ดร.ณัฏฐ์ ผ่าร่างแก้ไขรัฐธรมนูญฉบับเพื่อไทยลดอำนาจสว.สวนมติมหาชน
ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน ผ่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับเพื่อไทย เกมลับลวงพราง สับขาหลอกมีเป้าหมายลดทอนอำนาจสว.ให้อ่อนแอเพื่อนำไปสู่การออกแบบและจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ง่ายขึ้นแต่สวนทางมติมหาชน
ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน เปิดเผยว่า กรณีพรรคเพื่อไทย นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) ซึ่งแก้ไข มาตรา 256 และเพิ่มหมวดใหม่ ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการสภาฯแล้ว เพื่อให้พิจารณาบรรจุไว้ในวาระการประชุมร่วมรัฐสภาเนื้อหาที่พรรคเพื่อไทยประกบร่างของพรรคประชาชน มีลักษณะไม่แตกต่างกัน เป้าหมายเพื่อออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยตัดอำนาจของ สว.ออกไป
"เป็นเพียงเนื้อหาร่างเทคนิคสับขาหลอก ลับลวงพรางทางการเมือง เพื่อลดโทนความร้อนแรงและการต่อต้าน แต่เป้าหมายเดียวกัน จะเห็นได้ จากการเนื้อหาร่างฉบับเพื่อไทยและร่างของพรรคประชาชน ตัดหลักเกณฑ์ที่ต้องใช้เสียงสว. จำนวนไม่น้อย 1 ใน 3 และเสียงของสส.ฝ่ายค้านไม่น้อยกว่า 20% ออกจากระบวนการเพื่อลดทอนอำนาจของสว.ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอ่อนแอลง เพื่อออกแบบและจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ง่ายขึ้น"
หากพิจารณาจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ได้ระบุอย่างชัดแจ้งในความสัมพันธ์แห่งอำนาจ และระบบถ่วงดุลในเจตจำนงในการประชุมร่วมของ สส.และ สว. ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่ว่า
“การที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๖ (๑๕) บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มุ่งประสงค์ให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการใช้อำนาจของรัฐสภาโดยเฉพาะ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้กระบวนการใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาในกรณีดังกล่าวมีหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากการทำหน้าที่ในกระบวนนิติบัญญัติทั่วไป โดยมีเป้าหมายเพื่อปกป้องความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญแลรักษาความต่อเนื่องของรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ
กล่าวได้ว่า แม้รัฐสภามีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากแต่เป็นอำนาจที่ได้รับมอบมา ซึ่งถูกจำกัดทั้งรูปแบบ กระบวน เนื้อหา รัฐสภาจึงต้องทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเคร่งครัด โดยไม่อาจกระทำนอกขอบของหน้าที่และอำนาจที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ได้
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงต้องอยู่ในเงื่อนไขที่มีความผูกพันกับรัฐธรรมนูญฉบับเดิม ยึดโยงกับหลักการพื้นฐาน และให้เหมาะสมและสอดคล้องกับมติมหาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๑๕ เพียงบัญญัติให้สามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้เท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติให้จัดทำขึ้นใหม่ทั้งฉบับ”
จะเห็นได้ว่า เป้าประสงค์ของร่างฯประกบพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน ตัดอำนาจของ สว. มากกว่า ส่วนกรณีไม่จัดทำประชามติบางส่วน อธิบายได้ว่า ลดโทนความร้อนแรงการต่อต้านจากสังคม โดยเฉพาะ หมวด 2 พระมหากษัตริย์ เพียงแต่ร่างพรรคประชาชน ถอนยวง ตามมาตรา 256 (8) ทั้งหมด
ส่วนร่างฉบับพรรคเพื่อไทยต้องจัดทำประชามติทั้ง 3 กรณี คือ (1)แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 บททั่วไป (2)หมวด 2 พระมหากษัตริย์ และ(3) หมวด15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งย้อนแย้งกับพรรคเพื่อไทย ที่เป้าประสงค์ต้องการจัดทำประชามติในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพียงสองครั้ง
เนื้อหาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับพรรคเพื่อไทยและฉบับพรรคประชาชน จึงเป็นการหักอำนาจหรือตัดทอนอำนาจของสมาชิกวุฒิสภา ไม่ได้ยึดโยงกับหลักการเดิมและไม่สอดคล้องกับมติมหาชน แม้พรรคเพื่อไทยจะเสนอประกบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคประชาชนที่ประธานรัฐสภาได้บรรจุเป็นญัตติไว้แล้ว และเลื่อนการพิจารณาไปเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ก็ตาม
ส่วนเนื้อหาร่างฯ กรณีตัดเงื่อนไขของการนำไปออกเสียงประชามติก่อนการทูลเกล้าฯ ในมาตรา 256 (8) เรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจศาลหรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติหน้าที่หรืออำนาจได้ แต่ยังคงการให้ทำประชามติ ใน 3 กรณี คือ แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หมวด15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงเทคนิคเกมสับขาหลอกเพราะกระแสสังคมต่อต้านและไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วน
แม้พรรคเพื่อไทยจะเสนอร่างประกบให้เข้มข้นในการจัดทำรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 และ หมวด 2 ของรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้ พร้อมให้อำนาจรัฐสภาวินิจฉัยว่าหากมีการจัดทำเนื้อหาที่เป็นข้อห้ามดังกล่าวให้ถือว่าร่างรัฐธรรมนูญตกไป และให้ สสร. ต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วย เป็นเพียงสับขาหลอกเพราะเป็นกระบวนการภายหลังแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 265 เสร็จสิ้นแล้ว ไม่มีผลลบล้างสิ่งมติที่ประชุมรัฐสภา ทั้งเป็นการเขียนเสือให้วัวกลัวเท่านั้น
ประกอบการร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมวด 15/1 ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานว่า เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ จะต้องไปจัดทำประชามติสอบถามประชาชนก่อนว่าจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ แต่ไม่ใช่ว่า ตั้ง สสร.ก่อนแล้วไปสอบถามประชาชน เป็นการข้ามขั้นตอน ดังนั้น กระบวนการเสนอร่าง อาจเสนอและปรานรัฐสภา อาจบรรจุเป็นวาระการพิจารณาได้ แต่จะผ่านการพิจารณาของรัฐสภาหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่ง