posttoday

เรซูเม่แบบไหนที่ส่งไปแล้วไม่นก

20 มีนาคม 2562

7 เทคนิคการนำเสนอเรซูเม่ให้โดนใจ งานไม่หลุดมือ จากผู้เชี่ยวชาญการเขียนเรซูเม่

7 เทคนิคการนำเสนอเรซูเม่ให้โดนใจ งานไม่หลุดมือ จากผู้เชี่ยวชาญการเขียนเรซูเม่

ใครๆ ก็ชอบพูดว่า "โตแล้วจะทำอะไรก็ได้" แต่เชื่อมั้ยว่าสำหรับคนที่เรียนจบใหม่ กับคนที่กำลังสมัครงานใหม่ การเขียนเรซูเม่ให้โดนใจกลับเป็นอะไรที่ไม่ง่ายเลย แถมบางคนส่งเรซูเม่ไปแล้วก็เงียบเฉยเหมือนไม่มีสัญญาณตอบรับจากบริษัทที่ส่งไป วันนี้เรารวบรวมเทคนิคการเขียนเรซูเม่ฉบับไม่นก ไม่ต้องตกงาน จากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก รับรองว่าส่งไปที่ไหนมัดใจนายจ้างที่นั่น

เรซูเม่แบบไหนที่ส่งไปแล้วไม่นก

ออกแบบให้ปัง

การออกแบบเป็นสิ่งสำคัญ เรซูเม่แห่งปี 2019 ควรมีหน้าตาและรูปแบบที่เรียบง่าย แต่มีการตกแต่งที่โดดเด่นชัดเจน สื่อถึงคาแรกเตอร์ของเจ้าตัวได้บ้าง แต่ไม่จำเป็นต้องดีไซน์เลิศหรูหรือใช้ทักษะออกแบบที่ยากเกินไป โดย Dana Leavy-Detrick เจ้าของบริษัทจัดทำเรซูเม่ Brooklyn Resume Studio ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า การเพิ่มป๊อปอัพเล็กๆ เข้าไปจะช่วยเพิ่มความน่าอ่าน และที่สำคัญควรเลือกใช้ฟอนต์ที่ดูเรียบร้อย เพราะจะช่วยให้เรซูเม่ดูน่าพิจารณามากยิ่งขึ้น

เรซูเม่แบบไหนที่ส่งไปแล้วไม่นก

ทำส่วนเฮดให้เปรี้ยง

เรซูเม่ที่ดีควรดึงความสนใจนายจ้างให้ได้ในแวบแรก Jennifer Braganza โค้ชด้านอาชีพกล่าวไว้ว่า "พื้นที่ 1 ใน 3 หรือส่วนด้านบนของเรซูเม่ คือสิ่งที่นายจ้างสแกนว่าเขาจะอ่านส่วนที่เหลือหรือไม่ และพวกเขาให้เวลากับส่วนนั้นแค่ 3 วินาที" รู้อย่างนี้แล้ว เลิกกังวลกับเนื้อหาแน่นๆ แล้วมาโฟกัสกับการนำเสนอด้านบนให้ดึงดูดใจจะดีกว่า

เรซูเม่แบบไหนที่ส่งไปแล้วไม่นก

 

รูปถ่ายทางการยังเป็นสิ่งจำเป็น

หนึ่งในบริษัทสตาร์ทอัพของมาเลเซีย เปิดเผยว่า "นักศึกษา 7 คนจาก 10 คน นิยมส่งเรซูเม่ที่แนบรูปภาพที่ไม่เป็นทางการ เช่น รูปเซลฟี่ หรือรูปขณะไปท่องเที่ยว" ซึ่งรูปภาพแบบนี้เป็นสิ่งที่เหล่านายจ้างไม่ค่อยประทับใจเท่าไหร่ เราอาจเลือกใช้รูปที่ไม่เป็นทางการได้สำหรับตำแหน่งงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ อย่างงานครีเอทีฟ กราฟฟิกดีไซน์ หรืองานด้านศิลปะ

บรรยายทักษะความสามารถให้เต็มที่

ผู้เชี่ยวชาญการเขียนเรซูเม่อย่าง Sam Nolan ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า ควรเขียนสิ่งที่เราจะทำได้เพื่อนายจ้าง ไม่ใช่สิ่งที่นายจ้างต้องทำให้กับเรา ซึ่งถือเป็นส่วนที่ล้ำค่าที่สุดในเรซูเม่เลย คล้ายๆ กับ iPrice ที่เสนอว่าอะไรที่ไม่สำคัญก็ตัดทิ้งไปเถอะ แต่ส่วนใหญ่กลับพบว่า คนมักให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่ใช่ข้อมูลสำคัญที่จะถูกนำมาพิจารณา

ถ้าใส่แต่รางวัลต้องมีรายละเอียด

หากมีรางวัลการันตีในฝีมือ มีใบประกาศนียบัตร จบคอร์สอบรมทางวิชาการต่างๆ หรือมีประวัติกิจกรรมที่โดดเด่นเกินใคร ต้องไม่พลาดใส่รายละเอียดบรรยายสรรพคุณสั้นๆ ถึงสิ่งที่เราทำ เพราะนายจ้างจะไม่รู้เลยว่ากิจกรรมเหล่านั้นช่วยเสริมทักษะหรือความสามารถของเราเกี่ยวกับงานที่นายจ้างต้องการอย่างไรบ้าง

อย่าลืมบุคคลอ้างอิง

ขาดไม่ได้คือส่วนของการอ้างอิง เราควรใส่บุคคลที่อ้างอิงได้ว่าเราทำงานหรือเคยทำงานจริงในบริษัทนั้นๆ ซึ่งควรเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดในการทำงานอย่างเจ้านายหรือหัวหน้างาน ซึ่งจะตอบข้อมูลได้ชัดเจนและถูกต้องที่สุด แต่ถ้ากลัวเขาจะล่วงรู้ถึงแผนการลาออกและไม่อยากให้ HR โทรไปสอบถาม ก็อาจจะใส่ข้อความเก๋ๆ ว่า Upon Request ก็ได้

ส่งอีเมลสมัครงานอย่างเหมาะสม

การส่งอีเมลสมัครงาน ควรเริ่มต้นด้วยคำแทนตัวเองอย่างสุภาพ เช่น ผม หรือดิฉัน ทั้งควรเริ่มต้นการเกริ่นนำให้มีความเหมาะสมด้วย เช่น การแนะนำตัวและจุดประสงค์ของการสมัครตำแหน่งนี้ เพื่อให้นายจ้างสนใจและอยากเปิดเรซูเม่ของเราขึ้นมาอ่านทันที 

...แค่นี้เรซูเม่ที่ส่งไปก็มีเปอร์เซ็นต์ได้รับการพิจารณามากกว่าเรซูเม่รูปแบบเดิมๆ แล้ว ยังไงก็ขอเป็นกำลังให้ทุกคนที่กำลังหางาน  ให้ได้งานทำไวๆ สมดังปรารถนาทุกคน

ตัวอย่างเรซูเม่

เรซูเม่แบบไหนที่ส่งไปแล้วไม่นก

เรซูเม่แบบไหนที่ส่งไปแล้วไม่นก

เรซูเม่แบบไหนที่ส่งไปแล้วไม่นก

เรซูเม่แบบไหนที่ส่งไปแล้วไม่นก

เรซูเม่แบบไหนที่ส่งไปแล้วไม่นก

เรซูเม่แบบไหนที่ส่งไปแล้วไม่นก

 

ภาพ : designshack.net