เปิดสาเหตุที่ "มานิตย์" หนุ่มพิการต้องทุบกระจกลิฟต์บีทีเอส
เปิดสาเหตุที่นายมานิตย์ อินทร์พิมพ์ นักรณรงค์เพื่อสิทธิผู้คนพิการ ทุบกระจกประตูลิฟต์ของสถานีบีทีเอสอโศก
เปิดสาเหตุที่นายมานิตย์ อินทร์พิมพ์ นักรณรงค์เพื่อสิทธิผู้คนพิการ ทุบกระจกประตูลิฟต์ของสถานีบีทีเอสอโศก
เมื่อวันที่ 12 มี.ค. กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงไปทั่วโลกออนไลน์ กรณี นายมานิตย์ อินทร์พิมพ์ นักรณรงค์เพื่อสิทธิผู้คนพิการ ได้ทุบกระจกประตูลิฟต์ของสถานีบีทีเอสอโศก พร้อมกับนำภาพมาโพสต์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม
ที่ผ่านมานายมานิตย์เรียกร้องเเละรณรงค์เรื่องการติดตั้งลิฟท์สำหรับผู้พิการมาเสมอ เขาบอกว่า ลิฟต์สถานีอโศกมีการออกแบบผิดพลาดเเละถูกล็อคไว้ตลอดเวลา ไม่มีเจ้าหน้าที่มาเปิดให้จึงตัดสินใจทุบกระจก
"ลิฟท์ถูกล็อคไว้ตลอดเวลา ไม่เคยถูกแก้ไขทั้งๆ ที่สามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดาย แต่ผู้ให้บริการเลือกการแก้ปัญหาด้วยการล็อคลิฟท์
คนพิการมีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ เดินทางได้ลำบากแล้ว เจออุปสรรคทุกๆ อย่าง ไม่เคยแก้ไข ลองมาเป็นคนพิการแบบผมดู"
นายมานิตย์ ระบุว่า "ลิฟท์แบบยาว" ความผิดพลาดในการออกแบบของ BTS ที่มีผลกระทบต่อผู้โดยสารที่จำเป็นต้องใช้
ตั้งแต่เริ่มสร้าง BTS บางสถานีมีการติดตั้งลิฟท์
ที่เรามาพบทีหลังว่าเป็นลิฟท์แบบยาว ที่สามารถขึ้นทะลุไปได้ทุกชั้น
ผลก็คือ ไม่สามารถควบคุมผู้โดยสารได้
กระทบถึงทั้งความปลอดภัยและการควบคุม จำหน่ายตั๋ว
สถานีต้องปิดลิฟท์ และเปิดเมื่อจำเป็นต้องใช้
และลิฟท์ตัวนี้ยังเป็นลิฟท์แบบเปิด(ไม่มีหลังคา) ทำให้ผู้โดยสารที่กำลังรอลิฟท์ต้องทนตากแดด ตากฝน
กดเรียก รอเจ้าหน้าที่มาเปิดลิฟท์ให้ และยังมีผลกระทบคือเจ้าหน้าที่ต้องมาคอยดูแล เปิด/ปิด ลิฟท์ตลอดเวลา
ที่สำคัญ เจ้าหน้าที่เองก็มีจำนวนจำกัด...
ภาพตัวอย่างนี้เป็นลิฟท์ BTS สถานีอโศก ฝั่งหน้าห้าง Terminal 21
ก็ยังดีที่จุดนี้มีลิฟท์(และทางลาด)อีก 1 ตัวอยู่ใกล้ๆ กัน
สามารถขึ้นไปชั้นจำหน่ายตั๋วได้
เป็นปัญหาที่ยังรอแก้ไข และผมเชื่อมั่นว่าความผิดพลาดจากการออกแบบเพียงเท่านี้ ยังมีแนวทางที่เหมาะสม สามารถจัดการได้โดยที่ไม่ต้องปิดลิฟท์ครับ
ภาพเเละข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Accessibility Is Freedom