ภาพสะท้อน ‘ชนชั้น’ ใน ‘Hunger’ คนหิว เกมกระหาย
ภาพยนตร์ “Hunger คนหิว เกมกระหาย” ที่กำลังโด่งดังเป็นกระแสในโลกออนไลน์ ด้วยเนื้อหา ภาพและคำพูดของตัวละครที่กล้าออกมาพูดถึงประเด็น ‘ชนชั้น’ ที่หลบซ่อน เรื้อรั้ง เป็นปัญหาสังคมไทยมานานได้อย่างเลือดซิบ!
*เนื้อหามีการเปิดเผยเรื่องราวของภาพยนตร์*
‘ผู้ชนะที่แท้จริงคือผู้ที่หิวโหยกว่าเสมอ’ คือประโยคยาวประโยคแรกที่ปรากฏใน ภาพยนต์ Hunger คนหิว เกมกระหาย ที่กำลังโด่งดังเป็นกระแสในโลกออนไลน์ ด้วยเนื้อหา ภาพและคำพูดของตัวละครที่กล้าออกมาพูดถึงประเด็น ‘ชนชั้น’ ที่หลบซ่อนเรื้อรั้งเป็นปัญหาสังคมไทยมานานได้อย่างเลือดซิบ!
ในอาณาจักรของห้องครัวที่มีระบบชนชั้น ‘ออย’หญิงสาวที่ต้องสานต่อร้าน ก๋วยเตี๋ยวผัดในชุมชนเล็กๆ ได้รับโอกาสที่จะพิสูจน์ตัวเองเพื่อที่เธอจะได้ ‘เป็นคน พิเศษ’ มีชื่อเสียงเช่นเดียวกับ ‘เชฟพอล’ ซึ่งตัดสินใจรับเธอเข้าทำงานเป็นลูกทีม ของเขา โดยที่ออยไม่รู้ตัวเลยว่า ‘ความพิเศษ’ ที่ไขว่คว้าทำให้เธอเข้าสู่โลกแห่ง ความกระหายหิวอันโหดร้าย
อาหารบนจาน แทนวรรณะในสังคม
เมื่อดูภาพยนตร์เรื่อง Hunger คนหิวเกมกระหายจบ มีคำเล็กๆ สองคำที่วนเวียน อยู่ในหัว หนึ่งคือคำว่า ‘อาหาร’ .. ไม่ใช่แค่เพราะเรื่องราวนี้พูดถึงเชฟ หรือการทำ อาหาร แต่เพราะเรื่องนี้ใช้อาหารเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงออกถึงความต่าง ของชนชั้นได้อย่างเอร็ดอร่อย
ออยเติบโตมาจากชนชั้นธรรมดา มีร้านขายอาหารเล็กๆ ของตัวเอง เมนูประจำ ครอบครัวที่ฝังรากลึกสืบต่อกันมาคือ ‘ก๋วยเตี๋ยวงอแง’ ซึ่งเป็นการนำเส้นก๋วยเตี๋ยว มาผัดกับอะไรก็ได้ที่มีในตู้เย็น สูตรเด็ดอย่างที่ออยบอกไว้ในเรื่อง คือการทำด้วย ‘ความรัก’ ของอาม่าที่อยากจะให้ลูกได้กินอิ่มและหายงอแง ในทางตรงกันข้าม
เมื่อออยเดินเข้าสู่โลกของเชฟพอล มันกลับเต็มไปด้วยสีสันที่ฉูดฉาด วัตถุดิบต้อง ดีจนต้องเอามาจากแหล่งกำเนิด ของทุกอย่างประทับตราความพิเศษตั้งแต่วัตถุ ดิบวากิว A5 ไปจนถึงการนำเสนอที่บ้าคลั่ง และคนไม่ได้มาทานอาหารเพื่อแค่ให้ อิ่ม แต่เพื่อจะได้ชื่อว่าได้กินอาหารชนิดพิเศษจากเชฟพอล ซึ่งคนที่มีเงินเท่านั้นถึง จะมีสิทธิได้กิน
หนังได้ทำให้เราเห็นว่าในโลกของคนจนและคนรวยความหมายของ ‘อาหาร’ ต่าง กันอย่างสิ้นเชิง เมื่อเราดูรายงานจากงานวิจัยจะพบว่าเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วน ของการบริโภคกลุ่มคนที่มีฐานะอยู่ในระดับล่างซึ่งมีร้อยละ 20 พวกเขาจะมี สัดส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารคิดเป็นร้อยละ 51 ของการบริโภคทั้งหมด (ปี 2019) ส่วนกลุ่มระดับบนที่มีจำนวนอยู่ร้อยละ 20 0t มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับ อาหารเพียงร้อยละ 29 การที่ครัวเรือนรายได้น้อยมีสัดส่วนการบริโภคสินค้า จำเป็นสูง ทำให้เห็นว่า ‘ความหิว’ ของพวกเขาเปราะบางแค่ไหน เพราะหากสูญ เสียรายได้ก็จะต้องลดการบริโภคสินค้าที่จำเป็นอย่างเช่น ‘อาหาร’ ไป
ในขณะที่คนจน ‘กินเพื่ออยู่’ และกินเพื่อจะได้มีชีวิตรอดไปในแต่ละวัน แต่คนที่อยู่ ในฐานะคนรวยจะ ‘กินเพื่อชดเชยความหิวแบบพิเศษ และอยากได้ประสบการณ์ แบบพิเศษ เพื่อยืนยันความเป็นคนพิเศษที่ไม่เหมือนกับคนอื่น’
ฉากที่สะท้อนสิ่งนี้ได้ดีที่สุดคือเรื่องราวของไข่ปลาคาเวียร์ที่เล่าจากปากของเชฟ พอล ไข่ปลาคาเวียร์เป็นสิ่งที่แพงมาก ถ้าดีๆ ก็ถึงขั้นกระปุกนิดเดียวแต่ราคา หลายหมื่น ... การกินไข่ปลาคาเวียร์จึงเท่ากับแสดงถึงฐานะชั้นเลิศของผู้ซื้อ เชฟ พอลเคยทำกระปุกไข่ปลาคาเวียร์ตกแตกตอนที่เป็นเด็กลูกแม่บ้าน เพราะอยากกิน มากจนทำให้ครอบครัวเดือดร้อน เขาเล่าติดตลกด้วยประโยคสุดท้ายว่า ‘ที่ตลก ที่สุดคืออะไรรู้มั้ย มันไม่อร่อย’
ผู้ชนะที่แท้จริงคือผู้ที่หิวโหยกว่าเสมอ
คำที่สองคือคำว่า ‘หิว’ หิวถูกใช้ในบริบทยุคใหม่อยู่เนืองๆ เช่น หิวอำนาจ หรือหิว เงิน เพื่อแสดงออกถึงความต้องการที่มากเป็นพิเศษ ในเรื่องนี้ทำให้เราเห็น ว่าการพยายามไต่จาก ‘คนธรรมดา’ ให้ประสบความสำเร็จจนกลายเป็น ‘คน พิเศษ’ ในสังคมไทยต้องมีความหิวมากเพียงไร และต้องแลกกับอะไรบ้างระหว่าง ทาง
‘ทำด้วยความรัก มันออกจากความจนไม่ได้หรอก จะเป็นเชฟต้องมีแรงผลักดัน มากกว่านั้น’
สำหรับชนชั้นกลาง-ล่าง พวกเขาถูกหล่อหลอมด้วยคำพูดสวยหรู ข้อความสร้าง แรงบันดาลใจต่างๆ นานาซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากชนชั้นบนว่า ‘หากทำด้วยความรัก ไม่ย่อท้อและมีความพยายาม ทุกอย่างก็จะสำเร็จ’ แต่ความเป็นจริงนั้นไม่ใช่เลย
งานวิจัยเปิดเผยว่าสภาพสังคมไทยนั้นเหลื่อมล้ำและมีช่องว่างเป็นอย่างมาก เพราะรายได้กว่าร้อยละ 67 ของประชากรทั้งประเทศตกอยู่ในมือของกลุ่มคน เพียงแค่ร้อยละ 20 ของประเทศนี้ หมายความว่ารายได้ของประเทศกระจุกตัวอยู่ที่ คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ในขณะที่บางคนยังไม่สามารถใช้เงินคุ้มเดือนได้เลย หรืออยู่ได้เพราะการกู้หนี้ยืมสิน สะท้อนจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของ ไทย ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 2562 ซึ่งอยู่ที่เกือบร้อยละ 80 สูงเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย รองจากประเทศเกาหลีใต้
เหมือนคำพูดของออยที่บอกกับโตนคนรักของเธอว่า ‘ก็เพราะหิวไม่มากพอ’ พยายามไม่มากพอไง ในวันที่เธอสามารถเปิดร้านและมีชื่อเสียงเป็นเชฟชื่อดังได้ โดยมีนักธุรกิจใหญ่เป็นสปอนเซอร์ แต่แฟนของเธอกลับทำได้แค่เปิดร้านเล็กๆ ในซอยเล็กๆ เพราะไม่มีเงินทุน คำพูดของออยอาจจะอยู่ในความรู้สึกของชนชั้น กลาง-ล่างบางคน ที่กำลังขวนขวายเพียงเพราะคิดว่า หากพยายามมากพอ และ ทะเยอทะยานมากกว่านี้ เราก็จะสามารถเป็นคนพิเศษอย่างที่ต้องการ
จากคำพูดของออยสุดท้ายโตนจึงทำให้ออยเห็นว่า ความหิวของเขามากพอที่จะ ทำลายครูของเขาด้วยการแบล็คเมล์ เพื่อที่เขาจะได้พิเศษอย่างที่ต้องการ เขา สามารถทำได้ทุกอย่าง และนั่นคือจุดที่ทำให้ออยรู้ว่าเธอเสียคนที่รักไปตลอดกาล
หนังเรื่องนี้ยังชี้ให้เห็นว่าการพยายามเป็นคนพิเศษนั้นต้องแลกกับสิ่งใดบ้าง ซึ่ง ในความเป็นจริงมันอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป คนรวยส่วนใหญ่ก็ยังคงมีความ สุข มีเพื่อนคบ มีคนรักมากมาย และครอบครัวที่มีความสุข .. ในขณะที่อีกฝั่งหนึ่ง ของสังคม ความกดดันได้กดลงไปบนบ่าของชนชั้นล่างอย่างหนักหน่วง พวกเขา หลงเพ้อฝันว่าหากแค่พยายามมากขึ้นก็คงจะมีวันที่เป็นของพวกเขาบ้าง แต่แท้ที่ จริงแล้วความพยายามเหล่านั้นต้องอยู่บนฐานรากของโครงสร้างเศรษฐกิจที่ช่วย สนับสนุนด้วย ในเมื่อสังคมไม่เอื้อให้คนจนมีชีวิตที่ดีขึ้น การศึกษาที่ดีกระจุกอยู่ที่ คนรวย สาธารณสุขที่ดีไม่ทั่วถึง เบี้ยคนชราที่ยังคงน้อยนิดจนเราต้องทำงาน อย่างหนักเพราะไม่รู้ว่าแก่ไปแล้วจะเอาอะไรกิน ภาษีที่เก็บคนทำงานหาเช้ากินค่ำ แต่ลดภาษีบางอย่างที่ไม่เอื้อต่อการกระจายสินทรัพย์ในประเทศ ด้วยเหตุผลที่ว่า คนรวยคือต้นทางของเศรษฐกิจที่ดีที่ไปสู่ฐานราก .. ทั้งหมดคือกับดักและเกมที่คน ชนชั้นล่างจะออกจากสิ่งนี้ได้จริงหรือ
แด่การเป็น ‘คนพิเศษ’
ออย ‘อยากเป็นคนพิเศษ' เพียงเพราะเธอคิดว่าชื่อเสียงที่ได้จากการเป็นคนพิเศษ จะพาชีวิตที่ดีกว่ามาให้เธอ โตนยอมทำหลายอย่างที่โสมมเพราะอยากเป็นคน พิเศษ หรือแม้แต่เชฟพอลที่ต้องการแก้แค้นความจนของตัวเอง ด้วยการถีบตัวให้ มีชื่อเสียงเพื่อให้คนรวยที่เคยเหยียบย่ำเขาต้องมาก้มหัวให้ แต่สุดท้ายเขากลับ ตกบ่วงของการเป็นคนพิเศษเสียเอง เพราะเมื่อได้เป็นแล้ว การลงมาจากการเป็น คนพิเศษนั้นยากกว่าเดิม เขาได้กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มคนพิเศษ ที่เขาเคยรังเกียจ
ไปแล้ว
‘เป็นไง ได้เป็นคนพิเศษสมใจแล้ว สนุกมั้ย’ ฉากสุดท้ายเมื่อออยได้รู้ซึ้งถึงความเป็นคนพิเศษ แต่เธอกลับไม่ดีใจกับมันเลย ด้วยซ้ำ เพราะเส้นทางที่เธอได้มันมา แหวกให้เห็นความโลภของมนุษย์ และความ ไม่ยุติธรรมในสังคม ออยเดินกลับมาจากปาร์ตี้ของไฮโซที่กินเหลือทิ้งเหลือขว้าง และเดินผ่านกลุ่มคนธรรมดาที่ไม่มีแม้แต่บ้านอยู่และข้าวให้กิน ... ความพิเศษนั้น จะดีแค่ไหนกัน หากเรายังคงกระหายหิวบนความอดอยากของคนอื่นโดยลืมไปว่า ‘อาหารที่หรูหราที่สุด ก็มาจากวัตถุดิบของชนชั้นแรงงานเสมอ’
เราเคยได้ยินคำพูดทำนองว่า เราต่างมีแสงสว่างในตัวเอง หรือเพราะทุกคนคือคน พิเศษในตัวเอง เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงคุณค่าการเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน คำถามคือมันยังใช้ได้หรือกับสังคมไทยที่ขึ้นอยู่กับอำนาจของเงินและปากท้อง แบบนี้ แล้วเมื่อไหร่ที่คุณค่าความเป็นคนจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้
เมื่อดูภาพยนตร์จบ แม้จะรู้สึกว่าถ้าในความเป็นจริงออยคงไม่ตัดสินใจแบบนี้ หลายคนบอกว่ามันจบแบบโลกสวยเกินไป แต่อย่างน้อยภาพยนตร์เรื่อง Hunger คนหิว เกมกระหาย ก็พยายามเตือนสติกับคนดูอยู่เนืองๆ ว่าไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้น ไหน สุดท้ายทุกคนก็เป็นแค่เพียงคนธรรมดาคนหนึ่ง เกิดและดับเท่าเทียมกัน ไม่มี หรอก ‘คนพิเศษ’ ที่แท้จริง
ที่มา:
https://www.facebook.com/NetflixTH/ https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/ Article_11Nov2021.aspx
https://www.pier.or.th/abridged/2020/17/