posttoday

ความสำเร็จของผู้ไขว่คว้า กิจจา ปัทมสัตยาสนธิ

24 ตุลาคม 2554

“ผมเป็นคนชอบทำงาน ชอบคุย ชอบคิด ชอบพบคน ได้คุยกัน แลกเปลี่ยนกัน มีเพื่อนไปทุกวงการ ซึ่งผมถือว่าเราได้ประโยชน์จากมุมมองที่แลกเปลี่ยน”

“ผมเป็นคนชอบทำงาน ชอบคุย ชอบคิด ชอบพบคน ได้คุยกัน แลกเปลี่ยนกัน มีเพื่อนไปทุกวงการ ซึ่งผมถือว่าเราได้ประโยชน์จากมุมมองที่แลกเปลี่ยน”

เรื่อง วันพรรษา อภิรัฐนานนท์ &<2288;

“ผมเป็นคนชอบทำงาน ชอบคุย ชอบคิด ชอบพบคน ได้คุยกัน แลกเปลี่ยนกัน มีเพื่อนไปทุกวงการ ซึ่งผมถือว่าเราได้ประโยชน์จากมุมมองที่แลกเปลี่ยน” กิจจา ปัทมสัตยาสนธิ หนึ่งในนักบริหารอันดับต้นๆ ของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ในบ้านเราเล่าถึงจังหวะชีวิตที่ ณ ขณะนี้ ก้าวเดินของเขากำลังพลิกเปลี่ยนทั้งชีวิตตัวเองและวงการเฟอร์นิเจอร์

ฉีกจุดต่างที่แตกและแปลกใหม่

นี่คืออดีตเบอร์หนึ่งค่ายอินเด็กซ์ลีฟวิ่งมอลล์ ผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ที่ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ปัจจุบันกิจจาก้าวออกจากอินเด็กซ์เพื่อสร้างแบรนด์ของตัวเอง “ชิค รีพับบลิค” (Chic Republic) เขาสร้างความท้าทายด้วยทางเลือกใหม่ ความแตกต่างที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็ตอบสนองความฝันของกิจจาเอง

ความสำเร็จของผู้ไขว่คว้า กิจจา ปัทมสัตยาสนธิ

 

ด้วยประสบการณ์ถึง 26 ปี กับสายตาที่มองทะลุ กิจจาฉีกตัวเองจากตลาดโมเดิร์นเฟอร์นิเจอร์ สู่ตลาดที่เขาเรียกว่า Modtrad (Modern+Traditional) หรือเฟอร์นิเจอร์คลาสสิกสไตล์ยุโรปกึ่งโมเดิร์น จุดต่างที่แตกและแปลกใหม่ ช่วงชิงกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ ด้วยกระแสที่กำลังมาแรงทั้งจากเกาหลี ญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรป เขาเนรมิตชิค รีพับบลิค ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนเลียบทางด่วนรามอินทรา ให้เป็นโฮมแฟชั่น จุดรวมของความหลากหลาย ไลฟ์สไตล์ และแบรนด์อิมเมจที่กำลังเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ของคนรักการแต่งบ้านอยู่ในเวลานี้

กิจจา วิศวเคมี จากจุฬาฯ และจบปริญญาโท ด้านวิศวอุตสาหกรรมที่สหรัฐอเมริกา (University of Texas, at Arlington) เข้าทำงานกับบริษัทต่างประเทศหลายแห่ง ทั้งอังกฤษ ญี่ปุ่น และสวีเดน เขาเติบโตอย่างไร เรียนรู้จากเขา นั่นเป็นก่อนเข้าสู่วงการเฟอร์นิเจอร์ ก็เมื่อญาติผู้ใหญ่คือคุณอาแท้ๆ พิศิษฐ์ ปัทมสัตยาสนธิ ชักชวนให้มาร่วมงานกันในช่วงแรกของอินเด็กซ์ลิฟวิ่งนั่นเอง

โดยส่วนตัวชอบทำการค้า เพราะคุณพ่อคุณแม่ก็ค้าขายมาก่อน ซึมซับความดีความงามความอดทนจากคนทำงานค้าขายจากพ่อและแม่ โดยเฉพาะแม่ ยุรี โอวศิริกุล บ้านเกิดที่ต่างจังหวัด ทำเป็นร้านกึ่งห้าง อยู่ที่ อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย กิจจา เล่าว่า ร้านค้าของเขาขายทุกอย่าง และเป็นร้านที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอสมัยนั้น ตั้งแต่อยู่ชั้น ป.56 แม่ก็ให้ช่วยงาน แรกๆ ให้ช่วยขายของ ส่วนตัวของแม่เองจะขายของถึงเที่ยงคืน เขาจำได้ว่าลูกค้าติดแม่ คงเพราะได้คุยกับแม่แล้วสบายใจ มองไปทางแม่ก็ใจเย็นยิ้มแย้มเสมอ

ความสำเร็จของผู้ไขว่คว้า กิจจา ปัทมสัตยาสนธิ

 

โตขึ้นมาอีกหน่อยแม่ก็เริ่มให้ช่วยจัดของในร้าน ช่วยคิดช่วยสั่งของ และได้พูดคุยกับลูกค้าบ้าง โดยแม่จะสอนว่า ต้องพูดจาไพเราะ ต้องดูแลคนทุกคนที่เข้ามาในร้าน แม่ทำให้เห็น ตี 5 ต้องเปิดร้าน ลูกๆ ต้องตื่นมาช่วยจัดร้าน เรื่องของการค้าการขายที่ซึมซับอยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องที่กิจจาบอกว่าต้องขอบคุณพ่อและแม่ อีกเรื่องที่ต้องขอบคุณไม่แพ้กัน คือ การเห็นความสำคัญของการศึกษา

“พ่อแม่เห็นความสำคัญของการศึกษามาก ส่งผมไปเรียนที่โรงเรียนในตัวเมือง จ.พิษณุโลก ต้องไปอยู่หอพัก แต่ก็อดทน ต้องปรับตัว ปิดเทอมเมื่อไหร่ก็กลับมาช่วยบ้านค้าขาย” กิจจา เล่าต่อว่า เป็นโชคดีของเขาที่ตลอดชีวิตการเรียนการศึกษา ตลอดทางได้เจอแต่กัลยาณมิตร เพื่อนดี ครูดี ทำให้มีใจใฝ่มาทางดี โตขึ้นก็เข้ากรุงเทพฯ เข้าเรียนที่อำนวยศิลป์ ได้เพื่อนดีอีกเช่นกัน หลายคนยังคบกันอยู่เลย อย่าง บุญทักษ์ หวังเจริญ ซีอีโอแห่งธนาคารทหารไทย ก็เขานี่เองที่เป็นเพื่อนเจ้าบ่าว

“โชคดีมหาศาลของผม คือ การได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมของคนดีและมวลมิตรที่เกื้อหนุน ผลลัพธ์คือชีวิตที่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ชีวิตประสบความสำเร็จ ไม่ใช่แค่เพื่อนและโชคที่ดีเท่านั้น สำคัญคือสิ่งที่ไขว่คว้าในใจ ชีวิตคุณต้องการอะไร มันจะอยู่ในใจของคุณไปตลอด ต้องกล้าที่จะคิด ต้องกล้าที่จะสู้ และถ้ามีโอกาสต้องทำทันที ทำความฝันให้เป็นจริงด้วยตัวของตัว”

5 คน 5 พลังแห่งชีวิต

1.คุณแม่ยุรี โอวศิริกุล

กำลังใจมาจากแม่ ทุกวันนี้ในยามไม่ค่อยสบายใจหรือเครียด (มีเหมือนกัน) ยังโทร.หาแม่เพื่อขอคำปรึกษา แม่เป็นคนใจเย็น พูดอะไรที่กลางๆ ให้เราได้มองสองด้าน วางโทรศัพท์จากแม่แล้ว ก็มักได้คำตอบและได้หลักให้ได้เดินต่อ ปัจจุบันปัจจุบันแม่อายุ 74 ปีแล้ว และยังแข็งแรงดี

ความสำเร็จของผู้ไขว่คว้า กิจจา ปัทมสัตยาสนธิ

2.นายห้างเทียม โชควัฒนา

ชอบอ่านหนังสือ และได้อ่านหนังสืออัตชีวประวัติของท่าน นายห้างเทียม โชควัฒนา แห่งสหพัฒน์ ได้เห็นกิจการ โตแล้วแตก แตกแล้วโต เป็นตัวอย่างของผู้บริหารงานองค์กร ที่ทรงธรรมด้วยปรัชญาการใช้ชีวิตและการใช้ลูกน้อง ผมได้หลักคิดจากท่านว่า การทำให้องค์กรยั่งยืน ต้องมีทั้งหลักทางศาสนา และหลักในการบริหารสมัยใหม่รวมอยู่ด้วยกัน

3.ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

อดีต รมว.คลัง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ โชคดีที่ผมได้มีโอกาสเรียนหนังสือกับท่าน ท่านสอนการตลาด ตั้งแต่ทำงานมา คำว่ากลยุทธ์ ไม่เคยเข้าใจ มาได้รู้ก็จากท่าน ซึ่งเป็นกูรูที่ถ่องแท้ในทางกลยุทธ์อย่างแท้จริง ดร.สมคิด เด่นเรื่องกลยุทธ์ การวางตำแหน่งของประเทศ และการวางตำแหน่งของตัวเอง ตีกรอบธุรกิจด้วยจุดแข็ง นี่เป็นการเรียนรู้ครั้งสำคัญ ซึ่งผมนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตัวเองเสมอ

4.อนันต์ อัศวโภคิน

ซีอีโอแห่งแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ผมถือว่าเซียน ประทับใจว่าท่านทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็เบอร์หนึ่ง กระโดดมาธุรกิจค้าปลีกโฮมโปร ก็เบอร์หนึ่ง มาทำธุรกิจศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ และเทอร์มินอล 21 ก็สุดยอด นอกจากนี้ยังทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ซึ่งผมคิดว่าสำเร็จหมด โปร่งใส เติบโต คนเป็นเจ้าของธุรกิจ การแตกสายไม่ใช่ง่าย โอกาสพลาดมี

5.สตีฟ จ็อบส์

ทำไมไอโฟนถึงประสบความสำเร็จระดับโลก ไม่สงสัยเลยว่าทำไม เพราะ สตีฟ จ็อบส์ ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม สิ่งที่เขาทำคือการอินโนเวชัน ซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการที่เขาทำอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น คือ การเป็นเจ้าของคำพูดที่ผมประทับใจมาก “ถ้ายังไม่เจอสิ่งที่ตัวเองรัก (ที่จะทำ) ก็อย่าหยุด (ที่จะค้นหา)” โชคดีที่ผมเจอแล้ว (ฮา)