posttoday

ทิป เรื่องเล็กน้อยที่ควรรู้ก่อนไปท่องเที่ยวต่างถิ่น

27 มกราคม 2566

เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่แฮงค์เอาท์ หลังมีนักร้องชื่อดัง “โจอี้ ภูวศิษฐ์” ถูกโยนเงินใส่หน้า มันคือการให้เกียรติหรือเป็นการเหยียดหยามกัน โดยการให้ ทิป แต่ละประเทศนั้นจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของประเทศเหล่านั้นว่าเป็นการให้เกียรติหรือถูกเหยียดหยาม

     เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่แฮงค์เอาท์ หลังมีนักร้องชื่อดัง “โจอี้ ภูวศิษฐ์” ถูกโยนเงินใส่หน้า มันคือการให้เกียรติหรือเป็นการเหยียดหยามกัน 

     โดยการให้เงินตามคลิปที่เป็นไวรัลนั้น หรือที่เรียกกันว่าให้ ทิป  คือการที่ตัวเรานั้นเอาเงินจำนวนหนึ่ง มอบให้กับผู้ที่ให้บริการ  โดยจ่ายเพิ่มให้เป็นพิเศษนอกเหนือจากราคาสินค้า หรือการบริการที่ได้ให้ไปแล้ว
     การให้ทิปของแต่ละประเทศนั้นจะไม่เหมือนกัน เพราะบางประเทศจะรวมค่าทิปในบิลเรียกว่า “Sevrvice Charge” หรือ “ค่าบริการ” ไว้แล้ว แต่บางประเทศ การให้ค่าบริการพิเศษ หรือ”ค่าทิป” จะเป็นไปตามความพอใจของลูกค้า
     ซึ่งแต่ละประเทศมีการให้ “ทิป” แตกต่างกันไป โดยประเทศที่เป็นที่นิยมในการท่องเที่ยว วัฒนธรรมในการให้ทิปก็จะแตกต่าง บางแห่งถือเป็นธรรมเนียมที่”ต้อง”ให้ เพราะหากไม่มีทิป ผู้ให้บริการมองว่า ตนเองทำงานได้ไม่เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า ในการเดินทางไปต่างประเทศ จึงควรนำค่าทิปไปคิดรวมอยู่ในงบประมาณที่เราตั้งใจไว้แล้วด้วย เช่น
 

1.ประเทศญี่ปุ่น 
     ปกติแล้วการให้ทิปที่ญี่ปุ่น หมายถึงการดูถูกเหยียดหยาม ในทุกกรณีครับ ต่อให้เพื่อนๆวางไว้ พนักงานก็จะวิ่งนำเงินมาคืนให้เรา ยกเว้นในโอกาสพิเศษ เช่นงานแต่งงาน งานศพ จะนำเงินใส่ซองต่างหาก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงความขอบคุณ

2.ประเทศจีน
     ปกติแล้วร้านอาหารใหญ่ๆในเมืองจีน จะมีเมนูอยู่ 2 ภาษา และเมนูสำหรับชาวต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษจะมีการระบุราคาที่สูงกว่าเมนูในภาษาท่องถิ่นอยู่แล้ว จึงอาจเป็นเรื่องปกติที่จะไม่ให้ทิป แต่การทิปกับไกด์ คนขับรถนำเที่ยว และพนักงานยกกระเป๋าในโรงแรมถือเป็นเรื่องที่รับไม่ได้สำหรับประเทศจีน

3.ประเทศสิงคโปร์
     การให้ทิป ถือว่าไม่ใช่วิถีชีวิตของคนสิงคโปร์โดยเดิมอยู่แล้ว เพราะมีการคิดค่าบริการ 10% อยู่ในใบเสร็จอยู่แล้ว

4.ประเทศอาร์เจนตินา
     การให้ทิปถือเป็นการทำผิดกฎหมาย ภายใต้กฎหมายแรงงานปี 2004 แต่สำหรับพนักงานเสริฟพวกเขายังคาดหวังการทิปเล็กน้อยๆ ซึ่งในการปฎิบัติยังมีคนให้ทิปเล็กๆน้อยๆอยู่

5.ประเทศสหรัฐอเมริกา
     การให้ทิปถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งของสหรัฐฯ คนอเมริกันจะจ่ายทิปร้อยละ 15 เสมอ ไม่ว่าบริการที่ได้รับจะเป็นอย่างไรก็ตามเพราะถือเป็นการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย รวมไปถึงแท็กซี่ก็มีการให้ทิปด้วยเช่นกัน
     แต่สำหรับที่ประเทศไทยราคามาตรฐานของทิป สำหรับทิปรวมโดยทั่วไปคือ 20% สำหรับค่าบริการที่ยอดเยี่ยม 15% สำหรับการบริการที่ดี และ 10% สำหรับการบริการทั่วไปที่ไม่ถึงขั้นเลวร้าย แล้วอาจเพิ่มทิปแยกอีก 5-10% ให้พนักงานที่คอยดูแลเราเป็นพิเศษก็ได้ แต่กับบางร้าน อาจจะมี Self-Service เราต้องบริการตัวเองเริ่มตั้งแต่การเขียนบิลสั่งอาหาร รับหาร หาเครื่องดื่มเอง หรือบางแห่งเราต้องเก็บจานหลังกินที่เสร็จแล้ว ฉะนั้นเราจึงไม่จำเป็นที่จะต้องให้ทิปอีก