การปรับตัว SME ภาคธุรกิจส่งออก ในภาวะเงินบาทแข็ง
คอลัมน์ จับทิศธุรกิจเอสเอ็มอี
การปรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย GDP จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.5% ลดลงมาอยู่ที่ 2.8% จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองไทย
และความกลัวเรื่อง Trade War การประกาศระงับสิทธิพิเศษภาษีศุลกากร GSP สินค้าไทยไปสหรัฐ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าสูง สถานการณ์ข้างต้น ทำให้มีผลต่อภาคธุรกิจส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทย ช่วงเดือน มค.- มิย. การส่งออกมีมูลค่า 122,970.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว -2.91% (ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า)
แต่หาก SME ที่ทำการส่งออกหันมาปรับตัวรูปแบบการขายให้ต่างชาติแทนการส่งสินค้าไป กลับกันโฟกัสที่กลุ่มลูกค้าต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทย Indirect Export จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาบ้านเรา 30 ล้านคน ต่อปี
ซึ่งถ้ามีการซื้อสินค้าที่เป็นของที่ระลึกต่อ 1 คนอยู่ที่ 1000 บาท จะทำให้มียอดการขายสูงถึง 30,000 หมื่นล้านบาท ซึ่งตัวเลขนี้สามารถชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป
ดังนั้น การกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติซื้อสินค้าไทยกลับไปแทนความทรงจำที่ดี ผู้เขียนเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายเพื่อชดเชยการส่งออกที่ลดลงแน่นอน
5 กลุ่มสินค้าของฝากของที่ระลึกและภาคบริการ ที่ขายดี
1. สปา
2. สุขภาพและความงาม
3. เสื้อผ้า และสินค้าไลฟ์สไตล์
4. สมุนไพร
5. อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง
ทั้งนี้ อีกเหตุผลที่นักท่องเที่ยวตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อกลับไปเป็นของฝาก คือ บรรจุภัณฑ์หีบห่อ Packaging เพราะอย่าลืมว่า เราขายสินค้าของฝาก คือ "คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ"
ฉะนั้นหลักการเลือกซื้อ คือ เรื่องราว Story Telling รูปแบบ สี ต้องสัมพันธ์ กับสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อให้ผู้ซื้อประทับใจว่า ครั้งหนึ่งพวกเค้าได้เคยมา
สถาณที่แห่งนี้