ฝิ่นในสยาม
สมัยอยุธยาเป็นราชธานี ตลอดจนรัชกาลที่ 13 ฝิ่น เป็นสินค้าต้องห้าม ขณะที่จีนทำสงครามฝิ่นกับอังกฤษ สยามก็มีการกวาดล้างฝิ่นครั้งใหญ่ตั้งแต่ปราณบุรีไปถึงนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ตะกั่วป่าไปถึงถลาง
สมัยอยุธยาเป็นราชธานี ตลอดจนรัชกาลที่ 13 ฝิ่น เป็นสินค้าต้องห้าม ขณะที่จีนทำสงครามฝิ่นกับอังกฤษ สยามก็มีการกวาดล้างฝิ่นครั้งใหญ่ตั้งแต่ปราณบุรีไปถึงนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ตะกั่วป่าไปถึงถลาง
ปี 2382 เจ้าหน้าที่สามารถจับฝิ่นได้มากกว่า 3,700 หาบ ฝิ่นสุก 2 หาบ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสรับสั่งให้เผาฝิ่นที่หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ จนเหลือแต่กลักฝิ่นทำด้วยทองเหลืองจำนวนมาก จึงทรงโปรดให้นำมาหล่อเป็นพระพุทธรูปไว้ในศาลาการเปรียญที่วัดสุทัศน์ โดยได้รับพระราชทานนามว่า พระพุทธเสรฏฐมุนี
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าสยามคงไม่สามารถฝืนอิทธิพลของฝรั่งต่างชาติได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ฝิ่นเป็นสินค้าถูกกฎหมาย
ปี 2398 อังกฤษส่งเซอร์จอห์น บาวริง มาทำสนธิสัญญาบาวริง เพื่อให้คนในบังคับอังกฤษได้รับสิทธิภาพนอกอาณาเขต และฝิ่นเป็นสินค้าที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถนำเข้าได้โดยไม่จำกัดและไม่ต้องเสียภาษีขาเข้า
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฝิ่นทำรายได้ให้กับรัฐบาลเกือบ 10 ล้านบาท ปี 2481 มีการออกกฎหมายกำหนดบทลงโทษผู้ค้าฝิ่นเถื่อนมากขึ้น ปีต่อมาก็ออกใบอนุญาตส่งเสริมให้ชาวเขาใน จ.เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ปลูกฝิ่นส่งรัฐบาลถึง 1,401 ฉบับ
ปี 2487 ฝิ่นทำรายได้ให้รัฐบาลสูงถึง 21% หรือสูงกว่า 60 ล้านบาท
ปี 2452-2502 ไทยร่วมต่อต้านการค้าฝิ่น แต่ก็ไม่สามารถทำให้ฝิ่นหายไปจากดินแดนภาคเหนือของไทยได้
1 ก.ค. จอมพลสฤษดิ์ เผาฝิ่นกลางสนามหลวง
นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของอเมริกา ซีไอเอ ให้การสนับสนุนชนกลุ่มน้อยให้ผลิตและค้ายาเสพติดแลกกับอาวุธ นายทหารไทยและลาวคุมการแปรรูปของเฮโรอีน เฮโรอีนส่วนหนึ่งถูกส่งกลับไปอเมริกา
อเมริกาหนุนชนกลุ่มน้อยในพม่าสู้กับรัฐบาลพม่า และสนับสนุนกบฏชาวอาฟกันสู้กับการรุกรานของโซเวียตด้วยการปลูกฝิ่นซื้ออาวุธ
ข้อมูลจากหนังสือที่ชื่อว่า “หอฝิ่น” พิมพ์โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง