลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในต่างประเทศ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว 

แผนงานสำคัญ ดังนี้คือ

1. เพิ่มปริมาณการผลิตปิโตรเลียมจากโครงการปัจจุบัน โครงการผลิตหลักที่สำคัญเพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย ได้แก่ โครงการจี 1/61 (แหล่งเอราวัณ) โครงการจี 2/61 (แหล่งบงกช) โครงการอาทิตย์ โครงการเอส 1 โครงการคอนแทร็ค 4 โครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย และโครงการซอติก้าและโครงการยาดานาในประเทศเมียนมาที่มีการนำก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้เข้ามาใช้ในประเทศไทย อีกทั้ง โครงการผลิตหลักในต่างประเทศที่สำคัญ เช่น โครงการในประเทศมาเลเซีย และประเทศโอมาน โดยได้จัดสรรรายจ่ายลงทุน จำนวน 3,676 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว

นอกจากนี้ยังมีแผนงานสำหรับกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยครอบคลุม Scope 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและ Scope 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ (Operational Control) พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายระหว่างทาง (Interim Target)ในการลดปริมาณความเข้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission Intensity) จากปีฐาน 2563 ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 และร้อยละ 50 ภายในปี 2573 และ 2583 ตามลำดับ โดยตั้งงบประมาณสำหรับกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2568 ทั้งสิ้น 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

2. เร่งผลักดันโครงการหลักที่อยู่ในระยะพัฒนา (Development Phase) ได้แก่ โครงการสัมปทานกาชา โครงการอาบูดาบี ออฟชอร์ 2 โครงการโมซัมบิก แอเรีย 1 และโครงการพัฒนาในประเทศมาเลเซีย เช่น โครงการมาเลเซีย เอสเค405บีโครงการมาเลเซีย เอสเค417 และโครงการมาเลเซีย เอสเค438 เป็นต้น ให้สามารถเริ่มการผลิตได้ตามแผนงาน โดยจัดสรรรายจ่ายลงทุนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,464 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ

3. เร่งดำเนินการสำรวจในโครงการปัจจุบัน ทั้งโครงการที่อยู่ในระยะสำรวจ โครงการในระยะพัฒนา รวมถึงโครงการที่ดำเนินการผลิตแล้ว เพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาว โดยจัดสรรรายจ่ายลงทุนจำนวน 127 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการเจาะหลุมสำรวจและประเมินผลของโครงการในประเทศไทยประเทศมาเลเซีย และประเทศเมียนมา

ทั้งนี้งบประมาณ 5 ปี (ปี 2568 – 2572) ที่ได้จัดสรรไว้เพื่อรองรับการดำเนินงานตามแผนงานข้างต้น มีรายละเอียดดังนี้

PTTEP อัดงบ 5ปี 3.3 หมื่นล้านดอลล์ เดินหน้า Drive-Decarbonize-Diversify

จากแผนงานและการจัดสรรงบประมาณดังกล่าว ปตท.สผ. คาดการณ์ปริมาณขายปิโตรเลียมในปี 2568 –2572 จากโครงการปัจจุบัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

PTTEP อัดงบ 5ปี 3.3 หมื่นล้านดอลล์ เดินหน้า Drive-Decarbonize-Diversify

ปตท.สผ. ให้ความสําคัญในการขับเคลื่อนการดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยได้เริ่มดําเนินการ ขยายไปสู่ธุรกิจใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน จึงได้สํารองงบประมาณ 5 ปี (2568-2572) เพิ่มเติมจากงบประมาณข้างต้นอีกจํานวน 1,747 ล้านดอลลาร์ เพื่อรองรับการขยายการลงทุนในธุรกิจ พลังงานลมนอกชายฝั่ง ธุรกิจดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS as a Service) ธุรกิจเชื้อเพลิงไฮโดรเจน และ การลงทุนในธุรกิจและเทคโนโลยีผ่านบริษัทย่อยที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินงานในรูปแบบ Corporate Venture Capital (CVC) ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมขององค์กรในช่วงการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเพื่อมุ่งสู่การ เป็นองค์กรคาร์บอนต่ำในอนาคต พร้อมกับการดูแลสังคมและชุมชนโดยรอบพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัท เพื่อ สร้างมูลค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายต่อไป