posttoday

โฟล์คสวาเกนเตรียมปิดโรงงานในเยอรมนีครั้งแรกในประวัติศาสตร์

03 กันยายน 2567

โฟล์คสวาเกนกำลังพิจารณาปิดโรงงานในเยอรมนีเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่แสดงให้เห็นถึงแรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มสูงขึ้นที่ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของยุโรปต้องเผชิญคู่แข่งจากเอเชีย

ความเคลื่อนไหวในวันจันทร์ ถือเป็นการปะทะกันครั้งใหญ่ครั้งแรกระหว่างประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โอลิเวอร์ บลูม และสหภาพแรงงานที่มีอิทธิพลอย่างมากในโฟล์คสวาเก้น

 

ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์เคยระบุว่า โรงงานของ VW ในเมือง Osnabrueck ใน Lower Saxony และ Dresden ใน Saxony จะเป็นเป้าหมายในการปิดตัวลง เมือง  Lower Saxony เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับสองของโฟล์คสวาเกน และเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาได้สนับสนุนให้มีการตรวจสอบ

โฟล์คสวาเกน ซึ่งมีพนักงานประมาณ 680,000 คน กล่าวว่า พวกเขารู้สึกว่ากำลังถูกบีบให้ยุติโครงการหลักประกันในการจ้างงาน ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 1994 เพื่อป้องกันการลดตำแหน่งงานจนถึงปี 2029 โดยเสริมว่า มาตรการทั้งหมดจะต้องหารือกับสภางานของบริษัท

 

“สถานการณ์ตึงเครียดอย่างยิ่ง และไม่สามารถแก้ได้ด้วยมาตรการลดต้นทุนง่ายๆ” บริษัทกล่าวในแถลงการณ์
 

VW ซึ่งผลักดันยอดขายส่วนใหญ่ของโฟล์คสวาเกน เป็นแบรนด์แรกๆ ที่ประกาศลดต้นทุนโดยตั้งเป้าประหยัดเงินได้ 1 หมื่นล้านยูโร (11 พันล้านดอลลาร์) ภายในปี 2569 ในขณะที่พยายามปรับปรุงการใช้จ่ายเพื่อให้อยู่รอดจากการเปลี่ยนผ่านสู่รถยนต์ไฟฟ้า

 

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ยากลำบาก คู่แข่งรายใหม่ในยุโรป และความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงของเศรษฐกิจเยอรมัน ทำให้โฟล์คสวาเกนจำเป็นต้องทำอะไรมากกว่านี้ บลูมบอกกับฝ่ายบริหาร

 

โฟล์คสวาเกน ซึ่งหุ้นของบริษัทปิดสูงขึ้น 1.2% หลังข่าวดังกล่าว ได้สูญเสียมูลค่าไปเกือบ 1 ใน 3 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้กลายเป็นบริษัทที่มีผลงานแย่ที่สุดในบรรดาผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของยุโรป

 

บริษัทเผชิญกับภูมิทัศน์ที่ท้าทายของความท้าทายในยุโรป สหรัฐอเมริกา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศที่นำโดย BYD ที่คว้าส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้น ทำให้ต้องสูญเสียมูลค่าหุ้นมากกว่าคู่แข่งรายใหญ่อื่นๆในช่วงสองปีที่ผ่านมา
โฟล์คสวาเกนเตรียมปิดโรงงานในเยอรมนีครั้งแรกในประวัติศาสตร์

แผนการของโฟล์คสวาเกนถือเป็นแรงกดดันครั้งล่าสุดต่อนายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนี ซึ่งพรรคร่วมสามฝ่ายพ่ายแพ้ในการลงคะแนนเสียงในระดับภูมิภาคเมื่อวันอาทิตย์ ที่ทำให้พรรคอัลเทอร์เนทีฟสำหรับเยอรมนี (Alternative for Germany) ที่เป็นขวาจัดมีคะแนนนำในรัฐหนึ่งและมาเป็นอันดับสองในรัฐ Lower Saxony 

 

Carsten Brzeski หัวหน้าฝ่ายมหภาคระดับโลกของ ING Research กล่าวว่าการตัดสินใจดังกล่าวเน้นย้ำถึงผลที่ตามมาจากหลายปีของความซบเซาทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ไม่มีการเติบโต

 

“หากอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ดังกล่าวต้องปิดโรงงาน ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยที่เห็นแนวโน้มมายาวนานว่า มาตรการด้านนโยบายเศรษฐกิจ (ของเยอรมนี) จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอย่างมาก”

 

กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีกล่าวว่า ฝ่ายบริหารของโฟล์คสวาเกนต้องดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบในสภาพแวดล้อมของตลาดที่ท้าทาย แต่ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นโดยเฉพาะเกี่ยวกับแผนครั้งนี้

 

ทั้งนี้ การตัดสินใจดังกล่าว จะ "เขย่ารากฐาน" ของโฟล์คสวาเกน ซึ่งเป็นผู้จ้างงานในอุตสาหกรรมรายใหญ่ที่สุดของเยอรมนีและเป็นผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของยุโรปเมื่อพิจารณาจากรายได้