posttoday

ผ่ามาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อชุมชนและสังคมของบีโอไอที่คือความจำเป็น

18 กันยายน 2566

ผ่ามาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อชุมชนและสังคมของบีโอไอ ที่เป็น "ความจำเป็น" ไม่เพียงแค่ "ควรจะทำ" ในมุมมองซ่อนกลิ่น พลอยมี รองเลขาธิการบีโอไอ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย วางยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งในทุก ๆ มิติมาโดยตลอด ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ขานรับนโยบายดังกล่าว มาปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม

โดยตลอด 6 ปีที่ผ่านมา บีโอไอได้พัฒนามาตรการดังกล่าวอย่างครอบคลุม เพื่อตอบโจทย์ทั้งชุมชนและผู้ประกอบการอย่างลงตัวที่สุด ซึ่งมาตรการนี้เป็นหนึ่งในเป้าหมายของบีโอไอเพื่อยกระดับคุณภาพให้กับสังคม โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายปี 2559 และได้มีการปรับปรุงมาตรการมาแล้ว 3 ครั้ง เพื่อให้เหมาะสมตามบริบทในแต่ละช่วงเวลา  

กระทั่งปัจจุบันได้ใช้ชื่อว่า มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อชุมชนและสังคม ซึ่งมีความหมายชัดเจนตรงตัว หมายถึงการให้ความช่วยเหลือที่จะลงไปถึงชุมชนอย่างแน่นอน โดยจุดเริ่มต้นมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในท้องถิ่น 

หากพูดถึงการลงทุนในท้องถิ่น หลายคนมักคิดว่าบีโอไอเป็นองค์กรที่ส่งเสริมการลงทุนเฉพาะกับบริษัทรายใหญ่และบริษัทต่างชาติ มาตรการนี้จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ยืนยันอย่างเป็นรูปธรรมว่า เราให้การส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อต่อยอดให้กับท้องถิ่นด้วย

ต่างวาระ ไม่ต่างเป้าหมาย
การออกมาตรการในการส่งเสริมให้เกิดการสนับสนุนของผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการเข้าไปช่วยเหลือฐานรากในช่วงแรก ภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับภาคการเกษตรในระดับท้องถิ่นนี้ จุดประสงค์หลักในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นยังคงเหมือนเดิม กล่าวคือ บีโอไอมุ่งหวังให้เกิดความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ สร้างการเติบโตจากภายใน เพื่อวางรากฐานทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในระยะยาวนั่นเอง 

ในการปรับปรุงครั้งแรกเราเน้นการเกษตรเป็นหลัก ภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับภาคการเกษตรในระดับท้องถิ่น เพื่อต่อยอดสิ่งที่ชุมชนมีศักยภาพให้เกิดการพัฒนา และตอบโจทย์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยการส่งเสริมให้บริษัทที่มีศักยภาพเข้ามาช่วยชุมชนลงทุนในเรื่องของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปเพื่อพัฒนาท้องถิ่นหรือชุมชน ซึ่งเราคาดหวังจะได้เห็น 1 ตำบล 1 โรงงาน

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มาตรการของบีโอไอในการสนับสนุนการพัฒนาสังคมได้ตรงจุดและสู่การพัฒนาฐานรากมากขึ้น บีโอไอได้ขยายขอบข่ายการลงทุนให้มุ่งตรงสู่ท้องถิ่นมากขึ้น และปรับปรุงครั้งที่ 2 

ภายใต้ชื่อ มาตรการส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตและการให้บริการ จนกระทั่งปัจจุบัน บีโอไอได้ปรับปรุงมาตรการให้ครอบคลุมการส่งเสริมการลงทุนที่จะมุ่งสู่การพัฒนาชุมชนและสังคมให้ยั่งยืน ภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม 

สำหรับการปรับปรุงครั้งที่ 2 เราเริ่มพิจารณาสิ่งที่มีความเป็นไปได้และเพิ่มขอบข่ายใหม่ ประกอบกับช่วงนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำท่วมและภัยแล้ง บีโอไอจึงนำประเด็นดังกล่าวมาตอบโจทย์ที่นอกเหนือจากเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การเกษตร และการท่องเที่ยว โดยเพิ่มขอบข่ายเรื่องของการบริหารจัดการน้ำขึ้นมา 

สำหรับการปรับปรุงครั้ง 3 บีโอไอมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม แนวคิดไม่ได้แตกต่างไปจากการปรับปรุงในครั้งแรก แต่เพิ่มความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน โดยขยายขอบข่ายให้ครอบคลุมด้านการศึกษา สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งได้ปรับเงื่อนไขเพิ่มเติมในด้านเงินลงทุนของกิจการ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนให้มากขึ้น เพื่อสร้างประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมได้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น

มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นมาตรการในปัจจุบันที่บีโอไอเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนนั้น ได้กำหนดวงเงินในการให้ผู้ประกอบการให้การสนับสนุนในโครงการไม่ต่ำกว่า 
5 ล้านบาท 

ด้วยมุ่งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการยกระดับขีดความสามารถของชุมชน ตามขอบข่ายที่บีโอไอกำหนดในต้านการผลิตผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เกษตร/เกษตรแปรรูปอุตสาหกรรมเบาและการท่องเที่ยวชุมชน การพัฒนาเกษตร การบริหารจัตการน้ำแบบองศ์รวม การศึกษาสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม โดยเข้าไปสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น คือ สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐบาล ใน 1 โครงการ สามารถแยกการสนับสนุนต้รายละไม่น้อยกว่า 5 แสนบาท

ทั้งนี้ มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม บีโอไอได้ปรับปรุขยายขอบข่ายการดำเนินงานให้สอดรับกับบริบทของการลงทุนในประเทศ รวมถึงประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ในกลุ่มผู้ประกอบการมากขึ้น ทำให้เห็นภาพชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมว่า บีโอไอมีมาตรการที่มุ่งเน้นการช่วยเหลือชุมชนและสังคม ตอบโจทย์แนวทางการทำ CSR ที่หลายบริษัทได้ดำเนินการอยู่แล้ว 

ดังนั้นจึงถือเป็นเป้าหมายที่ตรงกัน และแนวทางการสนับสนุนของบีโอไอช่วยให้บริษัทต่อยอดแนวคิดในการสนับสนุนได้ตรงความต้องการของชุมชนมากขึ้น อาทิ เรื่องการบริหารจัดการน้ำซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ หรือการศึกษาและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันเทรนด์การดำเนินธุรกิจของโลกด้านการเป็นองค์กรที่ใส่ใจชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญและสนใจลงทุนตามมาตรการนี้เพิ่มขึ้น เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรอีกทางหนึ่งด้วย

จับคู่ตรงจุด เพื่อประโยชน์ตรงใจ
ตลอดระยะเวลาเกือบ 60 ปี ปีโอไอถือเป็นหน่วยงานภาครัฐที่ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเอกชนมาอย่างยาวนาน ทำให้มีฐานข้อมูลของผู้ประกอบการที่มีศักยภาพมากมาย อีกทั้งความร่วมมือระหว่างบีโอไอกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงองค์กรอิสระ ทำให้มีข้อมูลความต้องการของชุมชน หรือท้องถิ่นต่าง ๆ ที่จะพัฒนาศักยภาพในด้านใด ด้วยบทบาทหน้าที่การเป็นสื่อกลางให้ทั้งผู้ประกอบการและชุมชนได้มาพบกันจึงเป็นการแสดงศักยภาพที่สำคัญอย่างยิ่งโดยคุณซ่อนกลิ่นกล่าวว่า

สำหรับประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดูแลและพัฒนาชุมชนหลายแห่ง ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กรมพัฒนาชุมชน กรมป่าไม้ กรมประมงสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน ฯลฯ ซึ่งปีโอไอได้มีการหารือและร่วมประชุมเพื่อทำงานร่วมกันอยู่เสมอ ทั้งนี้ ทุกโครงการที่ยื่นเข้ามาปีโอไอจะส่งเรื่องการสนับสนุนไปยังเครือข่ายเหล่านี้ เพื่อป้องกันปัญหาการทำงานซ้ำช้อนกับภาครัฐนั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีแผนการประชาสัมพันธ์มาตรการดังกล่าวผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ที่เข้มขันขึ้น อาทิ การสร้างเวทีเพื่อจับคู่ให้ผู้ประกอบการและชุมชนมาพบกัน การสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย รวมถึงการนำทีมงานในองค์กรออกไปดูงานในชุมชน เพื่อเก็บข้อมูลว่าอะไรที่สามารถนำมาเป็นเงื่อนไขในการกระตุ้นให้บริษัทมาลงทุนได้อีกบ้าง

ปัจจุบันแม้ว่าบีโอไอจะหันมาให้ความสำคัญกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างจริงจังมากกว่าทุกวาระที่ผ่านมา ทว่าบีโอไอไม่ได้กำหนดเป้าหมายในเชิงปริมาณ แต่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับขอบข่ายที่วางไว้

ทั้งนี้ เพื่อยกระดับศักยภาพชุมชนเป็นหลักซึ่ง 1 ใน 9 มาตรการ อันเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของบีโอไอนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนไปพร้อม ๆ กัน

ผู้ประกอบการที่เห็นโอกาสในการให้การสนับสนุนด้านเกษตรแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการน้ำ การท่องเที่ยว การศึกษา สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ก็สามารถสนับสนุนชุมชนผ่านการลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์ การก่อสร้าง หรือแม้กระทั่งการฝึกอบรม การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การสร้างระบบการควบคุมมาตรฐาน เพื่อแบ่งปันโอกาสให้กับชุมชนและสังคม

อย่างไรก็ตาม อย่าคิดว่าปีโอไอเข้าถึงยาก ผู้ประกอบการสามารถโทรศัพท์หรือส่งอีเมลเข้ามาได้ เพราะเรามีกองพัฒนาผู้ประกอบการไทยซึ่งรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ปีโอไอเชื่อว่าทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะไปลงทุนที่ไหนก็อยากช่วยชุมชนใกล้เคียงให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งปีโอไอพร้อมให้การส่งเสริม

โดย: ซ่อนกลิ่น พลอยมี รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน