ดาวเคราะห์น้อยถูกพบแค่ 4 ชั่วโมงก่อนโคจรเฉียดโลก
ดาวเคราะห์น้อยขนาดเท่าตู้เย็นลอดเข้าไปในรัศมี 2,000 ไมล์ใกล้โลกโดยไม่ถูกตรวจพบ
ดาวเคราะห์น้อยที่เพิ่งค้นพบใหม่ซึ่งมีขนาดประมาณตู้เย็นหรือประมาณ 2 เมตร หลุดรอดจากการตรวจจับของนักวิทยาศาสตร์ในสัปดาห์นี้ โดยมันโคจรเข้ามาภายในระยะ 2,000 ไมล์ (3,218 กิโลเมตร) จากทวีปแอนตาร์กติกาเท่านั้น
เว็บไซต์ CNET รายงานว่า วัตถุอวกาศดังกล่าวถูกค้นพบครั้งแรกโดย Catalina Sky Survey ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ระบุดาวเคราะห์น้อยที่คุกคามความปลอดภัยของโลก และนับตั้งแต่มันเข้ามาใกล้โลกจากทิศทางของดวงอาทิตย์ มันไม่ได้ถูกพบจนกระทั่ง 4 ชั่วโมงหลังจากเข้าสู่ระยะใกล้ที่สุด
มันโคจรผ่านแอนตาร์กติกาในเย็นวันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคมตามเวลาแปซิฟิกที่ระดับความสูงประมาณ 1,800 ไมล์ (3,047 กิโลเมตร) ซึ่งสูงกว่าจุดที่สถานีอวกาศนานาชาติโคจรอยู่แต่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเทียมสื่อสารขนาดใหญ่
ดาวเคราะห์น้อยซึ่งมีชื่อว่า 2021 UA1 เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงที่ 3 ที่โคจรเข้ามาใกล้โลกที่สุดโดยไม่ได้พุ่งชนเข้ากับโลก โดยก่อนหน้านี้ ดาวเคราะห์น้อย 2020 QG เคลื่อนผ่านเข้ามาใกล้กว่าเล็กน้อยในเดือนสิงหาคม 2020 แต่การเข้าใกล้ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกคือเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วเมื่อ ดาวเคราะห์น่อย 2020 VT4 โคจรที่ระดับความสูงเกือบเท่าสถานีอวกาศนานาชาติ (ประมาณ 250 ไมล์หรือ 400 กิโลเมตรขึ้นไป)
ดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้เรียกว่า Near-Earth object หรือ NEO (วัตถุใกล้โลก) คือวัตถุที่เข้าใกล้จากดวงอาทิตย์น้อยกว่า 1.3 หน่วยดาราศาสตร์ (หรือ AU เท่ากับระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ 1 AU ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร) แต่ถ้าถ้าวงโคจรของ NEO ทับวงโคจรโลกและวัตถุมีขนาดใหญ่กว่า 140 เมตร ถือว่าเป็นวัตถุที่อาจเป็นอันตราย (PHO)
ปัจจุบัน มีดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (NEA) กว่า 26,000 ดวงที่รู้จักและดาวหางใกล้โลกระยะสั้น (NEC) ที่รู้จักกันมากกว่าร้อยดวง
Newly-discovered #asteroid 2021 UA1 missed Antarctica by only 3000 km Sunday evening.It came from the daytime sky, so it was undiscoverable prior to closest approach.https://t.co/Y0zY7mAYue pic.twitter.com/R9VpMo2X9G
— Tony Dunn (@tony873004) October 27, 2021