"เกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข" โชว์ Road map พัฒนาท่าเรือไทย สู่ระดับโลก
"เกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข" โชว์ Road map ถมทะเล 2,700 ไร่ พัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง- กรุงเทพ สู่ท่าเรือสีเขียวระดับโลก ใน 26 ปี
3 พ.ย. 2567 เวลา 14.00 น. ที่ งาน Sustainability forum 2025 นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ขึ้นกล่าวบรรยายในหัวข้อ The Green Port: Efficiency of the Future โดย กล่าวว่า ในปี 2593 หรือในอีก 26 ปี การท่าเรือแห่งประเทศไทยวางแผนการเตรียมตัวในแง่ของการที่จะพัฒนาในเรื่องของความยั่งยืนโดยเฉพาะการเป็นท่าเรือสีเขียว
ซึ่งท่าเรือถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจ การท่าเรือประเทศไทยมีเป้าหมายชัดเจน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเป็นหลัก เนื่องจากท่าเรือแหลมฉบัง คือท่าเรือที่คอยสนับสนุนอุตสาหกรรม ควรค่าแก่การพัฒนาเป็น port city หรือ industry port การขนส่งที่ท่าเรือแหลมฉบังเนี่ยมันจะมี Scale การขนส่งค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นจึงวางการออกแบบเป็นการเชื่อมภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด เพื่อที่เชื่อมโยงการขนส่งทั้งหมด ทั้งการทางถนน การขนส่งทางรถไฟ การขนส่งทางชายฝั่ง โดยการสนับสนุนการขนส่งทุกหน่วย จะช่วย support กัน เพื่อที่จะเสริมสร้างให้ประเทศไทยให้มีเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ขึ้น และช่วยให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน
โดย นายเกรียงไกร ได้ แสดง Road map towards 2050 carbon natural port หรือ แผนโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ให้กลายเป็นท่าเรือระดับโลก โดยคาดว่า แผนการพัฒนาดังกล่าวจะแล้วเสร็จในปี 2593 ภายใต้นโยบายหลัก 3 ข้อ คือ
1.green pork initiative
พัฒนาท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2.Low carbon transport
เปลี่ยนระบบการขนส่งเป็นยานพาหนะไฟฟ้า
3.Zero emission terminal
พัฒนาท่าเรือบางแห่งให้เป็นเขตปลอดการปล่อยคาร์บอน
นายเกรียงไกร กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนการสร้างท่าเรือแหลมฉบัง มีการแบ่งเป็น 3 เฟส ประกอบด้วย
เฟส 1 ท่าเรือในกลุ่ม A B โดยท่าเรือ A ทั้งหมดก็จะเป็นตั้งแต่เริ่มต้นเราก็จะมีท่าเรือที่ดั้งเดิมเป็นท่าเรือที่พื้นที่ค่อนข้างมาก สามารถรองรับได้ ทั้งการขนส่งสินค้าที่เป็นเบา การขนส่งตู้สินค้า หรือแม้แต่เป็นท่าเรือท่องเที่ยว ก็สามารถเป็นท่าเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับคนจำนวน 4,000-6,000 คน ขึ้นเรือท่องเที่ยวมาเมืองไทยก็สามารถเดินทางด้วยเรือได้ การขนส่งไม่เพียงแต่ขนส่งเฉพาะตู้สินค้า แต่การขนส่งประเภทรถยนต์ในวันนี้ประเทศไทยถือว่าเป็นhupแห่งหนึ่งของโลกในการขนส่งที่มาเปลี่ยนถ่ายรถยนต์ที่เมืองไทย
ท่าเรือ B เนี่ยเป็นท่าเรือที่มีความสำคัญเรื่องการขนส่งตู้สินค้าที่ดีมากเพราะมีผู้ประกอบการสายเรือทั่วโลกมาอยู่ที่นี่ ไม่ว่าจะกลุ่มของดูไบ DP world กลุ่มของสิงคโปร์ psa กลุ่มของไต้หวัน evergreen รวมทั้งกลุ่มจีนต่างๆที่มาเข้าผ่านทางท่าเรือต่างๆ ซึ่งแปลว่าที้งRoot นำความสำคัญมาให้กับประเทศ
เฟส 2 ท่าเรือในกลุ่ม C และ D เป็นกลุ่มของท่าเรือฮัทชิสัน ที่นำเทคโนโลยีใหม่ๆเนี่ยเข้ามาปรับปรุงต่างๆเพื่อเพิ่มกระบวนการในการที่จะขีดความสามารถในประเทศไทยโดยเฉพาะในวันนี้เรือขนาดใหญ่ 20,000 กว่าตู้ความยาวร่วม 400 เมตร มาจอดที่ท่าเรือแหลมฉบังเราได้มีการขนส่งตู้สินค้าเนี่ยจำนวนมากนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เมื่อโครงสร้างพื้นฐานซึ่งท่าเรือ D1 พึ่งเสร็จ D2 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568 ส่วน D3 คาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2569 และขีดความสามารถเราจะมีมากยิ่งขึ้น เชื่อว่าท่าเรือแหลมฉบังที่จะลดตั๋ว ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้ระบบอัตโนมัติ โดยเฉพาะการส่งเสริมท่าเทียบเรือที่เราให้สัญญาสัมปทานให้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาขับเคลื่อนเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากล
ส่วน เฟสที่ 3 อยู่ในขั้นตอนการถมทะเลบนพื้นที่ 2,800 ไร่เศษ ซึ่งถือว่าเป็นการถมที่ใหญ่ที่สุดและเป็นการถมที่จะทำให้จากแหลมฉบังสามารถมองเห็นพัทยาอยู่ในระยะใกล้ได้ ซึ่งเดิมเรามีพื้นที่อยู่ 8,800 ไร่เศษ และก็ถมเพิ่มอีก 2,700 ไร่ รวมหลังจากการผมเสร็จ 11,500 ไร่ วันนี้เราดำเนินการถมไปแล้วเกินครึ่งทาง ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เป็นหนึ่งเป็น fash ship ของประเทศไทยซึ่งเมื่อสร้างเสร็จ อัตราความเร่งในการที่ดำเนินการจะมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเมื่อสร้างเสร็จจะมีการขนส่งตู้สินค้าเพิ่มมากขึ้นจากปัจจุบัน 11 ล้านตู้ เพิ่มมาอีห7 ล้านตู้เป็น 18 ล้านตู้
ต่อมา เรื่องการพัฒนาที่ท่าเรือกรุงเทพฯ ในส่วนของกรุงเทพฯ ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 2,353 ไร่ การพัฒนาจะแบ่งเป็นกลุ่ม 2 ส่วน คือ
1. คือการที่จะทำให้เป็นmodern port citi เพื่อให้เป็น citi port ของเมืองไทยอย่างสมบูรณ์ โดยมีการสนับสนุนจาก 4 ภาคธุรกิจบริการ รวมถึงอย่าง cruise terminal เพื่อที่จะนำพานักท่องเที่ยวเข้าสู่กรุ่งเทพมหานคร สนับสนุนเรื่องระบบการขนส่งสินค้าและสร้างความเจริญให้เมืองหลวงของกรุงเทพมหานครเรานะครับเราจะมีการพัฒนาเรื่อง terminal 3 ที่จะทำให้เป็นท่าเรือทันสมัยท่าเรือสมัยใหม่นะครับที่จะลดทรายแล้วก็นำมาซึ่ง productivity ที่เพิ่มมากขึ้น ควบคู่กับการที่เราจะทำงานร่วมกับการพัฒนาชุมชนเพราะบุคลากรที่สำคัญต่อการพัฒนาเรื่อง modernfore city และภาคการขนส่งภาคธุรกิจบริการ
ซึ่งแผนงานที่เราจะพัฒนาให้ถ้าเป็นท่าเรืออัตโนมัติในเรื่องของการวางกรอบเกณฑ์ในเรื่องของการสร้างนะครับกระบวนการในการขนส่งนะครับให้ครบทุกหลากหลายรูปแบบที่พัฒนาท่าเรือที่ทันสมัยเพื่อให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษนะครับของเมืองไทยในการสนับสนุนภาคโลจิสติกส์ภาคธุรกิจบริการควบคู่กัน และบริหารจัดการพื้นที่ทั้งหมดให้มีประสิทธิภาพเลยหวังว่าจะพัฒนาท่าเรือทั้งสองให้เป็นท่าเรือสีเขียว ที่เป็นทั้ง Smart port และGreen port ทั้งระบบและทำงานร่วมกันทั้งภาคนโยบาย และชุมชนสังคมตามหลัก BCG model