posttoday

รางวัลระดับโลกแด่พระปรีชาสามารถในหลวงรัชกาลที่ 9

19 ตุลาคม 2560

14 รางวัลระดับโลกที่ถวายแด่พระปรีชาสามารถและพระเกียรติคุณ ในหลวง ร.9

รางวัลระดับโลกที่ถวายแด่พระปรีชาสามารถและพระเกียรติคุณ ในหลวง ร.9

ตลอดระยะเวลากว่า 70 ปี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชรัชกาลที่ 9 ทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญหา ในการแก้ปัญหาและพัฒนาความเป็นผู้ของประชาชนผ่านทางโครงการในพระราชดำริต่างๆมากมายกว่า 4,685 โครงการ ครอบคลุมหลากหลายด้าน ทั้งการเกษตร ปศุสัตว์ ดิน น้ำ ลม พลังงาน คมนาคม สาธารณสุข การศึกษา ศาสนา และอื่นๆ อีกมากมาย อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาทั่วโลกว่าทรงเป็น พระมหากษัตริย์นักพัฒนา ทั่วโลกต่างรับรู้และชื่นชมในพระอัจริยภาพต่างๆมากมายผ่านการถวายราชวัลต่างๆจากทั่วโลก เพื่อเทิดทูลพระเกียรติคุณและพระอัจริยภาพของพระองค์ที่สำคัญเป็นต้นว่า

พ.ศ. 2507
ครั้นวโรกาศที่ทรงเสด็จเยือนออสเตรียอย่างเป็นทางการ  รัฐบาลออสเตรียจึงทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ลำดับที่ 23 ของสถาบันการดนตรี และศิลปะแห่งกรุงเวียนนา และเป็นผู้ประพันธ์เพลงชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับเกียรติจารึกพระนามลงบนแผ่นหินสลักของสถาบัน

พ.ศ. 2519
ประธานรัฐสภายุโรป และสมาชิกร่วมกันทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรัฐสภายุโรป"

พ.ศ. 2529
ประธานคณะกรรมาธิการเพื่อสันติของสมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลสันติภาพ"

พ.ศ. 2530
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองเฉลิมพระเกียรติคุณในการนำชนบทให้พัฒนา"

 

รางวัลระดับโลกแด่พระปรีชาสามารถในหลวงรัชกาลที่ 9

 

 พ.ศ. 2534
ผู้อำนวยการใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองประกาศพระเกียรติคุณด้านสิ่งแวดล้อม" เมื่อวันที่ 4 พ.ย และผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองสาธารณสุขเพื่อมวลชน" เมื่อวันที่ 24 พ.ย


พ.ศ. 2536
คณะกรรมการสมาคมนิเวศวิทยาเชิงเคมีสากล (International Society of Chemical Ecology) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรางวัลเทิดพระเกียรติในการสงวนรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ" และหัวหน้าสาขาเกษตร ฝ่ายวิชาการภูมิภาคเอเชียของธนาคารโลก ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด" สดุดีพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงเป็นนักอนุรักษ์ดินและน้ำ

พ.ศ. 2537
ผู้อำนวยการบริหารของยูเอ็นดีซีพี (UNDCP) แห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองคำสดุดีพระเกียรติคุณด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด" เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.

พ.ศ. 2539
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญสดุดีพระเกียรติคุณในด้านการพัฒนาการเกษตร"

พ.ศ. 2543
คณะกรรมการจัดงานบรัสเซลส์ ยูเรก้า แห่ง The Belgian Chamber of Inventors สมาคมส่งเสริมและคุ้มครองนักประดิษฐ์ของเบลเยี่ยม ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลรางวัลบรัสเซลส์ ยูเรก้า ๒๐๐๐ จากผลงาน “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา”

 

รางวัลระดับโลกแด่พระปรีชาสามารถในหลวงรัชกาลที่ 9

 

 พ.ศ. 2549
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์" จากการที่ได้ทรงอุทิศกำลังพระวรกายและทรงพระวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจมาตลอดพระชนม์ชีพ

 

รางวัลระดับโลกแด่พระปรีชาสามารถในหลวงรัชกาลที่ 9

 

 พ.ศ. 2551
องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) แถลงข่าวการทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา" (Global Leaders Award)[152] โดยนายฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ณ พระราชวังไกลกังวล ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 เพื่อเทิดพระเกียรติที่ทรงมีบทบาทและผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่โดดเด่น และพระองค์ทรงเป็นผู้นำโลกคนแรกที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลดังกล่าว นอกจากนี้ สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (IFIA) ยังได้มีมติให้วันที่ ๒ ก.พ.ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทรงได้รับการจดสิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา เป็น “วันนักประดิษฐ์โลก”

 

รางวัลระดับโลกแด่พระปรีชาสามารถในหลวงรัชกาลที่ 9

 

 พ.ศ. 2555 สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences-IUSS) นำโดยอดีตเลขาธิการสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (The Humanitarian Soil Scientist) โดยทรงเป็นผู้นำประเทศพระองค์แรกของโลกที่ได้รับถวายรางวัล

 

รางวัลระดับโลกแด่พระปรีชาสามารถในหลวงรัชกาลที่ 9

 

 นอกจากนี้สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชยังทรงเป็นผู้ได้รับมอบถวายปริญญากิตติมศักดิ์มากเป็นสถิติโลกถึง 176 ฉบับ