posttoday

ท้องดำ 2556

12 พฤษภาคม 2556

หน้าร้อนปีนี้เป็นอีกครั้งที่ผมเดินทางไปยังป่าเขานอจู้จี้ จ.กระบี่ เพื่ออัพเดทชีวิตล่าสุดของนกแต้วแล้วท้องดำ (Gurney’s Pitta) สัตว์สงวน 1 ใน 15 ชนิดของไทย

หน้าร้อนปีนี้เป็นอีกครั้งที่ผมเดินทางไปยังป่าเขานอจู้จี้ จ.กระบี่ เพื่ออัพเดทชีวิตล่าสุดของนกแต้วแล้วท้องดำ (Gurney’s Pitta) สัตว์สงวน 1 ใน 15 ชนิดของไทย

ไปถึงจึงรู้ว่าปีนี้พิเศษกว่าปีก่อนๆ ที่เคยมา เพราะนกที่ปรากฏตัวให้ถ่ายรูปเป็นนกตัวเมีย ที่ผ่านมาไม่เคยจะเป็นเช่นนี้ ถ้าไม่เจอเป็นคู่ ก็ต้องเป็นนกตัวผู้ตัวเดียว

ไกด์ดูนกท้องถิ่นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกอย่าง “โยธิน มีแก้ว” บอกกับผมว่า ปีนี้นกแต้วแล้วท้องดำตัวผู้หาตัวไม่ได้เลย โดยตัวเมียก็พบแค่ตัวเดียวเท่านั้น

ตัวผู้ตัวสุดท้ายที่เจอ ก็คือเมื่อเดือน พ.ค. 2555 หลังจากนั้นก็เงียบสนิทอย่างน่าใจหาย หรือว่ามันถึงเวลาสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยจริงๆ แล้วก็ไม่รู้?

ผมเองนับว่าโชคดีกว่านักดูนกอีกมากมาย อย่างน้อยก็ได้เห็นตัวจริงเสียงจริงของนกแต้วแล้วท้องดำมาแล้วหลายครั้ง ตั้งแต่ยุคที่วงการปักษีโลกปักป้ายสถานภาพมันไว้ว่า Critically Endangered หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต

จนกระทั่งมาลดสถานภาพดังกล่าวลง 1 ขั้น กลายเป็น Endangered หรือใกล้สูญพันธุ์ (เฉยๆ) หลังมีการค้นพบเผ่าพันธุ์ของนกแต้วแล้วท้องดำที่ประเทศพม่า ฝั่งตรงข้าม จ.ประจวบคีรีขันธ์

แต่ที่มันสวนทางกัน พอสำรวจพบนกพวกนี้ยังมีตัวเหลือที่พม่า พวกนกแต้วแล้วท้องดำของไทยกลับลดปริมาณลงไปทุกวัน ขนาดไกด์เจ้าถิ่นซึ่งมีประสบการณ์กับนกตัวนี้มาร่วม 20 ปี ก็ยังแทบหมดปัญญาจะหาตัวให้เจอ

นกพม่าก็มีบางอย่างน่ากังขา โดยขณะที่องค์กร Birdlife ประเทศอังกฤษ ประเมินจำนวนประชากรไว้ว่ามีอยู่นับหมื่นตัว

แต่เมื่อลองสอบถามไปยังบริษัทจัดทัวร์ดูนกในพม่า เขากลับให้ข้อมูลแย้งมาว่า จริงๆ แล้ว Gurney’s Pitta ของพม่าก็เหลือแค่ไม่กี่สิบตัวเท่านั้น

วิธีการนำจำนวนนกตัวอย่างที่สำรวจพบใน 1 พื้นที่ มาคูณกับพื้นที่ป่าแถวนั้นทั้งหมด จนได้ตัวเลขเป็นนกหมื่นตัว ไม่สอดคล้องกับความจริง ทางฝั่งพม่าว่ามาอย่างนี้

ที่ผมร่างๆ โปรแกรมไว้ว่าจะไปสำรวจนกแต้วแล้วท้องดำที่พม่า ก็เลยต้องพับไว้ก่อน