posttoday

สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนนทบุรี จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสื่อบอร์ดเกมป้องกันและปราบปรามการทุจริต ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ป.ป.ช.

11 เมษายน 2565

เมื่อวันที่๘ เมษายน ๒๕๖๕ พลตำรวจตรี อรุณ อมรวิริยะกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสื่อบอร์ดเกมป้องกันและปราบปรามการทุจริต (Board Game Camp) กิจกรรมอบรมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและพัฒนาสื่อนวัตกรรมบอร์ดเกม ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ป.ป.ช. ระหว่างวันที่ ๘ - ๑๐ เมษายน ๒๕๖๕

จัดโดยสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนนทบุรี ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น พลัส แวนด้าแกรนด์ ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนนทบุรี ผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ผู้แทนจากกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค ๑ และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนนทบุรี เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนนทบุรี จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสื่อบอร์ดเกมป้องกันและปราบปรามการทุจริต ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ป.ป.ช.

กิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในองค์ความรู้ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2) เพื่อพัฒนาทักษะ ต่อยอดความคิด สู่การริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม สื่อรณรงค์ต้านทุจริตมิชอบ 3) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน สถานศึกษา และชุมชน 4) เพื่อผลิตสื่อนวัตกรรมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเหมาะสม 5) เพื่อสร้างเครือข่ายในประชาสัมพันธ์ รณรงค์ด้านการทุจริต สู่สถานศึกษา ชุมชน ผ่านสื่อนวัตกรรม

สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนนทบุรี จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสื่อบอร์ดเกมป้องกันและปราบปรามการทุจริต ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ป.ป.ช.

กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เด็กและเยาวชนจากสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๕๐ คน นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากสถานศึกษาทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีที่เล็งเห็นถึงการมีส่วนร่วมของเยาวชน เกิดการผนึกกำลังในการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในพื้นที่ผ่านเด็กและเยาวชน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ การคิดแยกแยะระหว่างประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม แนวคิดโมเดล STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา จนนำไปสู่การสร้างสื่อนวัตกรรมสื่อกระบวนการเรียนรู้ หรือนวัตกรรมบอร์ดเกม (Board Game) เพื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ไปยังสถานศึกษา ชุมชน และสังคมต่อไป