“ความหลากหลาย” หมายถึงอะไร ทำไมสำคัญในที่ทำงาน?
ไม่กี่ปีมานี้คำว่า “ความหลากหลาย” กลายเป็นคำฮิตติดปากในหลายองค์กร แต่หากมองว่าเป็นเพียงแค่เทรนด์ ก็จะมองไม่เห็นความหมายที่แท้ ลึกซึ้งและทรงคุณค่าในความหลากหลาย (Diversity) ความเสมอภาค (Equality) และการมีส่วน (Inclusion) เรียกกันรวมๆ ว่า DEI Model อย่างแท้จริง
มองเห็นได้ชัดๆ องค์กรที่มีความหลากหลายย่อมมีความสุขมากขึ้น มีประสิทธิผลมากขึ้น และมีการแข่งขันในอุตสาหกรรมของตนมากขึ้น
แต่ความหลากหลายจริงๆ แล้วหมายถึงอะไร? ใครรู้บ้าง
ดูเหมือนว่า คนทั่วไปจะคิดว่า ความหลากหลายหมายถึงสิ่งต่าง ๆ สำหรับคนประเภทต่าง ๆ ในสังคม จนคุณอาจสงสัยว่า ความหลากหลายคืออะไรกันแน่ แล้วมันมีความหมายเหมือนกันในที่ทำงานหรือเปล่า? เราจะไปหาคำตอบกัน
ความหลากหลายและการมีส่วนร่วมคืออะไรกันแน่?
ความหลากหลาย อาจเป็นคำที่หมายถึงความหลากหลายของมุมมองที่แตกต่างกันในทีม แม้ว่าความหลากหลายจะเกี่ยวข้องกับประเด็น ด้านเชื้อชาติและความยุติธรรมทางสังคม แต่ก็ได้กลายเป็นแง่มุมของการสนทนาที่กว้างขึ้น คำนี้แสดงถึงประสบการณ์ที่หลากหลาย รวมถึงเพศสภาพ (Gender) เพศสรีระ (Sex) ภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม การเลี้ยงดู ศาสนา การศึกษา รสนิยมทางเพศ (sexual orientation) อัตลักษณ์ทางเพศ (gender identity) ชาติพันธุ์ (ethnicity) ความหลากหลายทางระบบประสาท (neurodiversity - ศัพท์ใหม่ในวงการออทิสติกทั่วโลก) และประสบการณ์ชีวิต
ในทางกลับกัน “การมีส่วนร่วม” (Inclusion) หมายความว่า ทุกคนควรมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเข้าถึงการศึกษาทรัพยากร โอกาส หรือการปฏิบัติอื่นใดตาม บุคลิกลักษณะ บุคลักษณ์ หรือ คุณสมบัติที่ทำให้พวกเขามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
โดยพื้นฐานแล้ว ความหลากหลายและการมีส่วนร่วม หมายถึง บทสนทนาเกี่ยวกับ การทำความเข้าใจ "อคติแบบแอบแฝง" (implicit bias) ที่แฝงฝังอยู่ในทุกที่ที่เราก้าวเดินไปเสียใหม่ แล้วกำจัดมันออกไป ด้วยการท้าทายแนวคิดเดิมที่ว่า “ความแตกต่างคือความด้อยกว่า”
SEX: (เพศสรีระ) หมายถึง ลักษณะทางเพศที่ถูกกำหนดโดยปัจจัยกายภาพ หรือ ชีววิทยา เช่น โครโมโซม ฮอร์โมนกายวิภาค ฯลฯ โดยมักจำแนกเป็น ชาย หญิง และ Intersex (ในบางประเทศ)
GENDER: (เพศสภาพ) หมายถึง บทบาท พฤติกรรม และคุณลักษณะทางเพศ ที่สังคมกำหนดให้ผู้คน เช่น ความเป็นชาย ความเป็นหญิง ฯลฯ
ความหลากหลายทั่วไปมีอยู่ 4 ประเภท
องค์การสหประชาชาติรับรองลักษณะเด่น หรือ บุคลักษณ์ (characteristics) กว่า 30 ประการที่แสดงถึงความหลากหลาย แต่ความจริงแล้วมีมากกว่านั้นอีกมากนัก เพราะบางอย่างสามารถมองเห็นได้และบางอย่างก็มองเห็นไม่ได้ ถึงกระนั้น ในตัวตนคนอีกมากมายก็มีทั้งส่วนที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และมีบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงหลายต่อหลายครั้งตลอดช่วงชีวิตของเรา
พูดกว้างๆ มีความหลากหลายอยู่ 4 ประเภท: ภายใน ภายนอก องค์กร และโลกทัศน์
- ความหลากหลายภายใน (Internal diversity) คือลักษณะหรือคุณลักษณะใดๆ ที่บุคคลมีมาแต่เกิด อาจรวมถึงเพศเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ เพศ รสนิยมทางเพศ สัญชาติ หรือความสามารถทางกายภาพ คุณอาจรับรู้ลักษณะเหล่านี้ได้หลายประการว่า เป็นคุณลักษณะที่ได้รับการคุ้มครอง นั่นคือคุณลักษณะที่ครอบคลุมโดยเฉพาะภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
- ความหลากหลายภายนอก (External diversity) หมายรวมถึงคุณลักษณะ ประสบการณ์ หรือสถานการณ์ใดๆ ที่ช่วยกำหนดอัตลักษณ์ของบุคคล แต่ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขามีมาแต่เกิด ตัวอย่าง ได้แก่ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษา สถานภาพการสมรส ศาสนา รูปร่างหน้าตา หรือตำแหน่งที่ตั้ง ลักษณะเหล่านี้มักได้รับอิทธิพลจากผู้อื่นและอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถือว่าเป็นลักษณะภายนอกเนื่องจากสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (อย่างมีสติ)
- ความหลากหลายขององค์กร (Organizational diversity) ความแตกต่างในหน้าที่การงาน ประสบการณ์การทำงานความอาวุโส แผนก หรือระดับการจัดการ เรียกว่าความหลากหลายในองค์กร บ่อยครั้งที่ทั้งแผนกหรือระดับของบริษัทสามารถเป็นเนื้อเดียวกันได้ นั่นคือ ทุกคนเหมือนกัน มาจากภูมิหลังเดียวกัน หรือมีประสบการณ์เหมือนกัน
- ความหลากหลายทางโลกทัศน์ (Worldview diversity) ประการสุดท้าย ความหลากหลายทางโลกทัศน์ครอบคลุมถึงความเชื่อ ความเกี่ยวข้องทางการเมือง วัฒนธรรม และประสบการณ์การเดินทางที่หลากหลาย โลกทัศน์ของเราหรือมุมมองของเรา ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นนวัตกรรมใหม่และครอบคลุมมุ่งโฟกัสไปข้างหน้า อะไรก็ตามที่มีอิทธิพลต่อวิธีที่เราตีความและมองโลกเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางโลกทัศน์
ความหลากหลายในที่ทำงานคืออะไร?
คำจำกัดความของความหลากหลายในที่ทำงานไปไกลกว่าแค่การมี เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ สีผิว เพศสภาพที่แตกต่างกันแม้ว่าการพัฒนาทีมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์จะมีความสำคัญต่อองค์กรใดก็ตาม แต่การเน้นที่ลักษณะเฉพาะเพียงอย่างเดียวอาจเริ่มดูไม่น่าเชื่อถือนัก
ในความเป็นจริง สิ่งที่มองเห็นอาจเป็นเพียงสิ่งที่แยกสมาชิกของชุมชนนั้นออกไป เมื่อความหลากหลายถูกมองว่าเป็นเพียง ตัวตนที่แยกแยะได้ด้วยการมองเห็น หรือเพียงแค่ผิวเผิน
ผู้นำและองค์กรที่หลากหลายและมีความครอบคลุมอย่างแท้จริงไม่ได้มีแค่คนที่ "ดูเหมือนกัน" เป็นสมาชิกของกลุ่มที่มีบทบาทต่ำ แต่ให้ความสนใจและให้คุณค่ากับความแตกต่างที่เรามองไม่เห็นด้วย เช่น ภูมิหลังทางเศรษฐกิจ สถานะการย้ายถิ่นฐาน ความหลากหลายทางระบบประสาท และการศึกษา
ความหลากหลายในที่ทำงานหมายถึง การมีพนักงานที่มีภูมิหลังและชาติกำเนิดที่แตกต่างกัน ซึ่งหมายถึงความหลากหลายทางเพศ เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม และอื่นๆ นอกจากนี้ยังหมายความว่า องค์กรส่งเสริมความรู้สึกเป็นเจ้าของ (sense of belonging) ที่ทำให้ทุกคนรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของทีม
ตัวอย่างความหลากหลายในที่ทำงาน
มีตัวอย่างมากมายของความหลากหลาย (และการขาดความหลากหลาย) ในที่ทำงาน
ผู้คนมักติดนิสัยคิดถึงความหลากหลายเพียงหนึ่งหรือสองมิติโดยไม่รู้ตัว แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ คุณสามารถหาวิธีเพิ่มระดับความหลากหลายในทีม ในการตัดสินใจ ในการวางแผน หรือในการสนทนาได้ และนี่คือความหลากหลายในระดับต่างๆ ที่คุณเห็นได้ในที่ทำงาน:
ตัวแทนข้ามสายงาน (Cross-functional representation) ความหลากหลายระดับแรก (ที่เราเกือบจะมองข้ามไป) คือการเป็นตัวแทนข้ามสายงาน หากคุณมองไปรอบๆ แล้วเห็นแต่วิศวกร คุณจะรู้ว่านั่นคือปัญหา
บางองค์กรเรียกว่า “Cross Functional Management (CFM) หรือที่เรียกว่า “การบริหารทีมงานข้ามสายงาน” คือเครื่องมือที่สามารถเข้ามาช่วยให้การทํางานบรรลุเป้าหมาย ระบบการทํางานสมัยใหม่ที่ทําให้เกิดความคล่องตัวในการทํางาน ลดขั้นตอน ความยุ่งยาก ทําให้งานบรรลุตามเป้าหมายและยังเป็นการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับองค์กรและลูกค้าได้อีก
ความหลากหลายทางเชื้อชาติและเพศ จะเป็นเรื่องยากมากหากทีมงานที่มีหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดระดับชาติหรือระดับโลกขาดความหลากหลายทางเพศและเชื้อชาติ เพราะลูกค้าของคุณนั้นหลากหลายยิ่งกว่าในมหาสมุทร
สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ในสถานการณ์ทางอาชีพส่วนใหญ่ คนที่มีกลุ่มรายได้และความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกันอาจนำไปสู่การสูญเสียมุมมองเกี่ยวกับคุณค่า ราคา และความเกี่ยวข้องกัน หากมีแต่กลุ่มที่ใกล้เคียงกันกลุ่มอื่นก็จะไม่มีความหมายหรือถูกมองข้ามไป
ประสบการณ์การทำงาน นี่เป็นปัญหาสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเส้นทางอาชีพที่มีโครงสร้างหลากหลาย