posttoday

ถอดฉบับเต็ม"อุดม สิทธิวิรัชธรรม"ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คดียุบก้าวไกล

03 กันยายน 2567

กรณี นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวในการบรรยายโครงการเสริมสร้างความรู้สู่ประชาชน ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ที่เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี กรณียุบพรรคก้าวไกล โดยเนื้อหาทั้งหมด ดังนี้

ผู้ดำเนินรายการ  :  ศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทอย่างไรในกระบวนการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

ท่านอุดมฯ  :  เราต้องเข้าใจก่อนว่าสิทธิและเสรีภาพ  สิทธิก็ส่วนสิทธิ  เสรีภาพก็ส่วนเสรีภาพ สิทธิและเสรีภาพมันอาจจะมีโดยธรรมชาติตั้งแต่แรก  ตามที่กฎหมายกำหนดเช่นเดียวกับเสรีภาพ  มันอาจจะมีติดตัวเรามาตั้งแต่เกิดเช่นเดียวกับรวมทั้งที่กฎหมายกำหนด

ในขณะเดียวกันเราเกิดมาไม่ใส่เสื้อผ้าเป็นเรื่องธรรมดา  แต่พอตัวมาคุณต้องใส่เสื้อผ้า  อันนี้เป็นเรื่องตามกฎหมาย  เราเคยสบายๆ  มันเริ่มมีข้อจำกัดทางสังคม  พอไปทำงานที่คุณต้องแต่งตัว  มันก็กลายเป็นเรื่องของการถูกจำกัดโดยสถานที่ทำงานทางกฎหมาย  หรืออะไรต่างๆ ก็ตามแต่

เช่นเดียวกับสิทธิก็เหมือนกัน  สิทธิปกติของเราทางร่างกายตามกฎหมาย  อยากอยู่บ้านอยากอยู่ตรงนี้ก็ได้  แต่พอมีกฎหมายมา  หรือเราอยากไปไหนมาไหนโดยอะไรอย่างนั้นอย่างนี้  เขาอาจจะบอกตรงนี้เข้าไม่ได้ตรงนั้นไม่ได้อะไรอย่างนี้  หรือเราอยากจะไปไหนมาไหน   มันก็จะเลยสับสน  คำว่ารัฐธรรมนูญเดี่ยว ๆ มันก็หมายถึงรัฐธรรมนูญแก้ไขฉบับนี้  หรือรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ

แต่ถ้าเราใช้คำพูดว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ  มันก็หมายถึงแบบของวิชาในการเรียนรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ หรือของประเทศไทยในลักษณะโครงสร้าง  รูปแบบ  นี่คือกฎหมายรัฐธรรมนูญ  รัฐธรรมนูญก็คือรัฐธรรมนูญ  กฎหมายรัฐธรรมนูญก็คือเข้าไปในรายละเอียดเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ  ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อนให้เป็นพื้นฐานเดี๋ยวจะสับสนจริงๆ ในพื้นฐานสิทธิเสรีภาพ

ถ้าพูดถึงชุมชนหลักมันจะไปอยู่ที่หน้าที่ของรัฐ  เริ่มตั้งแต่มาตรา  ๕๐  ขึ้นไป  แต่ถ้าพูดถึงสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานทั่วไป  คือที่ท่านสังเกตว่ามีเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญ  มักจะพูดถึงมาตรา  ๒๕  ๒๖  ๒๗  วนกันอยู่  ๓  มาตรานี้  เวลาเขียนกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญมาตรานี้  มันจะอยู่ในพื้นฐานตัวนี้เป็นหลักทั่วไป  

ดังนั้น ท่านเปิดไปที่มาตรา  ๒๕  ตรงนี้เป็นพื้นฐานหัวใจของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย  คือ  เขาบอกไว้ว่านอกจากบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว  การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญ  ท่านไปอ่านดูแล้วกันให้เข้าใจคร่าวๆ ก่อน  มันมีทั้งหมด  ๔  วรรคด้วยกัน  ถ้าเกิดใครละเมิด  นี่คือพื้นฐานหัวใจในการที่จะบังอาจใช้สิทธิต่อสู้ต่อศาลอะไรอย่างนี้

ส่วนมาตรา  ๒๖ มันเป็นเรื่องของการกำหนดการที่รัฐหรือสภา  ออกกฎหมายอะไรก็ตามที่จะพยายามจำกัดสิทธิ  มันจะต้องคำนึงถึงหรือไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม  ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิ  มันก็เป็นเงื่อนไข  คุณออกได้  แต่คุณอย่าทำอย่างนั้นอย่างนี้นะ  พอมีคนบอก ผมถูกจำกัดสิทธิขัดรัฐธรรมนูญ  มาตรา  ๒๖  บางคนเขาก็สู้

นี่คือการใช้สิทธิในการเข้ามาสู่มาตรา  ๒๖  ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานทั่วไปเช่นเดียวกัน  พอมาในมาตรา  ๒๗  ก็เช่นเดียวกัน  บุคคลเสมอกันในกฎหมาย  มีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน  ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน  ตอนนี้ น.ส. ครับ  แต่ลูก  ๓  ครับ  ใช้ นาย  น.ส. ได้  จะใช้นามสกุลของเรา  สามี  ต่อท้ายก็ได้  ตอนนี้เรามีเพศสภาพเพิ่มอีก

แต่ในรัฐธรรมนูญ  มาตรา  ๒๗  เขาใช้คำว่า  ชายและหญิง  ตรงนี้ก็เถียงกันมาเยอะ  ตอนมาขอแก้ ปพพ.อย่างโน้นอย่างนี้  เราก็บอก ปพพ.เขาเขียนชายและหญิงถูกแล้ว  เพราะรัฐธรรมนูญเขาเขียนชายและหญิง  คุณจะมาแก้ ปพพ.ไม่ได้

เพราะ ปพพ. เขาได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ  แต่ศาลรัฐธรรมนูญเขาบอกให้คุณไปขอ  เราก็แนะนำให้ไปออกกฎหมายอื่น  ซึ่งตอนนั้นเราก็รู้แล้ว  เขาจะออก พรบ.เกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ  ซึ่งจะใช้เงื่อนไขเหมือนกันเลย

เพียงแต่ในความรู้สึกว่า  ฉันอยากอยู่ใน ปพพ.  มันก็เกิดปัญหา  และตอนนี้ชนะแล้ว  แก้ได้แล้ว  แต่ตอนนั้นเราบอกว่าไม่ขัด  แต่ตอนนี้คุณก็แก้มาแล้ว  เราก็ถือว่าไม่เกี่ยว  เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ตีความไม่มีหน้าที่ออกกฎหมาย  อาจจะตรวจสอบได้  เสนอแนะได้แค่นั้น  เช่นเดียวกับมาตรา  ๒๘  บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพ  การจับกุมก็เป็นเรื่องของ.(ฟังไม่ออก).....  การทรมาน  ทารุณกรรม  

ตอนนี้ก็มีออก พรบ.เกี่ยวกับการควบคุม  การทารุณกรรม  การสูญหาย  ส่วนมาตรา  ๒๙  เป็นเรื่องของการรับโทษทางอาญาทั่วๆไป  มาตรา  ๓๐  เป็นเรื่องของการเกณฑ์แรงงาน  มาตรา  ๓๑  เป็นเรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา  ประกอบพิธีกรรม  แต่อย่างไรก็ตามทุกอย่างมันจะมีเงื่อนไขอย่างหนึ่ง  ต้องไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ  ไม่ขัดต่อความสงบศีลธรรมอันดีของประชาชน

เช่นเดียวกับมาตรา  ๓๒  มีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว  เกียรติยศ  ชื่อเสียง  และครอบครัว  ในบ้านและเราอยากจะไม่ใส่เสื้อผ้าเดินเล่นในบ้านได้ไหม  ได้ครับ  แต่ถ้าท่านเดินออกมานอกบ้าน  ออกมาแถวรั้ว  มันจะเกิดปัญหาครับ  คนมองไปมองมา  อยู่ ๆ ท่านเปลือยกาย  ท่านทำอย่างนี้ทุกวันทุกเวลา  มันก็เกิดปัญหาขึ้นมา  อันนี้ก็คือเช่นเดียวกับเรื่องชื่อเสียง เกียรติยศ

อยู่ ๆ มาพูดโน่นพูดนี่  คุณถูกละเมิดสิทธิ  ก็ไปฟ้องศาล  ซึ่งรัฐธรรมนูญคุ้มครอง  ส่วนมาตรา  ๓๓ เสรีภาพในเคหสถาน  ท่านอยากจะต่อเติมบ้าน  ท่านคิดจะทำก็ทำไม่ได้  เขามี พรบ.ควบคุมเกี่ยวกับการก่อสร้าง  กำหนดสิทธิของท่านอยู่  เป็นการกำหนดเพื่อความปลอดภัยดูแลคนอื่นด้วย

มาตรา  ๓๔  เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  ท่านแสดงความคิดเห็นอะไรก็ได้  แต่ความคิดเห็นของท่านต้องไม่ไปกระทบสิทธิคนอื่น  มาตรา  ๓๕  ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน  คุณจะเสนอข่าวยัง  แต่บางทีมันก็มี พรบ.ควบคุมเกี่ยวกับกฎหมายการพิมพ์  

มาตรา  ๓๗  สิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก  ปรากฏว่าทางศาสนาอิสลามเขามีหลักเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายมรดกไว้  ซึ่งในประเทศไทยเรายอมใช้เรื่องของกฎหมายของอิสลามเกี่ยวกับเรื่องมรดกอยู่ในเขต  ๔  จังหวัด  แต่มันก็ว่าจะใช้ได้เลย  มันต้องมีเงื่อนไขว่า  คู่กรณีต้องยอมรับทั้งสองฝ่าย  เพราะใน  ๔  จังหวัด  เขาจะมีโต๊ะอีหม่าม  ทำหน้าที่เป็นดาโต๊ะยุติธรรม

แต่ล่าสุดให้ใช้กฎหมายอิสลามทั่วประเทศ  แต่รู้สึกกำลังอยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์รับฟัง ก็จะมีคนค้าน เพราะถ้าใช้ทั่วประเทศ  จริงอยู่อิสลามแต่ละจังหวัดมีมากมีน้อย  แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ  ถามว่าแต่ละจังหวัดจะมีคดีประเภทนี้มากไหม  มีน้อย  ถ้าเป็นอย่างนั้น  ทุกศาลของเราต้องหาดาโต๊ะยุติธรรมประจำศาล  มีคดีหรือไม่มีคดี  เงินเดือนได้หมด

มีคนเสนอว่า  พวกนับถือศาสนาอิสลามที่ไม่อยู่ใน  ๔  จังหวัดชายแดนภาคใต้  หากคุณอยู่ในพื้นที่นั้น  คุณต้องการจะใช้กฎหมายเรื่องครอบครองมรดกของคุณ  ให้คุณไปใช้สิทธิทาง  ๔  จังหวัดชายแดนภาคใต้เลยครับ  เราเขียนกฎหมายเท่านี้พอเลยครับ

หากมีผู้ประสงค์จะใช้อย่างนี้  ให้คดีนี้โอนไป  คุณจะไปจังหวัดไปจังหวัดคุณเลือกเลย  จะไปปัตตานี  ยะลา  นราธิวาส  สตูล  ดาโต๊ะจะได้ทำงานเยอะๆ  ทุกวันนี้ไปดูสถิติมันก็มีไม่มาก  ถ้าทำอย่างนี้สบาย  เพราะว่าคุณก็เสียลละตัวคุณเองไป  จะไปให้รัฐลงทุนมากมายมันก็ไม่คุ้มกัน  หรือว่าบอกว่าเอาดาโต๊ะมาได้ไหม  ดาโต๊ะเคลื่อนที่  มันก็เกิดปัญหาอีก  มันก็ทำได้  แต่ถ้าบอกให้มีทั่วประเทศ  มันไม่ไหวค่าใช้จ่ายมันเยอะ  

มาตรา  ๓๙  เรื่องนี้เราเคยมี  เขาบอกว่าการเนรเทศบุคคลสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร  หรือห้ามมิให้ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร  ทำไม่ได้  การถอนสัญชาติขอบบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิด  ทำไม่ได้  คดีที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีก็คือ  มันมีลูกครึ่งซึ่งเกิดในเมืองไทย  แล้วเขาก็ออกไปต่างประเทศ  ปรากฏว่าขอเข้ามา  มันมี List บัญชีดำขึ้นมา

เขาก็โวยวาย  ผมเป็นคนไทย  ผมจะขอเข้ามาเมืองไทย  ทางตรวจคนเข้าเมืองบอกว่า  ไม่ได้  ถ้าอย่างนั้นต้องมีการพิสูจน์สัญชาติว่าคุณเป็นไทยจริงหรือเปล่า  ผมจะเข้ามายังไง  เขาไม่ให้เข้า  เข้าไม่ได้  ผมจะเข้ามาพิสูจน์  ไปเอาหลักฐานการเกิดมาแสดง  เข้าไม่ได้  ก็มีการร้องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ  ระหว่างที่เรากำลังดำเนินการ  ทางตรวจคนเข้าเมืองเขาถอดใจ  ก็ให้เขาเข้ามาเลย

พอเขาเข้ามาก็ปกติ  คดีประเภทนี้  เราจะจำหน่ายแล้ว  เพราะที่จะไปบอกมันจบไปแล้ว  เขาได้เข้าแล้ว  แต่เราบอกว่า  แม้คดีมันจบ  แต่เราไม่จบ  เราจะวางหลักกฎหมาย ถ้าบุคคลนั้นมีสัญชาติไทยตั้งแต่เกิด  คุณจะเนรเทศเขาไม่ได้  ห้ามเขาเข้ามาก็ไม่ได้ แม้เขาจะทำความผิดอะไรจากที่อื่นประเทศอื่น  ซึ่งมี Backlist ก็ห้ามเขาเข้ามาไม่ได้  เราวางหลักตรงนี้ไว้  เป็นการคุ้มครองสิทธิของบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิด  

มาตรา  ๔๑  มันมีทั้งบุคคลและชุมชน  มีทั้งหมด  ๓  อนุมาตรา  ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารสำนัก  การเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐ  ฟ้องหน่วยงานรัฐซึ่งละเมิดอำนาจหน้าที่  ซึ่งมันจึงมีมาตรารองรับในเรื่องชุมชน  บุคคลมีเสถียรภาพ... (ฟังไม่ออก)....ชุมชน  การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้  รัฐธรรมนูญคุ้มครอง  จะรวมกันเป็นอะไร  สภา  รัฐสภา  หรือคณะรัฐมนตรี  อยากจะเสนอกฎหมาย  เพื่อไปฉบับเผยแพร่ตามคนอื่น  ทำไม่ได้นะ

เว้นแต่มันเป็นเงื่อนไข  โดยอาศัยอำนาจบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อคุ้มครองชุมชน  สาธารณะ  เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของนักการเมือง  มันเป็นลักษณะของการงดเว้นหรือทำได้  มันเป็นลักษณะที่การจะเข้าข้อยกเว้นจริงหรือไม่  ถ้ามีปัญหา  มันก็ต้องมาศาลรัฐธรรมนูญ  ที่ว่าเนี่ย  ไอ้คำอย่างนี้ใช่ไหม  ที่บอกมา... (ฟังไม่ออก)....ศีลธรรมอันดีของประชาชน  ประชาชนของใคร  เช่นเดียวกัน  ศีลธรรมอันดีของประชาชน  ประชาชนตรงไหน  ศีลธรรมชุมชนของชุมชนแต่ละชุมชนไม่เท่ากัน  

เมื่อก่อนมีชุมชนศีล ๕  หรือหมู่บ้านศีล ๕ แต่ชุมชนอื่นเขาไม่พูด  ก็แสดงว่าชุมชนนี้ไม่ใช่ศีล ๕  นี่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน  ดังนั้น  ถ้าชุมชนไหนมีปัญหามันก็ต้องมาดูกัน  มาตีความกัน  ก็เป็นเรื่องทีว่ากันไป  จริงๆ มีเยอะ  เพราะรัฐธรรมนูญเราจริงๆ หน้าที่ของรัฐคือจบไปมาตรา  ๖๓  ท่านไปอ่านดู  ไปศึกษาดู  ไม่เข้าใจมันมีหนังสือของรัฐสภาพิมพ์อยู่  จะเป็นคำนิยามอธิบายที่มาของรัฐธรรมนูญ

ซึ่งบางคนบอกนี่มันเป็นเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญเหรอ  ไม่ใช่  มันเป็นเรื่องของคนที่ทำหลังจากกรรมาธิการทำแล้ว  เขาก็จะพยายามจะขายให้เข้าใจว่าตรงนี้คืออะไรแล้วถามว่าศาลรัฐธรรมนูญเขาเอาตรงนี้มาใช้ไหม  ไม่ครับ  เจตนารมณ์คนร่าง  เจตนารมณ์คนตีความ  เพราะหลักกฎหมายเรามีอยู่อย่างเดียว  กฎหมายลายลักษณ์อักษรอ่านแล้วเข้าใจได้  แต่จะตีความอย่างไรก็อีกเรื่องนึง  ไม่ต้องไปดูเรื่องเจตนารมณ์

ถ้าเจตนารมณ์คนต้องการเขียนอย่างนี้  แต่คุณเขียนไม่ชัด  แล้วคุณจะบอก  เลยต้องมาดูเจตนารมณ์ฉันสิ ไม่จำเป็น  แต่ถ้ามันดูแล้วไม่ชัดจริงๆ ดังนั้น  ถ้าท่านเรียนนิติศาสตร์จะรู้เลยว่า  วิธีการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร  เราดู ที่ลายลักษณ์อักษรก่อน  อ่านเข้าใจได้ไหม  หญิงชายอ่านแล้วเข้าใจหญิงชาย  พอเริ่มมีการรับรองว่าชายแปลงชาติเป็นหญิง  ไอ้นี่เรียกว่าอะไร  นั่นก็เป็นเรื่องนึง   

ผู้ดำเนินรายการ  :  ที่วิจารณ์มาตลอด  คำว่า  กระบวนการตามนิติบัญญัติโดยชอบ  คำนี้ที่หลายคนพูดถึง ประชาชนอาจจะฟังแล้วไม่เข้าใจ  กระบวนการตามนิติบัญญัติโดยชอบ  คืออะไร

ท่านอุดมฯ  :  จริงๆ แล้ว มันก็ขึ้นตรงนี้  ทุกวันนี้เราไม่ต้องพูดถึงแล้ว  เพราะมันผ่านมาแล้ว  ทำไมแก้ไขกฎหมาย  ผิดเหรอ  ล้มล้างเหรอ  ศาลรัฐธรรมนูญไม่เคยบอกว่า  แก้ไขกฎหมายเป็นการล้มล้าง  ไปอ่าน
ในคำวินิจฉัยให้ดี  เราบอกเลยว่า  การแก้ไขกฎหมายในสภา  มันเป็นการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาอยู่แล้ว  คุณทำไปเลย

คุณจะทำยังไงทำได้  ถ้าสภาผ่านออกมา  มันต้องใช้บังคับได้  และต้องไม่มีคนสงสัยส่งให้ ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า อันนี้มันผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยชอบหรือเปล่า  คำว่ากระบวนการนิติบัญญัติโดยชอบ  มันก็คือกระบวนการในสภา  ไม่ใช่มีคนพูดว่า  โดยชอบของใคร  โดยชอบของศาลเหรอ  ศาลเราตีความเหรอ  มันโดยชอบโดยกระบวนการ

คำว่ากระบวนการโดยนิติบัญญัติคืออะไร  ท่านได้ยินไหมครับ  เสียบบัตรแทนกัน  กฎหมายลักหลับ  องค์ประชุมไม่ครบ  นี่แหละครับกระบวนการทางนิติบัญญัติที่ไม่ชอบ  ถ้าส่งมาการตรวจสอบกระบวนการ  รัฐธรรมนูญให้อำนาจหน้าที่เรา  ถ้าคุณไม่สงสัยกัน  คุณไม่ส่งมา  เราก็ไม่ยุ่ง  คุณก็ใช้กันไป  แต่ถ้ามีคนสงสัย  หรือมีคนบางคนชอบใช้สิทธิ  ซึ่งรัฐธรรมนูญเปิดไว้  ส่งมาถูกต้อง  เราก็ทำ  

ดังนั้น ในการบริการทางนิติบัญญัติโดยชอบก็คือ  

๑. คุณทำกันอยู่ในสภา  ผ่านสภาหรือไม่ผ่านสภา  ก็ผมทำไปสภา  ผ่านกันไป  ก็ว่ากันไปอยู่แล้ว  เราไม่เคยบอกว่าให้คุณทำนะ  แต่ที่คุณโดนคือเอานโยบายที่คุณจะแก้ตรงนั้นมาหาเสียง  ซึ่ง พรบ.พรรคการเมือง ซึ่งมันออกระเบียบเกี่ยวกับการหาเสียง  ห้ามนำเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ในการหาเสียง  เค้าใช้ว่าไม่ให้นำสถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ในการหาเสียง

ดังนั้น  ถามว่า  นโยบายที่คุณจะยกเลิก ๑๑๒  จะแก้ไข ๑๑๒  ตามโครงร่างที่คุณเคยเสนอ  มันใช่แก้ไขตัวจริงไหม  มันอะไรไว้ไหม  คุณอ่านเลยครับศาลรัฐธรรมนูญเขียนไว้หมด  ตีแผ่ความเห็นของคุณไว้หมดเลยว่า  คุณมีเจตนาซ่อนเร้นอะไร  และที่ล่าสุด  ผมรับผิดชอบคำพูดของผมต่อไปนี้  โดยส่วนตัว  เป็นเสียงข้างน้อยบ้าง  บางทีอยู่ในเสียงข้างมากแต่เป็นเสียงข้างน้อยในเสียงข้างมากก็มี

อย่างล่าสุด  ยุบพรรค  ... (ฟังไม่ออก)....การยุบพรรคมันไม่ควรเกิดขึ้น  มันรุนแรง  มันจะทำให้พรรค  สถาบันพรรคการเมืองอ่อนแอ  จริงเหรอ  ยุบ ๓ วัน ตั้งพรรค แต่ไม่ใช่ตั้งพรรคใหม่  คุณไปสวมรอยส่งคนไปฝังอยู่ในพรรคเก่า  ไอ้นี่เหรอคือวิธีการดำเนินการทาง

พรรคการเมืองโดยสุจริตและชอบธรรม  จริงเหรอ  ใช่ไหม  ขอถามแค่นี้  ท่านคิดดู  ไอ้การที่เราเห็นถึงขนาด  คุณยังบอกว่าคุณใสซื่อบริสุทธิ์  คุณจะทำพรรคการเมืองแบบคนรุ่นใหม่  เพราะคนรุ่นเก่า  บ้านใหญ่บ้านโน่นแย่  ผมจึงต้องถึงทำอย่างนี้  ไอ้ที่คุณทำใช่หรือเปล่า  พูดอย่าง... (ฟังไม่ออก)....

เขาเรียกว่ายุทธวิธี  พูดอย่างหยาบก็คือเล่ห์กลอุบาย  และถามว่า  ในการที่ศาลรัฐธรรมนูญสามารถมองเข้าไปลึกซึ้งเห็นถึงเบื้องลึกที่แท้จริง  และเอาออกมาชี้เป็นจุด ๆ  ว่า ไอ้สิงที่คุณกำลังทำนี้  มาอ้างแบบนี้  ในที่สุดมันจะไปสู่อะไร  มันไม่ใช่การคาดเดา  

มันเป็นสิ่งที่เห็นแล้ว  รัฐธรรมนูญบอกเลยว่า  อาจจะ  ทำไมบอกว่า ทำแล้วค่อยทำ  มันไม่มีเวลาทำ  แล้วค่อยมาทำ  มันสายเสียแล้ว  รัฐธรรมนูญเขาเลยบอกเรื่องนี้  มาตรา ๔๙  ขึ้นมาเพื่ออะไรครับ  เพื่อปกป้องสถาบันในการปกครองระบอบประชาธิปไตย  นี่คือการปกป้องระบอบประชาธิปไตย  ไม่ใช่ปกป้องพระมหากษัตริย์โดยตรงอย่างใด  เป็นการปกป้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

เพราะการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมันมีหลายประเทศ  แต่ประเทศเราจะเอาแบบที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข  ไอ้การที่คุณไปทำอะไรก็ตามในที่สุดแล้ว  มันอาจจะเปลี่ยนแปลงซึ่งทำให้พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเป็นพระประมุขในระบอบนี้  มันก็ไม่สามารถเรียกว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข  อาจเป็นระบอบประชาธิปไตยระบอบประธานาธิบดี  ระบอบพ่อข้าเป็น  ลูกข้าเป็น  น้องเขยข้าเป็น  ก็ได้  

จริงอยู่รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบางอย่างที่ผมไม่เห็นด้วย  ไม่ใช่ผมเห็นด้วยหมดนะทุกประการ  แต่พอผมมาทำหน้าที่นี้  ผมมีหน้าที่ทำตามตามที่เขาเขียนไว้  แต่ท่านไปดูเถอะ  ผมเขียนบางประการ  ในเรื่องซึ่งว่าคนเนี่ย  จะรู้เลยว่า  ผมมองระบอบประชาธิปไตย  ไอ้คำว่า  นายก  ควรเป็นแค่  ๘  ปี  แล้วพอแล้ว  ... (ฟังไม่ออก).... วิธีการทำ การที่คุณจะได้นายก  ๘  ปี  มันสำคัญว่า  เขาปกครองได้ดีไหม  ถ้าดีหมด  ๘  ปี  เราก็ให้เป็น  เห็นไหมครับ  บางเทศบาลนคร  หรือ... (ฟังไม่ออก)....

การเมืองไทยในสมัยก่อน  ในสมัยผมเด็ก  ผมโตมา  คนนี้เป็นนายก  จนผมโต  เขาก็เป็นนายกอยู่  ถ้าเขาไม่ดีจริง  เขาไม่ได้เป็น  แต่ถ้าบอกพอ  คุณเป็นแค่  ๘  ปีพอ  ๔  ปีพอ  แล้วก็หยุด  เขาต้องหยุด มันได้อะไร  จริงอยู่เขาอาจจะมีเรื่องการสึกหรอ แต่เบื้องหลังที่แท้จริง ถ้าผมมีเงิน  ผมเป็นนายทุน  ผมไม่ต้องลงไปเป็นนายกเองหรอก  ผมปั้นคนนี้เป็น  ผมคุมได้  พอหมด  ๘  ปี  ผมปั้นคนนี้ต่อ  เห็นไหม  ก็ทำได้  ไปอ่านคำวินิจฉัยส่วนตัว  ในเรื่องนายก  ๘  ปี  ผมเขียนไว้  ผมไม่ได้ด่าใคร  แต่อาจรู้ว่าผม... (ฟังไม่ออก)....ลึกๆ  

ผู้ดำเนินรายการ  :  ในช่วงที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญต้องเผชิญความท้าทายอย่างมากมาย  ในการตัดสินคดีในคดีต่างๆ  ในกรณีเรื่องการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  ในความท้าทายของศาลรัฐธรรมนูญ  ท่านคิดว่าเป็นอย่างไร  ศาลรัฐธรรมนูญมีความกดดันอย่างไร  และต่อไปในอนาคตท่านคิดว่าเป็นอย่างไรบ้าง  
 

ท่านอุดมฯ  :  คือจริงๆ มันเป็นอย่างนี้  ไอ้คำซื่อสัตย์สุจริตใจนี้  จริงอยู่ มันเป็นรูปนั้น  ใครจะมองใครจะคิด พฤติการณ์จะเป็นอย่างไง อะไรอย่างไง  อะไรที่เรียกว่าซื่อสัตย์สุจริต  เอาหละอย่างพึ่งพูด  คำว่าซื่อสัตย์สุจริตคำนี้คำเดียวมันเป็นคำกว้างๆ อ่อนไหว  มันต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงต่างๆ ด้วย  ในคดีนี้เราชี้แจงว่า  
เรื่องละเมิดอำนาจศาลเนี่ย  ข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างนี้นะ  

ข้อเท็จจริงละเมิดอำนาจศาลมันมีหลายอย่างนะครับ  การที่เข้าไปรบกวน  คนที่จะพิจารณา  ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล  คุณส่งเสียงในบริเวณศาล มันก็เป็นการรบกวนคนที่จะพิจารณา  นี่ก็เป็นการละเมิดอำนาจศาลเหมือนกัน  แต่ในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริตมันไม่ใช่  เราก็แยกแยะออกมาให้ฟัง  คุณละเมิดอำนาจศาล คุณไม่ซื่อสัตย์สุจริต  มันไม่ใช่  เราบอกว่าแล้วว่ามันขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง  และกันที่จะพิจารณาข้อเท็จจริงตัวนี้  

มันเป็นเรื่องคนทั่วไปคิด  ไม่ต้องว่าต้องเป็นนักกฎหมายคิด นักวิชาการคิด  เพราะว่าการที่เราจะดูการซื่อสัตย์สุจริต  มันไม่ใช่เรื่องทุจริต  เรื่องโกง  จะบอกไอ้เรื่องคนดีหรือคนไม่ดี  มันก็พูดยาก  บางคนพูดว่าไอ้เรื่องอย่างนี้มันต้องให้พวกเราตัดสินกันเอง  

ใช่คุณอาจจะบอกว่า  เฮ้ย  ไอ้ที่เราไปแจกเงินในห้องน้ำ  เรื่องปกติจบถูกไหม  เพราะเรายอมรับจริยธรรม
ของเราว่า  แจกเงินในห้องน้ำก่อนโหวต  เป็นเรื่องธรรมดา  กลายเป็นว่าคนตัดสิทธิก็ไม่เห็นดีตรงไหน  ก็ทำกันเป็นประจำ  แต่ถามว่าคนนอกรู้  แค่เรื่อง สว.ไปแจก... (ฟังไม่ออก)....

ทีหลังโวยวายกันจะตายเลย  ไม่ได้แจกเงินแท้ๆ ไอ้นี่ต่างหาก  มันอยู่ตรงนี้ อยู่ที่เงื่อนไข  ทีนี้มีบางคน ๓  เสียงเนี่ยหนักแน่นเลย  มาจากศาลฎีกาทั้งหมด  ตัวยืน  ก็คดีมันเกิดขึ้นที่ศาลฎีกา  ๓  คนนี้ศาลฎีกาทั้งนั้น  ต้องว่าแน่นอน  ท่านบรรจงศักดิ์  มาจากศาลปกครอง  ท่านจบด้านรัฐศาสตร์  นิติศาสตร์  ท่านไม่ได้มาจากศาลฎีกา  เขาบอกว่าเสียงแพ้ชนะอยู่ที่ท่านบรรจงศักดิ์  

ผมอ่านข่าวเมื่อเช้านี้  จริงๆ เขาเลิกคิดตั้งแต่ ๖๓ มาแล้ว  ระบบในพรรคพลาด  ตัวยืน ๔ คนในพรรค  มันจะแกว่ง  ก็แกว่งอยู่กันอยู่นี่แหละ  เดากันไปอย่างนี้  แต้มต่อไปเรื่อยเฉื่อย  ขนาดผมกำลังจะขึ้นไปพิจารณา  ผมยังยืนฟังแกอยู่เลย  กำลังจะขึ้นไปอ่าน  ฟังมันว่ายังไง  

เฮ้ย  มันยังไม่ลงตัวเลย  ทั้งที่เราถือผลอยู่ในมือแล้ว  ผมกำลังจะขึ้นอ่านในระหว่างนี้  รอเวลา  ผมถาม  เดี๋ยวช่วยฟังหน่อย  พิธีกรรายการเขาถามว่า  ในความเห็นของท่านนายก  รอดไม่รอด  ผมขึ้นไปบอกว่า  เฮ้ยเดี๋ยวช่วยบอกด้วยนะว่า  เดี๋ยวลงมา  ถามเขาว่ารอดไม่รอด  ผมขึ้นไปอ่าน  ลงมาถามเด็ก  เฮ้ยพิธีกรว่ายังไง  เขาบอกว่า  รอดครับ  จริงๆ จริยธรรมตัวนี้  มันก็ขึ้นอยู่บริบทแท้จริงของการที่เรามอง  

ไอ้สิ่งที่เกิดจากเราคิดว่าชอบ  คนอย่างนี้เราคิดว่าเราไว้ใจได้หรือว่า  คุณจะให้มาเป็นรัฐมนตรีเหรอ  เพราะไอ้นี่เป็นคุณสมบัติที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนขึ้นมาเป็นครั้งแรกเรื่องจริยธรรมก็เป็นครั้งแรก  แล้วคนร่างเขาวางหลักอะไรบ้าง  ทั้งหมดนี้เขากำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ  และองค์กรต่างๆ ให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นเจ้าภาพ  ตอนนั้นผมยังไม่ได้เข้ามา  

ผมบอกก่อน  ไอ้ตอนรัฐธรรมนูญฉบับนี้กับจริยธรรมเนี่ย  ผมเข้ามาในปี  ๖๓  นะครับ  เขาบอกอย่างนี้ครับ  ถ้าไม่สามารถร่างเสร็จภายใน  ๑  ปี  ยุบศาลรัฐธรรมนูญ  และองค์กรต่างๆ  คุณคิดดู  เขาคิดกันขนาดนี้  ต้องรีบทำ  ไปวางจริยธรรม ไม่ทำไปหมด  เขาวางถึงขนาดนี้  เราถึงมาบอกว่า  ไอ้คำว่าซื่อสัตย์สุจริตมันอีกตัวหนึ่ง  จริยธรรมอีกตัวหนึ่ง

จริยธรรมมันมีเรื่องซื่อสัตย์สุจริตอยู่เหมือนกัน  เราก็มาตีความนี่ใช่ไหม  มันไม่ถูกต้อง  มันมัดมือชกฝ่ายเดียว  ผมบอกเลยว่าที่ศาลฎีกาทำ  ถ้าท่านได้ไปอ่านท่านก็รู้  เขาเขียนรายละเอียด  เขาไม่มาตบโต๊ะเขามีการไต่สวนเหมือนกัน  มีการเรียกพยานมาสืบ  ดังนั้นเราไม่ได้คิดว่า  เหตุเกิดจากศาลฎีกา  ก็เอามาจากศาลฎีกา  เหตุเกิดจากที่อื่น... (ฟังไม่ออก)....

ถ้ามันเข้าถึงดังนั้นที่มาถามอย่างนี้  การซื่อสัตย์มองยังไง  มันต้องบอกเป็นเรื่องๆ ไป  คนดีคนไม่ดีเราก็มองต่างกัน  ตรงที่มันทำความผิด  ปล้นทรัพย์มาแจกชาวบ้าน  ชาวบ้านบอกว่าโจรดี เพราะว่าโจรเป็นคนแจก  แต่ไอ้คนโดนปล้นบอกว่าดีไหมหละ  มันดีของใครหละ  ดังนั้นที่เขาบอกให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย  

นี่ไงเขาบอกว่าตัวตนเนี่ยใครก็วินิจฉัยไม่ได้  ความซื่อสัตย์เนี่ย  ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการเขาคุยกัน  เขารู้ว่ามันยาก  คุณจะอธิบายยังไง มันก็ไม่ได้  มันก็บอกไปเลยให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความ  พอเราตีความก็บอกว่าอึ้ง   โทษศาลอีก

บางคนบอก  ดีที่สุดยุบศาลรัฐธรรมนูญ  ทุกอย่างก็ไม่มีปัญหา  ถูกต้องครับ  เพราะไม่มีคนตีความ  ผมบอกว่าแล้วแต่  จะเอายังไงก็ได้  เพราะว่าอีก  ๒  ปีผมก็ไปแล้ว  จะครบ  ๗  ปีแล้ว  ผมไม่ติดใจอะไรอย่างที่ท่านจิรนิติบอก  มันมาถึงตรงนี้  มันสุดแล้ว  มันไม่มีอะไรทำที่มันเพื่อหวังผลตำแหน่ง  มันไม่มีแล้ว  เรามาเรารู้ว่าเป็นเป้า  แต่เมื่อเราตั้งใจมาเราต้องพร้อมรับฟัง  เรามีโอกาสอธิบายตรงนั้นเอง

ปกติศาลจะไม่ทะเลาะกับใคร  คุณว่าๆไป  คุณด่าๆไป  เราไม่ฟัง  แต่คนชอบมาเล่าให้เราฟัง  อุตส่าห์ไม่ฟัง  ทำคดีมาเยอะ  เจอคู่ความทั้งสองฝ่าย  เพียงแต่คู่ความก็เป็นเรื่องการเมือง  กองเชียร์มาเยอะ  ญาติพี่น้องเยอะ  คดีในศาลรัฐธรรมนูญปีนึงเป็นร้อยคดี  แต่ไม่มีคนสนใจเลย

เรื่องกฎหมายขัดกันไหม  ตรงนี้ขัดรัฐธรรมนูญไหม  มีศาลต่างๆ ส่งมา  ออกข่าวมาไม่เคยอ่านเลย  แต่พอเป็นเรื่อง สส.  เรื่องรัฐมนตรี  ตามกันจัง  แล้วบอกทั้งปีตัดสินอยู่แค่นี้  ก็เอาทะเลาะกันแค่นี้  จะให้ทำอย่างไง  เอาทะเลาะกันเยอะๆ เดี๋ยวจะทำให้ดู

ผู้เข้าร่วม  :  มีการเรื่องเกี่ยวกับการร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรม  เวลาตรวจสอบว่า  ผู้ที่แจ้ง  ผู้ที่ร้องเรียนคือใคร  แต่เราได้รับการตอบครับว่าคนที่ร้องเรียนคือใคร  แต่ว่าทางหน่วยที่ร้องเรียนเขาพยายามจะให้ทางชุมชนให้ดำเนินการเรื่องนี้ให้เด็ดขาด  เพื่อเขาจะได้ไปบอกคนที่ร้องเรียน เราในฐานะที่เป็นชุมชน  โดยการประสานงานกับเทศบาล  ผมในฐานะทำหน้าที่ประธานผมก็อย่างทราบว่า  คนที่ร้องเรียนคือใคร  ผมจะได้คุยกับเขา  ระหว่างชาวบ้านกับผู้ร้องเรียน  แต่เขาไม่บอกครับว่าเขาเป็นใคร  พอมีวิธีการไหมครับ     

ท่านอุดมฯ  :  บอกตรงๆ เรื่องอย่างนี้มันเป็นหลักทั่วไป  ถ้าหากมีการเปิดเผยชื่อบุคคล  จริงอยู่ ถ้าเกิดเป็นการร้องเท็จ  มันก็ดูเป็นการเสียเวลาทำงาน  แต่ถ้าเป็นเรื่องจริง  คนที่เขาเปิดหน้าไปบอก  ต่อไปใครจะกล้า  มันก็มีในทางกฎหมายคุ้มครองพยาน  มันก็มีหมด... (ฟังไม่ออก)....ส่งมาให้ศาลปกครองเปิดเผยข้อมูลมีการสอบสวนว่าเป็นยังไง  มันก็มีบางอย่างซึ่งเขาเปิดแล้ว  อยากเปิดอีกๆ  เขาบอกว่าเปิดชื่อนี้เถอะ  ใช่เขาอยากดูว่าเป็นยังไง  แต่ ปปช.ก็มีบางส่วน  เขามีกฎหมายคุ้มครองเขาอยู่  

ดังนั้น  มันก็... (ฟังไม่ออก)....ใคร  ผมรู้ว่าข้างบ้านผมขายยาเสพติด  ผมจะไปเปิดได้เหรอ  ก็ไม่กล้า  แต่อยากให้ใครมาช่วยจับไปหน่อย  มันรำคาญ  วัยรุ่นขี่รถไปขี่รถมา  ถ้าปล่อยบ้านนี้ทั้งวันทั้งคืนไม่ต้องหลับต้องนอนอย่างนี้  อย่างน้อยตอนถูกร้อง  คนในหมู่บ้านนี่แหละ  ถูกไหม  ใครจะกล้าเปิด  ศูนย์ดำรงธรรมเขาก็มองอย่างนั้น  เอาเป็นว่า  สิ่งที่จะเกิดขึ้น  มันจริงไหม  ถ้ามันจริง  จะต้องแก้ไขอย่างไร  คุณอาจจะเรียกเขามาคุยกัน  ถ้าเป็นเรื่องอย่างเช่นว่า  จอดรถหน้าบ้าน  มันเปิดเผยคุยกันได้   แต่บางอย่างผมไม่ใจอย่างที่ท่านว่ามันเรื่องอะไร  ทำไมถึงไม่กล้าเปิด  
 

ผู้เข้าร่วม  :  เรื่องการปลูกต้นไม้หน้าบ้าน  การสัญจรไปมาลำบาก  ถามว่าผมชอบไหม  ผมชอบนะครับ  
ผมคิดจะเปิดหน้าคนเดียวผมก็ไม่กล้า  แต่ตอนนี้คนร้องเรียนไม่ใช่ผม  อยากเข้าไปหาวิธีช่วยกันแก้ไขครับ  
ท่านอุดมฯ  :
 ไม่เป็นไร  ถ้าเรารู้  ถ้าเกิดเคลียร์เจ้าของบ้าน  การวางของหน้าบ้านผิดกฎหมายอะไรไหม
เท่านั้นเอง  ใครจะร้องก็ชั่ง  แต่ถามว่าเราเห็นปัญหาจริงไหม  ปัญหาเกิดจริง  แต่ไม่ใช่ไปดู  บ้านก็ไม่เห็นมีอะไรอย่างที่ว่าเลย  แล้วจะมาเอา  แต่ถ้ามีจริง  เขาไม่ได้ร้องเล่นๆ  มันเกิดจริง  แล้วจะไปดูทำไมว่าใครร้อง  มันต้องแถวนั้นแหละ  ไอ้คนหมู่บ้านอื่นมันจะเดือดร้อนอะไร  ถูกไหม  

หรือว่าไอ้หมู่บ้านอื่นอาจจะมาหมู่บ้านผมเป็นประจำ  จอดรถไม่ได้สักที  มันนัดพักพวกกินเหล้าอยู่ที่บ้านเรื่อย  มาแล้วจอดรถไม่ได้  ผมเดา  แต่จริงๆ แล้วมันไม่น่าใช่  ท่านอย่าไปรู้เลยว่าใคร  เราก็ไปเคลียร์  คุณทำถูกต้องไหม  คุณปลูกต้นไม้คุณหลบหน่อยเขาลำบาก

อย่าไปให้เขาเดือดร้อนทะเลาะกันเลย  สงสัยก็เท่านั้นมันไม่เกิดประโยชน์  ถ้ามันไม่จริง  ใครนะทำให้เราเสียเวลา  นั่นอีกเรื่องหนึ่ง  แต่ว่าเขาอยากให้เราได้มีโอกาสเขาไปชุมชน  ไปดูบ้านว่ามีต้นไม้ไหม  ก็ถือว่าไปดูแลความสงบเรียบร้อย  เขาอาจจะบอกว่าผู้นำไม่ค่อยเข้ามาในซอยเรา  เลยร้องน้อย  ให้เข้ามาดูหน่อย

ผู้เข้าร่วม  :  กรณีที่พรรคการเมืองทำผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ  และก็การที่ศาลมี
คำพิพากษาสั่งยุบพรรคไปแล้ว  ตรงนี้อย่างฟังความเห็นท่านว่า  ประเทศไทยเราควรที่จะมีกฎหมาย
อาจจะต้องที่ยึดทรัพย์สินของพรรคการเมืองหรือคณะกรรมการบริหารพรรค  ตรงนี้ท่านคิดเห็นอย่างไรบ้าง  เพราะว่าที่ผ่านมามีการยุบพรรค  ก็ไปตั้งพรรคใหม่  ตรงนี้ก็อยู่ในวังวนเดิม  
 

ท่านอุดมฯ  :  จริงๆ ศาลรัฐธรรมนูญๆ ยุบมาเยอะ  แต่ไม่เป็นข่าว  เพราะว่ามันไม่ทำตามกติกาของกฎหมายพรรคการเมือง  เช่น มันทำบัญชีอะไรอย่างนี้  มันสามารถให้ทางกกต.เสนอมา  หรือบางทียุบพรรคตัวเองยังมีเลย  พรรคเขาไม่สามารถบริหารได้  ต้องยุบ  ยุบโดยชอบด้วย  ไอ้นี่คือวิธีการที่ว่า  ใครอ่านกฎหมายรู้  ใครดูกฎหมายเป็น  รู้ช่อง  แต่เขาก็เสี่ยงนะ  เขาทำไปก็ถูกร้อง  เหมือนอย่างตอนนี้  ก็จะมีปัญหาคือ  อยู่ ๆ พรรคคุณถ้าไม่จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ  เขายังไม่ออก  ให้คุณไปรับเงิน  คุณออกในนามพรรค  คุณยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อเลย  อ้าวผมใช้บัญชีเดิม  เขากำลังตรวจสอบบัญชีเดิมของพรรค  มีการทำจริงหรือเปล่า  หรือคุณกำลังเปิดบัญชีใหม่  

จริงๆ ต้องขอบคุณพวกผมนะ  การยุบพรรคพวกเขา  เขาได้เงินตั้งกี่ล้าน  ภายใน  ๒  วัน  เข้าไปยุบเนี่ย  เขาร้องได้ฟรีเลย  ก่อนหน้านั้นเงินไม่มีนะ  ต้องขอบคุณพวกผมทำให้เขามีเงิน  ๒๐ ล้าน ๓๐  ล้าน  ใช่ไหม  สมาชิกเก่ากำลังเข้าไปจดทะเบียนสมาชิกตามไปด้วย  ก็ไม่เห็นมันเดือดร้อนตรงไหนเลย  

พรรคที่จดทะเบียนอยู่ในตอนนี้ในทะเบียนพรรคการเมืองของ กกต. มีมากกว่านี้นะครับ  ที่มีทั้งที่มี สส. และไม่มี สส.  แต่ดำเนินกิจการอยู่  หรอกขายหัว  เพราะจะร่วมอุดมการณ์เดียวกับเขาเมื่อเขาต้องการเอาของเราไปทำกับหัวหน้าพรรคยินดี  ทำได้  ทำไปแล้ว  ไม่มีอะไร  ใช่ไหม  บริสุทธิ์  โปร่งใส  เป็นธรรม

ผมผ่านหลักสูตรคกก.การเลือกตั้งแล้ว  หลักสูตรของการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง  ทำให้ผมรู้อะไรเยอะ  มันก็เลยมีพรรคพวกเป็นนักการเมืองเยอะแยะ  ฟังเรื่องนั้น  ฟังเรื่องนี้  เรื่องจริงบ้างเจ๊งบ้าง  แต่มันก็ได้ความรู้  ทำให้ผมนำมาปรับใช้ในการทำงานได้บางอย่าง  บางอย่างผมก็สงสัยก็โทรถามมันเป็นไปได้ไหม  มันไม่ปรากฏเรื่องก็ไม่เป็นเรื่อง  พอปรากฏเรื่องเป็นเรื่องก็โวยวาย  

ทุกวันนี้มันก็แล้วแต่มุมมอง  คนเชียร์ก็เชียร์สุดใจขาดดิ้น  ฟังสั้นๆ พอแล้ว  รู้ว่าไม่ควรยุบ  แต่ยุบเพราะอะไร  เขาไม่สนใจ  ยุบปั๊ปไปเปิดพรรคใหม่ได้  ไม่เข้าใจเขา  เมื่อวานร้องไห้อยู่  อย่างโน้นอย่างนี้  สองวันรู้เรื่อง  จากน้ำตาเป็นเสียงหัวเราะ  ยักไหล่แล้วไปต่อเงินยี่สิบล้าน