น้ำท่วม67: สนทช.เตือน7จังหวัดริมโขงเฝ้าระวังสถานการณ์ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
สทนช. แจ้งเตือนผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น พื้นที่ลุ่มต่ำ7จังหวัด ริมแม่น้ำโขงและริมลำน้ำสาขา ประกอบด้วย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งและท่วมขัง
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานพรัพยากรน้ำกรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและอุทกภัยลุ่ยลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหมือ และความก้าวหน้า 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ที่จ.อุดรธานี บึงกาฬ และนครพนม ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2567
จ.อุดรธานี บึงกาฬ และนครพนม เป็น3ใน6จังหวัดที่ สนทช.คาดการณ์เป็นพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ช่วงวันที่ 9-11 ก.ย. 67 หลังสถานการณ์พายุดีเปรสชัน “ยางิ” ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ยังคงทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยได้แก่ จ.เชียงใหม่ (อ.อมก๋อย) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.สบเมย) จ.ตาก (อ.ท่าสองยาง) จ.นครพนม (อ.เมืองนครพนม เรณูนคร โพนสวรรค์ ท่าอุเทน ธาตุพนม นาทม นาหว้า ปลาปาก วังยาง และศรีสงคราม) จ.สกลนคร (อ.คำตากล้า และพรรณานิคม)
ทั้งนี้ สทนช. แจ้งเตือนเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 7 - 12 ก.ย. 67 เนื่องจากจากฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ สปป.ลาว จึงขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้น และเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขัง ในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณริมแม่น้ำโขงและริมลำน้ำบางสาขา จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
ส่วนสถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานี C.2 อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ระบายน้ำด้วยอัตรา 1,498 ลบ.ม./วินาที และจะเพิ่มเป็นแบบขั้นบันไดไม่เกิน 1,700 ลบ.ม./วินาที เพื่อเตรียมรับน้ำหลากที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์หน้า