posttoday

กลุ่มทิสโก้ ให้เงินสนับสนุนกองทุนนวัตกรรมรักษามะเร็ง

02 กุมภาพันธ์ 2564

กลุ่มทิสโก้จัดแคมเปญ “Fighting Cancer” นำรายได้ค่าธรรมเนียมสนับ สนุนกองทุนนวัตกรรมรักษามะเร็ง

กลุ่มทิสโก้ ในฐานะที่ปรึกษาทาง การเงิน จัดแคมเปญ “Fighting Cancer” ร่วมรณรงค์ World Cancer Day 2021 หักรายได้ค่า ธรรมเนียมการขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมและ ประกัน สนับสนุนงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมการ รักษาโรคมะเร็งต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 หวังเพิ่ม โอกาสการรักษาโรคมะเร็งให้หายขาดและลด อัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายให้กลายเป็นศูนย์

นายชลิต ศิลป์ศรีกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มทิสโก้ นำทีมผู้บริหารและพนักงานร่วม รณรงค์ในวันมะเร็งโลก 4 กุมภาพันธ์ 2564 หรือ World Cancer Day 2021 เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงของโรค มะเร็ง และเชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมเป็นส่วน หนึ่งในการป้องกันและลดผลกระทบจากมะเร็ง ร้าย ที่ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของ คนไทยมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานกว่า 20 ปี รวมถึงยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดันต้นๆ ของคนทั่วโลก

ในปีนี้ กลุ่มทิสโก้จึงเดินหน้าจัดแคมเปญ Fighting Cancer ขึ้น โดยหักราย ได้ค่าธรรมเนียมส่วนหนึ่งจากการขายผลิตภัณฑ์ กองทุนรวมและประกันภัย ร่วมสมทบทุนบริจาค เป็นทุนทรัพย์ และเป็นกำลังใจให้กับสถาบัน การแพทย์ไทย ในการทำวิจัยและพัฒนานวัต กรรมการรักษาโรคมะเร็งให้มีความก้าวหน้าขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยรายได้จากทุกกรมธรรม์ของ ผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง บริจาค 50 บาท และรายได้จากผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่ ร่วมรายการทุกๆ 100,000 บาท บริจาค 50 บาท ให้แก่ กองทุนโรคมะเร็งในเด็ก ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรม หมื่นสุทธนารีนาถ และกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัด มะเร็ง จุฬาฯ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

“นับเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันที่กลุ่มทิสโก้ให้ ความสำคัญและสนับสนุนงานวิจัยพัฒนานวัต กรรมการรักษาโรคมะเร็งนี้ ซึ่งที่ผ่านมาเรา สามารถสมทบทุนบริจาครวมทั้งสิ้นกว่า 12 ล้าน บาทแล้ว และในปีที่ 4 นี้ เรายังคงตั้งใจและเดิน หน้าให้การสนับสนุนต่อเนื่อง เพื่อให้การรักษา โรคมะเร็งมีความก้าวหน้าจนสามารถเอาชนะ โรคร้ายได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องขอบคุณนักวิจัยที่ มุ่งมั่นและเสียสละ และขอบคุณลูกค้าที่มีส่วน ร่วมให้โครงการนี้ดำเนินต่อไปได้” นายชลิต กล่าว

นายพิชา รัตนธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทิสโก้ กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุ การเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทยต่อเนื่องมา นานกว่า 20 ปี จากรายงานสถิติสำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ในปี 2562 มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งและ เนื้องอกสูงถึง 84,073 คน เพิ่มขึ้น 3,408 คน จากปี 2561 ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยสถานการณ์ในปี 2563 มีผู้ป่วยโรคมะเร็ง รายใหม่จากทั่วโลกสูงถึง 19.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น จากปีก่อน 1.2 ล้านคน และเสียชีวิตมากถึง 10 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 4 แสนคน ทำให้ประชาคมโลกตระหนักถึงความสำคัญของ ภัยคุกคามของโรคร้ายนี้มาก

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันจะยังไม่สามารถ ป้องกันหรือลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งได้สำเร็จ แต่ความก้าวหน้าทางการแพทย์จะทำให้คนไทย มีความหวังว่าจะสามารถรักษาโรคมะเร็งให้หาย ขาดได้ เพียงแต่การพัฒนานวัตกรรมการรักษา โรคมะเร็งนั้น ยังต้องใช้ทั้งเวลาและเงินทุนอีก จำนวนมาก ดังนั้น ทิสโก้จึงขอเป็นส่วนหนึ่งใน การจุดประกายความหวังให้กับคนไทย โดยตั้ง เป็นเป้าหมายที่จะต้องผลักดันไปตลอด เพราะ หากสามารถค้นคว้าจนพบแนวทางการรักษาที่ ได้ผลดีขึ้นสำเร็จ นอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ คนไทยได้รับการรักษาที่ดีขึ้นแล้ว ยังเพิ่มโอกาส ให้คนไทยได้รับการรักษาในราคาที่ถูกลงด้วย“สิ่งสำคัญที่จะเข้ามาต่อสู้กับโรคมะเร็งอย่างจริง จัง ก็คือนวัตกรรมทางการแพทย์ ถือเป็นความจำ เป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันสนับสนุน และ ทิสโก้ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน นอกจาก การบริจาคเงินให้แก่กองทุนวิจัยนวัตกรรมการ รักษามะเร็งแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการคิด ค้นและคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่จะเข้ามาช่วยลดความ เสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากโรค มะเร็ง รวมถึงการพาลูกค้าไปลงทุนในกองทุนที่ เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อเป็น การสนับสนุนในทางอ้อมด้วย” นายพิชากล่าว

ขณะที่นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการ อำนวยการ บลจ.ทิสโก้ กล่าวว่า นวัตกรรมทาง การแพทย์เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ และ จับตามองอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นเสมือนหน ทางที่จะช่วยให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งที่ ผ่านมาจะเห็นได้ว่าในต่างประเทศมีนวัตกรรม ทางการแพทย์ที่สามารถรักษา หรือยกระดับ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งได้หลายชนิด ขณะที่ประเทศไทยเอง อยู่ระหว่างการพัฒนา นวัตกรรมดังกล่าวเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการ รักษาของคนไทย รวมถึงลดข้อจำกัดด้านค่า รักษาพยาบาลที่ยังอยู่ในระดับสูงมาก ซึ่งเป็น เรื่องที่ทุกภาคส่วนในสังคมไทยควรให้การสนับ สนุนเป็นอย่างยิ่ง

โดยในปี 2564 นี้ บลจ.ทิสโก้ขอเป็นส่วนหนึ่ง ในการให้การสนับสนุนกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัด มะเร็ง จุฬาฯ มูลค่ากว่า 4 ล้านบาท ขณะเดียว กันในแง่การลงทุนนั้น การเลือกลงทุนในธุรกิจ “นวัตกรรมทางการแพทย์” ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นเมกะเทรนด์ของ โลก ซึ่งนอกจากจะเปิดโอกาสในการรับผลตอบ แทนที่ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มโอกาสการรักษา และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นด้วย