ปตท. ผนึก ม.ศิลปากร จัดประกวดศิลปกรรม ชิงรางวัลร่วม 1 ล้านบาท
ปตท. จับมือ ม.ศิลปากร จัดประกวดครั้งที่ 38 หัวข้อ "จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต" เปิดให้ระดับเยาวชน และ ประชาชนทั่วไป ส่งผลงานชิงรางวัลรวมเกือบ 1 ล้านบาท ส่งทางไปรษณีย์ ตั้งแต่ 5 มิ.ย. 66 (ผลงานต้องส่งถึงจุดรับผลงานไม่เกิน 21 มิ.ย. 66) ส่งด้วยตัวเองวันที่ 12 - 18 มิ.ย. 66
ปตท. จับมือ ม.ศิลปากร จัดประกวดศิลปกรรม ครั้งที่ 38 หัวข้อ "จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต" เปิดให้ทั้งระดับระดับเยาวชน และ ประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าประกวด ชิงรางวัลรวม เกือบ 1 ล้านบาท เปิดให้ส่งทางไปรษณีย์ ตั้งแต่ 5 มิ.ย. 66 (ผลงานจะต้องส่งถึงจุดรับผลงานไม่เกินวันที่ 21 มิ.ย. 66) ส่งด้วยตัวเองระหว่างวันที่ 12 - 18 มิ.ย. 66
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทด้านพลังงาน ที่มุ่งมั่นทุ่มเทการดำเนินงานเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณภาพ ส่งเสริมชุมชนให้มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน มาตลอด 4 ทศวรรษ โดยเน้นใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญขององค์กร มาพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม ต่อยอดเพื่อสร้างประโยชน์กับชุมชนและสังคม
โดยในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนทั้งโลกไปโดยสิ้นเชิง เมื่อความท้าทายของโลกอนาคต คือ การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาดคิดในทุกมิติ ซึ่งประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงฟื้นฟูหลังวิกฤตโควิด-19 คนทุกรุ่น ทุกสาขาอาชีพ และทุกภาคส่วนเริ่มกลับมามีพลังกายและพลังใจ ปรับตัว ลุกขึ้นใหม่พร้อมความหวังอีกครั้ง
แม้ว่าคำถามและข้อสงสัยเรื่องการดำเนินชีวิต การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ บริบทของประเทศ รวมถึงการขับเคลื่อนอนาคตของตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศ และโลกหลังวิกฤตโควิด-19 จะไม่ได้มีคำตอบที่สมบูรณ์แบบและไม่รู้ว่าจะต้องเจอกับวิกฤตอีกเมื่อไร แต่เชื่อว่าทุกคนพร้อมเผชิญกับความท้าทายและเดินหน้าต่อไปด้วยความหวัง
ในปี 2566 ปตท. ก้าวเข้าสู่ปีที่ 45 ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติที่อยู่เคียงข้างคนไทยข้ามผ่านวิกฤตมาหลายครั้ง ครั้งนี้ถือเป็น "ความท้าทาย" และ "โอกาส" ในการพัฒนาธุรกิจพลังงานและริเริ่มธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงานเพื่อ "จุดพลังชีวิต ขับเคลื่อนอนาคต" พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อมมอบคุณค่าตอบแทนสังคม พัฒนาศักยภาพความยั่งยืนของธุรกิจ ด้วยความหวังที่จะเห็นทุกคนกลับมามีพลัง “ข้ามผ่านวิกฤตหลังโควิด-19” ครั้งนี้ไปพร้อมกัน
และในปี 2566 นี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมเป้าหมายดังกล่าว ปตท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมการประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 38 ในหัวข้อ "จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต" ขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้ศิลปินทุกระดับมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสนับสนุนการพัฒนาวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย และเพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปิน เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้ร่วมถ่ายทอดเล่าความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ในช่วงชีวิตเดียวกันที่ผ่านมาพร้อมความหวังในการขับเคลื่อนไปสู่อนาคต ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นจดหมายเหตุของประเทศในรูปแบบของงานศิลปะ ผ่านผลงานศิลปะทุกประเภท ทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ แบ่งการประกวดเป็น 2 ระดับ คือระดับเยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยได้วางระเบียบการประกวด ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pttplc.com
หัวข้อการประกวด "จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต"
ประเภทศิลปกรรม ได้แก่ ผลงานประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และผลงานสร้างสรรค์ทางด้านทัศนศิลป์อื่นๆ
คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
1. เป็นบุคคลสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
2. เป็นผู้สร้างสรรค์ศิลปกรรมที่ส่งเข้าประกวดด้วยฝีมือและความคิดของตนเองและเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่เข้าประกวด ซึ่งจะต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของบุคคล หรือบริษัทอื่นใด
3. เป็นผลงานที่ไม่เคยเข้าร่วมประกวดที่ใดมาก่อน
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้
1. ระดับเยาวชน มี 3 กลุ่ม
- กลุ่มอายุต่ำกว่า 9 ปี (แจ้งเกิดตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2557)
- กลุ่มอายุ 9 - 13 ปี (แจ้งเกิดตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2557)
- กลุ่มอายุ 14 - 18 ปี (แจ้งเกิดตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2547 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2552)
2. ระดับประชาชนทั่วไป (แจ้งเกิดก่อนวันที่ 12 มิถุนายน 2547 เป็นต้นไป)
ขนาดผลงาน
ระดับเยาวชน ต้องมีขนาดผลงาน ดังนี้
- กลุ่มอายุต่ำกว่า 9 ปี และกลุ่มอายุ 9 - 13 ปี จะต้องส่งผลงานที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 40 x 60เซนติเมตร หรือ ไม่ต่ำกว่าขนาด A2 และไม่เกิน 60 x 80 เซนติเมตร หรือไม่เกินขนาด A1ไม่รวมกรอบหรือฐาน
- กลุ่มอายุ 14 - 18 ปี จะต้องส่งผลงานที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 60 x 80 เซนติเมตร และมีความกว้าง ความยาว หรือความสูง ไม่เกิน 100 เซนติเมตร ไม่รวมกรอบหรือฐาน
ระดับประชาชนทั่วไป ต้องมีขนาดผลงาน ดังนี้
- ผลงานจิตรกรรม ภาพพิมพ์ หรือผลงานเทคนิคอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผลงาน 3 มิติ จะต้องมีขนาดผลงาน โดยมีความกว้าง ความยาว หรือ ความสูงไม่เกิน 200 เซนติเมตร รวมกรอบ หรือฐาน
- ผลงานประติมากรรม หรือสื่อ 3 มิติ จะต้องส่งผลงานที่มีขนาดรวมแท่น ฐาน และกรอบ(กว้าง x ยาว x สูง) ด้านละไม่เกิน 150 เซนติเมตร
4. งานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย พร้อมที่จะติดตั้งได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินจะพิจารณาคัดเลือกเฉพาะผลงานที่มีคุณภาพและเหมาะสมเข้าร่วมแสดงผลงานคณะกรรมการดำเนินงานจะระวังรักษาผลงานที่เข้าประกวดอย่างดีที่สุด ยกเว้นความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเหตุสุดวิสัย
5. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดตกลงให้ ปตท. มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวตลอดระยะเวลาแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือ นำผลงานของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานของ ปดท. โดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งนี้ ผู้ส่งผลงานเช้าประกวดตกลงที่จะไม่ให้สิทธิแก่บุคคลอื่นในการดำเนินการข้างต้น โดยผู้ส่งผลงานเข้าประกวดตกลงให้เอกสารใบสมัครนี้เป็นหนังสืออนุญาตให้สิทธิแก่ ปตท. ตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (ในกรณีที่เป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายในการยื่นเอกสารการรับสมัคร)
รางวัลพร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
1. ระดับเยาวชน แบ่งรางวัลในแด่ละกลุ่ม ดังนี้
กลุ่มอายุต่ำกว่า 9 ปี
รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินรางวัล 10,000 บาท
รางวัลดีเด่น 5 รางวัล รางวัลละ 7,000 บาท
กลุ่มอายุ 9 - 13 ปี
รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินรางวัล 15,000 บาท
รางวัลดีเด่น 5 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท
กลุ่มอายุ 14 - 18 ปี
รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินรางวัล 20,000 บาท
รางวัลดีเด่น 5 รางวัล รางวัลละ 15,000 บาท
2. ระดับประชาชนทั่วไป
รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินรางวัล 200,000 บาท
รางวัลดีเด่น 5 รางวัล รางวัลละ 100,000 บาท
และได้รับสิทธิ์ในการจัดนิทรรศการแสดงผลงานที่หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา ภายใต้เงื่อนไขที่ ปตท.กำหนด
การส่งผลงาน
1. ส่งทางไปรษณีย์ โดยให้เริ่มส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไปทั้งนี้ ผลงานจะต้องส่งถึงจุดรับผลงานไม่เกินวันที่ 21 มิถุนายน 2566 เท่านั้น หากผลงานมาถึงเกินวันที่ที่บริษัทฯ กำหนด ขออนุญาตตัดสิทธิ์ในการลงทะเบียนสมัครการประกวดฯ ครั้งนี้
2. การจัดส่งผลงานทางไปรษณีย์ จะต้องแนบใบสมัครฉบับจริงใส่ซองมาพร้อมกับผลงาน ส่งไปที่ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000 เท่านั้น หมายเลขโทรศัพท์ 09 6782 0748
3. ส่งผลงานด้วยตนเอง พร้อมใบสมัครฉบับจริง
- ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ 6 รอบพระชนมพรรษา ชั้น 1 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โทร. 09 7242 9333, 09 6782 0748 ระหว่างวันที่ 12 - 18 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 - 16.00 น.
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา โทร. 0 7431 7619 ระหว่างวันที่ 12 - 18 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 - 16.00 น.
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี โทร. 0 3810 2222 ต่อ 2510 ระหว่างวันที่ 12 - 17 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 - 16.00 น.
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โทร. 08 5002 5455 ระหว่างวันที่ 12 - 18 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 - 16.00 น.
- หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0 5321 8280, 0 5394 4833 ระหว่างวันที่ 12 - 18 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 - 16.00 น.
ตัดสินการประกวด
วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน 2566
ประกาศผลการตัดสิน
ประกาศผลเป็นทางการในวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ทาง www.pttplc.com