posttoday

น้ำท่วม67: ปภ.เตือนท้ายเขื่อนเจ้าพระยายกของขึ้นที่สูงรับมวลน้ำเหนือ

03 กันยายน 2567

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนพื้นที่ชุมชนริมฝั่งท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเตรียมยกของขึ้นที่สูง ตั้งแต่ 5 กันยายน67เป็นต้นไป รับรับมวลน้ำเหนือไหลผ่านโดยมีปริมาณน้ำไหลอยู่ที่ระดับ 1,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้รับหนังสือด่วนที่สุดจากกรมชลประทาน  ที่ กษ 0328/ว 10194 ลงวันที่ 2 กันยายน 2567 แจ้งว่า ในช่วงวันที่ 3-9 กันยายน 2567 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้นพื้นที่ บริเวณ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคใต้ 

จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำล่วงหน้า 1-7 วัน ข้างหน้า พบว่าปริมาณน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในวันที่ 9 กันยายน 2567 ที่สถานี C.2 อำเภอเมืองฯ จังหวัด นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน ประมาณ 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคาดการณ์ปริมาณน้ำ จากลำน้ำสาขา ประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณ 1,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และรับน้ำเข้าระบบกรมชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง ในอัตรา 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

จึงมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านท้ายเชื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 1,400-1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย)มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.25-0.40 เมตร และอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2567 เป็นต้นไป

 

ทั้งนี้ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ภ.) จึงขอให้จังหวัดได้ประชาสัมพันพันธ์ แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนที่ประกอบกิจการในแม่น้ำ เช่น งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ อย่างใกล้ชิด
 
นอกจากนี้ ขอให้กรุงเทพมหานครประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนที่ประกอบกิจการในแม่น้ำเช่น งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร ท่าเทียบเรือโดยสารสาธารณะ เป็นต้น รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำ ให้เฝ้าระวังและติดตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิด  

ที่มา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย