posttoday

เปิดประวัติ “เทศกาลดิวาลี” ฤกษ์ดีบูชาพระแม่ลักษมี 2567

29 ตุลาคม 2567

เปิดประวัติ “เทศกาลดิวาลี” เทศกาลสำคัญของอินเดียที่ขึ้นชื่อว่าเป็นวันแห่งแสงสว่าง ฤกษ์ดีบูชาพระแม่ลักษมี 2567 ตรงกับวันไหน เช็คเลย

ดีปาวลี ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวอินเดีย และยังเป็นวันบูชาพระแม่ลักษมี เทพีแห่งความมั่งคั่งและโชคลาภ โดยในช่วงเทศกาลดีปาวลี บ้านเรือนต่างๆจะจุดโคมและเทียนประดับประดา เพื่อเป็นการต้อนรับพระลักษมีและขับไล่ความมืดมิด และเป็นการเริ่มต้นใหม่ที่เต็มไปด้วยความหวัง

คำว่า “ดี” (di) หรือ “ดีป” (dee) คือ ประทีป (แสงสว่าง) ส่วนอีกคำที่นำมาผสมคือ “อวลิะ” (avalih) หมายถึง แถวหรือแนว เมื่อนำมารวมกันจึงหมายถึง ประทีปที่ชาวอินเดียจุดไว้เป็นแถวนอกบ้านของตน

เปิดประวัติ “เทศกาลดิวาลี” ฤกษ์ดีบูชาพระแม่ลักษมี 2567

เทศกาลดิวาลี 2567 ตรงกับวันไหน

เทศกาลดิวาลี 2567 ตรงกับช่วงวันที่ 28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2567 ส่วนการเฉลิมฉลองดิวาลีจะกินเวลา 5 วัน โดยวันที่สำคัญที่สุดคือวันอะมาสวัสยะ ซึ่งตรงกับวันที่ 3 ของเทศกาล เพราะถือว่าเป็นวันที่มืดที่สุดตามปฏิทินฮินดู และชาวฮินดูเชื่อว่าในคืนนี้พระแม่ลักษมีจะเสด็จมาเยือนบ้านของผู้ที่ทำความสะอาดบ้านเรือนและจุดโคมไฟเพื่อต้อนรับ

เปิดประวัติ “เทศกาลดิวาลี” ฤกษ์ดีบูชาพระแม่ลักษมี 2567

ฉลองเทศกาลดิวาลี

  • วันแรก: วันธันเตรัส (Dhanteras) สมาชิกในครอบครัวก็จะมุ่งมั่นทำความสะอาดบ้านและซื้อทองชิ้นเล็ก และจะเน้นบูชาพระแม่ลักษมีในวันนั้น
  • วันที่สอง: วันนรกจาตุรทศี (Naraka Chaturdashi) หรือ โฉฏีดีปาวลี (Choti Dipawali) เรียกอีกอย่างคือวันดีปาวลีเล็ก ในวันนี้ชาวอินเดียจำนวนไม่น้อยจะรำลึกถึงการทำลายล้างอสูรที่มีนามว่านรกาสูร บางครอบครัวจะสวดมนต์รำลึกถึงบรรพบุรุษของตน
  • วันที่สาม: วันบูชาพระแม่ลักษมี (Lakshmi Puja) วันที่สามถือเป็นวันหลักของ 5 วันนี้ ครอบครัวชาวอินเดียจะขอพรจากพระแม่ลักษมีเพื่อความเจริญรุ่งเรือง พร้อมกับจุดประทีป ประดับประดาประทีปวางเป็นแถวเป็นแนวอย่างสวยงามยิ่ง 
  • วันที่สี่: วันโควรรธันปูชา (Goverdhan Puja) หรือวันพลิประติปทา (Balipratipada) หรือวันอันนะกูฏ (Annakut) ในวันนี้ก็จะบูชาระลึกถึงชัยชนะของพระกฤษณะที่มีต่อพระอินทร์ (Indra) ราชาแห่งทวยเทพ วันนี้เป็นวันแรกของเดือนการติกะด้วย ดังนั้นหลายคนจะนับวันนี้เป็นวันปีใหม่ด้วย ในวันนี้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยนิยมทำพิธีทางศาสนาและเปิดสมุดบัญชีใหม่ คือไม่ใช่สมุดบัญชีธนาคาร หากแต่เป็นสมุดบัญชีเพื่อการบันทึกธุรกรรมต่าง ๆ ของกิจการตน การเปิดสมุดบัญชีใหม่ก็เพื่อความมงคลด้วย
  • วันที่ห้า: วันภาย ดูช (Bhai Dooj) ภาย ฏีกา (Bhai Tika) หรือ ภาย บีช (Bhai Bij) คำว่า “ภาย” (bhai) จะแปลว่าพี่ชายหรือน้องชายก็ได้ ดังนั้นในวันนี้พี่ชายน้องสาวหรือน้องชายพี่สาวก็ร่วมฉลองเพื่อเสริมสร้างความผูกพันระหว่างพี่น้อง ในวันนี้พี่สาวหรือน้องสาวก็จะไหว้พระขอพรให้พี่ชายหรือน้องชายประสบความสำเร็จด้านการงานหรือพบเจอแต่สิ่งดีงามตลอดไป

เปิดประวัติ “เทศกาลดิวาลี” ฤกษ์ดีบูชาพระแม่ลักษมี 2567

ชี้เป้าฉลองเทศกาลดิวาลีในกทม.

สำหรับเทศกาลดิวาลี 2567 ในวันที่ 28 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน นี้ย่านลิตเติ้ลอินเดีย ถนนพาหุรัด – คลองโอ่งอ่าง -สะพานเหล็ก ได้จัดกิจกรรมการแสดงเชิงวัฒนธรรมพร้อมด้วยแสงสีเสียงสไตล์บอลลีวูด ตลอดทั้งวัน รวมถึงยังมีกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมงานได้ลิ้มลองหลากหลายเมนู คาว-หวาน จากภัตตาคารอินเดียสไตล์มหาราชาชื่อดังในประเทศไทย กว่า 20 ร้าน 

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสักการะ "พระพิฆเนศ" และ "พระแม่ลักษมี" เสริมดวงชะตา โชคลาภ เพิ่มความสาเร็จให้ชีวิต ชอปสินค้าสไตล์อินเดียนจากร้านค้าชื่อดังทั้งส่าหรี เครื่องประดับ ของตกแต่งศิลปวัฒนธรรมอินเดีย กว่า 40 ร้านค้า