ค้างคาวแม่ไก่
เมื่อต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ น.ส.บุษบง กาญจนสาขา หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ร่วมกับสถาบันสุขภาพสัตว์ กรมปศุสัตว์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา สมเด็จพระเทพฯ และสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ไปดำเนินการตรวจค้นหาโรคอุบัติใหม่จากค้างคาวในธรรมชาติ ที่วัดโพธิ์บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โดยทำการเก็บตัวอย่าง ปัสสาวะ เลือด มูล และเนื้อเยื่อจากคอและทวารหนักของค้างคาว เพื่อตรวจหาเชื้อโรคในค้างคาว
เมื่อต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ น.ส.บุษบง กาญจนสาขา หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ร่วมกับสถาบันสุขภาพสัตว์ กรมปศุสัตว์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา สมเด็จพระเทพฯ และสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ไปดำเนินการตรวจค้นหาโรคอุบัติใหม่จากค้างคาวในธรรมชาติ ที่วัดโพธิ์บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โดยทำการเก็บตัวอย่าง ปัสสาวะ เลือด มูล และเนื้อเยื่อจากคอและทวารหนักของค้างคาว เพื่อตรวจหาเชื้อโรคในค้างคาว
ในปี 2555 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการแผนป้องกันและควบคุมโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ธรรมชาติ โดยมีกิจกรรมในการตรวจค้นโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ธรรมชาติ 3 กลุ่ม ได้แก่ นก ค้างคาว และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ในสัตว์ธรรมชาติ โดยมีแผนเก็บตัวอย่างเชื้อไวรัสจากค้างคาวแม่ไก่ (Flying Fox) จำนวน 300 ตัวอย่าง ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งอาศัยของค้างคาวแม่ไก่ใน จ.ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี จันทบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี และนราธิวาส
การดำเนินงานในครั้งนี้มุ่งเน้นในการตรวจค้นโรคอุบัติใหม่ที่อาจพบในค้างคาวแม่ไก่ เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าค้างคาวเป็นแหล่งรังโรคของเชื้อโรคหลายชนิด เช่น นิปาห์ไวรัส (Nipah Virus) ที่เป็นสาเหตุของการระบาดของโรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งเคยมีรายงานการแพร่ระบาดในประเทศมาเลเซียและบังกลาเทศ ในระหว่างปี 2541-2548 ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากกว่า 100 ราย ในมาเลเชีย ส่วนในบังกลาเทศมีผู้ป่วยในทุกกลุ่มอายุ การปฏิบัติงานครั้งนี้ยังมีส่วนช่วยในการซักซ้อมให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมีความเข้าใจ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
ค้างคาวแม่ไก่ในประเทศไทยมี 4 ชนิด ได้แก่ ค้างคาวแม่ไก่ใหญ่ (Pteropus Vampyrus) ค้างคาวแม่ไก่เกาะ (P.hypomelanus) ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง (P.lylei) และค้างคาวแม่ไก่นครสวรรค์ (P.intermedius) ค้างคาวแต่ละชนิดมีการกระจายในพื้นที่ต่างๆ เช่น ค้างคาวแม่ไก่ใหญ่พบในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ค้างคาวแม่ไก่เกาะพบในพื้นที่ตามเกาะต่างๆ ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางพบในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก และค้างคาวแม่ไก่นครสวรรค์พบในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ จากการศึกษาติดตามประชากรค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง ที่วัดหลวงพรหมาวาส จ.ชลบุรี ในปี 2548-2549 พบว่า มีประชากรอยู่ประมาณ 9,783-12,765 ตัว สำหรับประชากรค้างคาวที่วัดโพธิ์บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา คาดว่ามีประชากรไม่ต่ำกว่า 2,000 ตัว