posttoday

สภาพัฒน์ เตือนเศรษฐกิจไทยไม่ปรับตัวจะตกขบวน

09 กุมภาพันธ์ 2565

สภาพัฒน์ แจงเศรษฐกิจไทยปรับโครงสร้างช้า ต้องเร่งเครื่องไม่เช่นนั้นจะตกขบวนรองรับปัญหาที่รุมเร้าเข้ามาไม่ได้

นายดนุชา พชิยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าว ในงาน POST TODAY FORUM 2022 FUTURE OF GROWTH: "Thailand Vision 2030" ในโอกาสฉลองก้าวสู่ปีที่ 20 โพสต์ทูเดย์ เรื่อง "ระบบเศรษฐกิจในทศวรรษใหม่" ว่า เศรษฐไทยที่ผ่านมาเราเผชิญกับความไม่แน่นอนและความผันผวนของเศรษฐกิจโลก อาทิ ปัญหาสงครามการค้า การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี หากไม่ปรับตัวแง่การผลิตและการเงินให้ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เศรษฐกิจไทยจะตกขบวน

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย จะเป็นเรื่องสำคัญ หากไม่มีการเตรียมการอะไรเลยจะกลายเป็นภาระทางการคลังของประเทศมากขึ้น ภาคการผลิตจะประสบปัญหาแรงงานและผลิตภาคแรงงาน การพัฒนากำลังคนของไทยในอนาคตเพื่อมาทดแทนกำลังแรงงานที่หายไปจากสังคมผู้สูงอายุ จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าไปข้างหน้าได้

เมื่อดูข้อมูลเศรษฐกิจไทยย้อนกลับไปในปี 2538 จะเห็นว่าการลงทุนอยู่ที่ 41% ต่อจีดีพี เป็นภาคเอกชน 32% ภาครัฐ 9% พอปี 2540 เกิดต้มยำกุ้ง ระดับการลงทุนลดลงเหลือ 34-35% ภาคเอกชน 25-36% ภาครัฐ 9% กว่า แต่ตั้งแต่ปี 41 ที่ผ่านต้มยำกุ้ง สัดส่วนการลงทุนอยู่ระดับไม่เกิน 25% โดยเฉลี่ย ภาคเอกชนลงทุน 16-18% ภาครัฐ 6-9% แสดงถึงว่าการลงทุนของเราช่วงที่ผ่านมา หลังอีสเทิร์นซีบอร์ด ไทยไม่ได้มีการลงทุนพัฒนาวิจัย นวัตกรรมเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ด้านภาคเกษตร ที่มีกำลังแรงงานอยู่มาก แต่ไทยไม่ได้ให้ความสำคัญลงทุนวิจัยนวัตกรรมมาก

"ที่ผ่านมาไทยประสบปัญหาล่าช้ามากในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งเพราะความต่อเนื่องทางนโยบาย เรามีการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายค่อนข้างบ่อย ตั้งแต่ผมทำงานในปี 2540 มีนายก 9 ท่านแล้วในช่วงที่ผ่านมา นโยบาสำคัญ ๆ ในช่วยปรับโครงร้างประเทศในการเผชิญความท้าทายในอนาคตจึงไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างด้านการศึกษา และการผลิต ไทยอาจมีการปรับโครงสร้างบ้างในเรื่องการท่องเที่ยวและบริการ ปี 62 อยู่ที่ 18-19% ต่อจีดีพี ช่วงนั้นคงไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีวิกฤติใหญ่ของโลก กระทบการเดินทาง เกี่ยวโยงมาถึงท่องเที่ยว" นายดนุชา กล่าว

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิขไทยยังอยู่ในภาวะที่ดี แม้จะได้รับผลกระทบบ้างจากโควิด แต่ก็ยังอยู่ในระดับมั่นคง แต่ในระยะยาวจะเผชิญกับปัญหาข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในความท้าทายต่าง ๆ ทั้งสังคมสูงอายุ ความผันผวนเศรษฐกิจโลก การกีดกันทางการค้า การมุ่งสู่กรีนอีโคโนมี เป็นต้น หากไทยไม่ปรับโครงสร้างจะทำให้เสถียรภาพเศรษฐกิจระยะยาวของไทยมีข้อจำกัดมากขึ้น

นายดนุชา กล่าวว่า โครงสร้างเศรษฐกิจไทยขณะนี้ยังอยู่ในระดับที่ดี แต่ใน 10 ปีหน้า แน่นอนกำลังเผชิญข้อจำกัดเรื่องการขยายตัวจากข้อจำกัดต่าง ๆ ที่พูดมา ผลกระทบที่เป็นบาดแผลจากโควิด 2 ปีที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรม บริการมีมูลค่าเพิ่มค่อนข้างต่ำ ภาคเกษตรไม่ได้ขยายตัวมากขึ้น อยู่ในการผลิตแบบเดิม ไม่ได้ใช้งานวิจัย นวัตกรรมเข้าไปเพิ่ม หรือผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ภาคเกษตรสำคัญ มีแรงงาน 31% กำลังแรงงานมีแนวโน้มลดลง เพราะกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ 4-5 ปีหน้า

นอกจากนี้ ในปี 2578 ไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างยิ่งยวด จะทำให้เรามีข้อจำกัดมากขึ้น หากไม่มีการพัฒนา เพิ่มทักษะกำลังแรงงาน หรือไม่มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริม

ในแง่แง่อุปสงค์ ดีมานต์ในประเทศ ในช่วง 2-3 ปีหน้า ยังมีข้อจำกัด เพราะหนี้ครัวเรือนสูง เป็นบาดแผลที่เกิดจากโควิดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หนี้ครัวเรือนเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่จะส่งผลกระทบและฉุดรั้งการเติบโตของไทยในอนาคต

เศรษฐกิจโลกปีนี้ยังคงมีการขยายตัวดีอยู่ แต่ระยะข้างหน้าหากมีสงครามการค้าเกิดขึ้น มีการทวีความนุรแรงมากขึ้นของการกีดกันทางการค้า แน่นอน ศก..โลกได้รับผลกระท โดยเฉพาะเพ้อที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวหนึ่งฉุดรั้งการเติบโตและก่อปัญหาในอนาคต

การแข่งขันเชิงเศรษฐกิจในประเทศ เอสเอ็มอีมีความสำคัญมากขึ้น แต่ยังไม่แข่งขันได้ ขณะเดียวกันรูปแบบการดำเนินธุรกิจเอสเอ็มอียังไม่สามารถเชื่อมโยงกับธุรกิจใหญ่ ยังมีปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และเทคโนโลยี ต้องปรับปรุงแก้ไขให้เราเดินไปข้างหน้าได้

นายดนุชา กล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจ 10 ปีหน้า รูปแบบของระบบเศรษฐกิจไทยต้องพยายามที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของเราให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตั้งแต่ระดับเศรษฐกิจภาพใหญ่ ระดับธุรกิจ และระดับครัวเรือน การมีวิกฤติเกิดขึ้นทำให้ล้มบ้าง แต่ต้องลุกให้เร็วและเดินไปข้างหน้าให้ได้ ความยืดหยุ่นเศรษฐกิจต้องมี เพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่จะเร่งตัวและเป็นปัจจัยสำคัญว่าใครจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

สภาพัฒน์ เตือนเศรษฐกิจไทยไม่ปรับตัวจะตกขบวน