'วัชระ'ขอบคุณศาลฎีกาไม่จำคุกคดีหมิ่นสนช.ชัชวาลปมงบไอทีรัฐสภาแห่งใหม่
'วัชระ เพชรทอง' อดีตสส.ประชาธิปัตย์ ขอบคุณศาลฎีกา เห็นพ้องคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์ ไม่จำคุกคดีหมิ่นฯสนช.“ชัชวาล อภิบาลศรี”ปมงบไอที การก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่
เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2567 นายวัชระ เพชรทอง อดีตสส.พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางไปฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมายเลขดำที่ อ.838/2561นายชัชวาล อภิบาลศรี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวัชระ เป็นจำเลยคดีหมิ่นประมาท กรณี ให้ข่าวเรื่องการเสนอใช้งบประมาณไอทีจาก 3,000 ล้านบาท ไปเป็น 8,000 ล้านบาท ในการก่อสร้างรัฐสภาใหม่พาดพิงนายชัชวาลโจทก์
นายวัชระ กล่าวว่า ถ้าศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุกก็พร้อมเดินเข้าเรือนจำเราเคารพในคำพิพากษาของศาลทุกประการ
ทั้งนี้ คำพิพากษาศาลฎีกา สรุปว่า เมื่อพิจารณาความเห็นของจำเลยเกี่ยวกับโจทก์ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ไม่ใช่การติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ทั้งจำเลยก็นำสืบไม่ได้ว่าเป็นความจริง คงกล่าวอ้างว่าเป็นคำล้อเล่น จำเลยจึงมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นฟ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อต่อไปมีว่า กรณีมีเหตุที่จะลดโทษและรอการลงโทษให้แก่จำเลยหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า จำเลยต่อสู้คดีมาตลอด แต่จำนนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่มีเหตุที่จะลดโทษให้ จำเลยเคยกระทำความผิดเช่นนี้มาแล้ว เข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดซ้ำ
ศาลอุทธรณ์อ้างเหตุว่าจำเลยกระทำความผิดเพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศไม่ได้ แม้จำเลยจะไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่ก็ไม่เป็นเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย จำเลยไม่สำนึกในการการกระทำความผิดของตนเอง ไม่สมควรได้รับการลดโทษและรอการลงโทษ
ปัญหาข้อนี้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า คดีมีเหตุสมควรรอลงโทษให้แก่เลย เห็นว่า ในส่วนของการลดโทษให้จำเลยนั้น ที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้โดยเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการพิจารมาเหลือยู่บ้าง แต่เมื่อศาลอุทรรณ์เห็นว่าจำเลยรับ ข้อเท็จจริงบางเรื่องและนำสืบถึงข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีอีกด้วย จึงมีเหตุที่จะลดโทษให้จำเลยเพิ่มขึ้นเป็นกึ่งหนึ่ง
สำหรับเรื่องรอการลงโทษให้จำเลย เมื่อพิจารณานวนโทษจำคุกที่กำหนดไว้แล้ว ยังไม่เหมาะสมที่จะจำคุกจำเลย เพราะไม่เกิดผลและตัวจำเลยแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลดโทษและรอการลงโทษแก่จำเลยมา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และจำเลยข้อสุดท้ายมีว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในส่วนแพ่งเพียงใด โดยโจทก์ฎีกาให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ส่วนจำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด จึงไม่ต้องรับผิดในส่วนแพ่งต่อโจทก์ ซึ่งปัญหาข้อนี้ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยเรื่องการกำหนดจำนวนค่าเสียหายและวันเริ่มต้นต้นคำนวณดอกเบี้ย คงกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเห็นว่า เมื่อคดีรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิด 3 กระทง การกำหนดค่าเสียหายเป็นเงิน 500,000 บาท ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยแล้ว