posttoday

PM2.5 มาตามนัด แอป AirVisaul เผยค่าฝุ่น กทม. อันดับ 9 ของโลก

25 ตุลาคม 2567

เจอทั้งฝน ทั้งฝุ่น ชาวกรุงอ่วม PM2.5 มาตามนัด คุณภาพอากาศเริ่มมีปัญหาหลายพื้นที่ ระดับฝุ่นเฉลี่ยวันนี้ สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก

หลังจากกรมควบคุมมลพิษได้ออกมาแจ้งเตือนให้รับมือฝุ่น PM 2.5 ในช่วงวันที่ 24-25 ต.ค.  มีแนวโน้มสูงในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เนื่องจากความกดอากาศสูงที่เริ่มแผ่เข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของไทย ทำให้สภาพอากาศที่นิ่ง ความเร็วลม มีกำลังอ่อน ฝุ่นละอองไม่สามารถระบายได้

 

ล่าสุดจากตารตรวจสอบแอปพลิเคชั่น AirVisual ซึ่งเป็น แอปตรวจสอบคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ เมื่อเวลา 06.50 น. ที่ผ่านมา พบว่าปริมาณฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐานแทบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการ และเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองใหญ่อื่นๆทั่วโลกแล้ว พบว่าระดับ PM2.5 ของ กทม. ในวันนี้สูงเป็นอันดับ9

PM2.5 มาตามนัด แอป AirVisaul เผยค่าฝุ่น กทม. อันดับ 9 ของโลก

PM2.5 มาตามนัด แอป AirVisaul เผยค่าฝุ่น กทม. อันดับ 9 ของโลก

 

 

อย่างไรก็ตาม ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2567 เวลา 07:00 น.

 

โดยระบุว่าค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 35.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)

 

ซึ่ง 5 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร

1 เขตหนองแขม 53.1 มคก./ลบ.ม.

2 เขตสาทร 49.8 มคก./ลบ.ม.

3 เขตบางกอกใหญ่ 49.3 มคก./ลบ.ม.

4 เขตบางบอน 47.9 มคก./ลบ.ม.

5 เขตภาษีเจริญ 45.3 มคก./ลบ.ม.

 

ซึ่งภาพรวมของฝั่งกรุงเทพ คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ด้านฝั่งธนบุรี อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

 

ขณะที่ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

PM2.5 มาตามนัด แอป AirVisaul เผยค่าฝุ่น กทม. อันดับ 9 ของโลก

 

ทั้งนี้ จากข้อมูลของกรมการแพทย์ หาก PM2.5 เกินระดับมาตรฐาน จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กและเด็กที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น ทำให้โรคหืด ภูมิแพ้กำเริบได้ ถ้าได้รับ PM 2.5 ในปริมาณมาก เป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้ นอกจากนี้ฝุ่น PM 2.5 ที่มีขนาดเล็กมากจนสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายไปทั่วร่างกาย อาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือด ซึ่งนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ และภาวะหลอดเลือดหดตัวได้

 

ทั้งนี้ หาก PM2.5 อยู่ในระดับสูงควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้านหรือไปในบริเวณที่มีค่าฝุ่นละอองเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ขณะอยู่ในบ้านควรปิดประตูหน้าต่างให้สนิท และเปิดเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองแบบ HEPA ซึ่งช่วยลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ลงได้ กรณีที่มีความจำเป็นต้องออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านหรือไปในบริเวณที่มีปริมาณฝุ่นเกินมาตรฐานควรสวมหน้ากากชนิด N95