posttoday

พูดกันมานานว่า ประเทศไทย “กำลังจะ..” เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

02 กุมภาพันธ์ 2567

พูดกันมานานว่า ประเทศไทย “กำลังจะ..” เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย แต่ในข้อเท็จจริง เราได้ก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” หลังจากประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีมากกว่า 20% ตั้งแต่ปี 2565 โดยข้อมูลจาก ม.มหิดล ระบุว่า ประชากรไทย ณ ขณะนั้น 66 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุถึงกว่า 13 ล้านคน

พูดกันมานานว่า ประเทศไทย “กำลังจะ..” เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

          👴พูดกันมานานว่า ประเทศไทย “กำลังจะ..” เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย 👵แต่ในข้อเท็จจริง เราได้ก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” เต็มตัว มาสักพักแล้ว หลังจากประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีมากกว่า 20% ตั้งแต่ปี 2565 โดยข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล ระบุว่า ประชากรไทย ณ ขณะนั้น 66 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุถึงกว่า 13 ล้านคน เมื่ออายุมากขึ้น หนึ่งในปัญหาที่จะตามมาแน่ๆ คือร่างกายเสื่อมสภาพ โดยเฉพาะ “มวลกล้ามเนื้อลดลง” มีข้อมูลว่า ผู้สูงอายุไทยกว่า 4 ล้านคน ประสบปัญหาหรือเริ่มมีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ซึ่งส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายและการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน เช่น เริ่มเดินได้ช้าหรือเดินทางไกลได้ลำบาก, รู้สึกว่าขาไม่ค่อยมีแรง, มีอาการเดินเซเมื่อต้องถือของหนัก, ทำงานบ้านไม่สะดวก 👨‍🦯😞

          ผู้สูงอายุไทยและครอบครัวจำนวนหนึ่ง มักหันไปเน้นบำรุงกระดูกด้วยการรับประทานแคลเซียม ทั้งที่จริงๆ ควรบำรุงกล้ามเนื้อควบคู่กันไปด้วย

          หนึ่งในตัวช่วยแก้ปัญหามวลกล้ามเนื้อลดลงที่สำคัญ นอกจากการบริโภคโปรตีน ก็คือ “กรดอะมิโน” ซึ่งเป็นสารประกอบของโปรตีนอีกที โดยเฉพาะ “กรดอะมิโนลิวซีน (Leucine)” ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ

          ผู้สูงวัยสามารถรับเข้าไปได้ ผ่านการบริโภค นม ปลา ไข่ เนื้อวัว ถั่ว ฯลฯ รวมไปถึงหรือ “อาหารเสริม” ที่มีกรดอะมิโนลิวซีนเป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยดูแลผู้สูงอายุให้มีร่างกายที่แข็งแรง หรือเสื่อมสภาพช้ากว่าที่ควรจะเป็น