posttoday

เปิด 2 ร่างกฎหมาย "พรรคประชาชน" เข้าสภาฯ สัปดาห์นี้

15 มกราคม 2568

2 ร่างกฎหมาย "พรรคประชาชน" พ.ร.บ. ล้มละลาย - พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน เข้าสภาฯ สัปดาห์นี้

1)ร่าง พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. ...

ผู้เสนอ : วรภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน

ปัญหาและที่มา

ปัจจุบันประชาชนต้องเผชิญกับขั้นตอนการอนุญาตที่ไม่จำเป็นมากมาย ทำให้กระบวนการเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงการพิจารณาต้องอิงการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการอนุมัติ อนุญาต

ซึ่งเสี่ยงนำไปสู่การทุจริตและประพฤติมิชอบ

 

แนวทางแก้ไข

1. เพิ่มกลไกทบทวนใบอนุญาตอย่างสม่ำเสมอ

- ทบทวนทุกกระบวนการขอใบอนุญาตอย่างน้อยทุก 5 ปี

- หน่วยงานจัดทำคู่มือประชาชนสำหรับทุกกระบวนการขอใบอนุญาต รวมถึงกรอบระยะเวลาในการพิจารณาใบอนุญาต โดยต้องทบทวนคู่มืออย่างน้อยทุก 2 ปี

 

2. เพิ่มความสะดวกและลดระยะเวลาในการขอใบอนุญาต

- เปิดให้มีซ่องทางพิเศษแบบเร่งด่วน (fast track) โดยมีค่าธรรมเนียมพิเศษ

- กำหนดให้คำขอมีผลบังคับใช้เหมือนใบอนุญาตทันที (auto approve) หากไม่แจ้งผลการพิจารณาภายในกรอบเวลาที่ระบุในคู่มือ

- เปิดให้มีการต่ออายุใบอนุญาตผ่านการชำระค่าธรรมเนียม โดยไม่ต้องยื่นคำขอต่ออายุ

 

3. ลดความซ้ำซ้อนในการขอใบอนุญาต

- ใช้ Master License ใบอนุญาตหลักจะครอบคลุมใบอนุญาตรอง เช่น การขออนุญาตประกอบกิจการโรงแรมขนาดเล็ก สามารถเริ่มกิจการได้ทันทีหลังได้รับใบอนุญาตหลัก ส่วนใบรองจะดำเนินการตรวจสอบภายหลัง

 

4. จัดตั้งศูนย์รับคำขอกลาง รวมขั้นตอนการยื่นคำขอ จ่ายค่าธรรมเนียม และยื่นคำอุทธรณ์ไว้ในจุดเดียวดำเนินการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

เปิด 2 ร่างกฎหมาย \"พรรคประชาชน\" เข้าสภาฯ สัปดาห์นี้

2)ร่าง พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ...

ผู้เสนอ : วรภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน

ปัญหาและที่มา

ปัจจุบันปัญหาหนี้สินครัวเรือนอยู่ในขั้นวิกฤต ลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อม (SMEs) จำนวนมากประสบปัญหาขาดสภาพดล่องทางการเงินชัวคราว และไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้

 

แนวทางแก้ไข

1.สร้างกระบวนการขอฟื้นฟูกิจการและฟื้นฟูฐานะเพื่อเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทุกรายพร้อมกันได้ โดยไม่ต้องรอให้เข้าสู่กระบวนการล้มละลายก่อน จากเดิมลูกหนี้ต้องวิ่งเจรจากับเจ้าหนี้แต่ละรายทำให้ไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้

 

2.เพิ่มสิทธิลูกหนี้ SMEs ขอฟื้นฟูกิจการได้ง่ายขึ้นกว่ากฎหมายเดิม

- เช่น ขยายเพดานหนี้ที่จะนิยามเป็น SMEs จากเดิมยอดรวมหนี้ไม่เกิน 10 ล้านบาท เป็น 50 ล้านบาทเพื่อให้ครอบคลุม SMEs ได้มากขึ้น

 

3.เพิ่มหมวดฟื้นฟูฐานะบุคคลธรรมดา เพิ่มสิทธิให้ลูกหนี้บุคคลธรรมดา ยื่นขอฟื้นฟูฐานะหรือยื่นขอพื้นฟูหนี้สินได้เหมือนลูกหนี้ SMESคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้

- เช่น เจ้าหนี้เกินกึ่งหนึ่งต้องเห็นชอบแผนฟูกิจการ/ฟื้นฟูฐานะ และเจ้าหนี้ต้องได้รับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูไม่น้อยกว่ากรณีลูกหนี้ล้มละลาย