posttoday

มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด

05 พฤษภาคม 2565

รูช เอ็กซ์ เอ็มบีแอนด์เอฟ

ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 2013 มิวสิคแมชชีน วัน (MusicMachine 1) ได้เปิดประตูให้กับ เอ็มบีแอนด์เอฟ (MB&F) สู่ความร่วมมือกับนักสร้างสรรค์จากภายนอกในโครงการต่างๆ ที่อยู่เหนือขอบเขตของการประดิษฐ์นาฬิกาข้อมือ โดยนับเป็นการริเริ่มบุกเบิกซึ่งประเภทใหม่ของ “ความร่วมมือแห่งการสร้างสรรค์” (“Co-creations”) ที่ได้เชื้อเชิญให้ เอ็มบีแอนด์เอฟ ก้าวสู่โลกที่เหนือกว่าเครื่องบอกเวลาแห่งการย่อส่วน และไม่ได้บอกเพียงเวลา แต่เป็นกล่องดนตรีที่สร้างสรรค์ขึ้นโดย รูช (REUGE) ที่ยกรากฐานของทุกสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้เกี่ยวกับกล่องดนตรีจากงานออกแบบในทุกๆ วิถีสู่ดนตรี มิวสิคแมชชีน วัน ได้บรรจุไว้ด้วยองค์ประกอบทางประเพณีและมอบเกียรติแก่เวลาทั้งหมดของกล่องดนตรีระดับไฮเอนด์อันล้ำเลิศ แต่อยู่ภายใต้โครงร่างภายนอกในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ เอ็มบีแอนด์เอฟ และนี่คือกล่องดนตรีสำหรับวันนี้

“วิธีในการทำกล่องดนตรีนั้นยังคงเป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจสำหรับมนุษย์” แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ (Maximilian Büsser) ผู้ก่อตั้ง เอ็มบีแอนด์เอฟ ผู้ซึ่งยังคงประทับใจในจักรกลแห่งเครื่องจักร โดยกล่องดนตรีจักรกลระดับไฮเอนด์นั้นได้แลกเปลี่ยนซึ่งความคล้ายกันหลากหลายด้านกับเครื่องบอกเวลา ทั้งทางด้านเทคนิคและความสวยงาม พร้อมด้วยเทคนิคการตกแต่งอันประณีตที่เหมือนกัน สำหรับ มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด (MusicMachine 1 Reloaded) พลังงานที่ได้นั้นมาจากสปริงขด (coiled springs) และการถ่ายโอนพลังงานโดยรางเกียร์เฟือง (gear trains) โดยความเร็วจากการคลายออกนั้นจะถูกควบคุมอย่างระมัดระวัง ที่ต้องขอบคุณให้กับบรรดาอุปกรณ์ควบคุมทรงใบพัด (fan regulators) ที่คล้ายกับที่พบได้เช่นกันในนาฬิกามินิทรีพีทเตอร์ (minute repeater) ตามประเพณี ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกระบอกสูบ (cylinders) สองชิ้นที่บรรจุไว้ด้วย “ทำนอง” ของดนตรีซึ่งสร้างขึ้นโดยวัสดุของเข็มเล็กๆ หรือพิน (pins) ที่จัดวางอย่างแม่นยำถึง 1,400 ชิ้น และเมื่อกระบอกสูบหมุน  พินเหล่านี้จะดึงซี่ของหวีกำเนิดเสียง (combs) ทำจากสตีล ซึ่งแต่ละชิ้นบรรจุไว้ด้วยการคัดสรรที่สร้างสรรค์ขึ้นเฉพาะของโน้ตเสียงปรับแต่งด้วยมือ 72 ตัว และหวีแต่ละชิ้นได้สร้างรูปเป็นคู่อันมีเอกลักษณ์เฉพาะเข้ากับกระบอกสูบที่สอดคล้องกัน ซึ่งไม่อาจเล่นได้อย่างเหมาะสมหากขาดชิ้นส่วนเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง  

รูช ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1865 ในเซนต์ครัวซ์ (Sainte-Croix) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และในวันนี้ เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตระดับพรีเมียมของกล่องดนตรีออโตเมตอน (music automatons) ของโลก ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์กว่า 155 ปี โดยในระหว่างปี ค.ศ. 2013 และ ค.ศ. 2015  เอ็มบีแอนด์เอฟ และรูช ได้ร่วมกันเปิดตัว มิวสิคแมชชีน (MusicMachines) สามผลงาน ซึ่งแต่ละผลงานเล่นด้วยทำนองดนตรีที่แตกต่างกัน และเป็นดนตรีสมัยใหม่ที่มิใช่ดนตรีประเพณีทั่วไป และแต่ละรุ่นยังล้วนได้รับความสำเร็จ โดยแม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ และเพื่อนๆ (Friends) ของเขาได้ตัดสินใจร่วมกันว่าถึงเวลาแล้วที่จะออกแบบ มิวสิคแมชชีน เครื่องแรกขึ้นมาใหม่ และเปิดตัวแนะนำเป็นอีกหนึ่งเอดิชันของผลงาน

“งานออกแบบดั้งเดิมนั้นได้ถูกสร้างขึ้นโดยนักออกแบบหนุ่มชาวจีนนามว่า ซิน หวัง (Xin Wang)” บูซเซอร์ กล่าว “แต่เราได้แม็กซิมิเลียน แมร์เทนส์ (Maximilian Maertens) ผู้ซึ่งกำลังออกแบบสิ่งประดิษฐ์สุดคูลและน่าทึ่งใหม่ๆ อีกมากมายร่วมกับเรา และทำงานจากหนึ่งในไอเดียของการเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เด่นชัดด้วยเส้นสายมากขึ้น รวมถึงการเผยให้เห็นถึงจักรกลได้มากขึ้นเช่นกัน”

ด้วยใบพัดคู่และกระบอกสูบเงินคู่ที่ติดตั้งไว้บนคานยื่นบนลูกล้อ (outrigger landing gear) เงาวาว ที่ มิวสิคแมชชีน วัน         รีโหลดเดด ยังคงดูคล้ายกับยานอวกาศที่ล่องมาจากกาแล็กซีอันไกลแสนไกล และมีความแตกต่างเล็กน้อยจากผลงานรุ่นก่อนหน้า

โดยเหมือนกันกับเวอร์ชันดั้งเดิม ที่แต่ละอุปกรณ์กระบอกสูบบน มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด ได้เล่นกับสามทำนองดนตรี และทั้งหมดผ่านการคัดเลือกเฉพาะโดย แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ กับกระบอกสูบด้านซ้ายที่เล่นกับธีม สตาร์ วอร์ส (Star Wars) จากธีมเสียงดนตรี “อิมพีเรียล มาร์ช” (“Imperial March”) ของ ดิ เอ็มไพร์ สไตรค์ แบ็ค (The Empire Strikes Back) และ     ธีมจาก สตาร์ เทร็ก (Star Trek) จากนั้นจึงหวนคืนสู่ผืนโลก ด้วยกระบอกสูบด้านขวาที่เล่นกับ “อนาเธอร์ บริค อิน เดอะ วอลล์” (“Another Brick in the Wall”) ของ พิงค์ ฟลอยด์ (Pink Floyd), “สโมค ออน เดอะ วอเตอร์” (“Smoke on the Water”) ของ ดีป เพอร์เพิล (Deep Purple) และ “อิมแมจิน” (“Imagine”) ของจอห์น เลนนอน (John Lennon)

“เมื่อมาสู่ขั้นตอนของงานออกแบบและการสร้างสรรค์ เอ็มบีแอนด์เอฟคือผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง” แอมร์ อโลไทชาน (Amr Alotaishan) ผู้อำนวยการบริหารใหญ่ของ รูช กล่าว “อย่างไรก็ดี เมื่อมาถึงกระบวนการดำเนินการและสร้างความล้ำเลิศของผลิตภัณฑ์ ทั้งทางด้านเทคนิค วิศวกรรมและการผลิต เรารู้สึกดีใจกับการทำให้งานออกแบบสร้างสรรค์นั้นสามารถเข้าถึงและสัมผัสใจของผู้คนได้อย่างน่าอัศจรรย์ และขณะเดียวกัน ก็ตระหนักว่าเรานั้นสามารถผลิตผลงานคุณภาพอันล้ำเลิศได้เมื่อผสมผสานด้วยเทคโนโลยี”

มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด

มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด เป็นรุ่นผลิตจำนวนจำกัด 33 เรือนในรุ่นสีน้ำเงิน, 33 เรือนในสีแดง และ 33 เรือนในสีดำ

งานออกแบบที่ผ่านการอัปเดต, เป็นธรรมชาติและตรงตามหลักอากาศพลศาสตร์

รูช สร้างสรรค์ มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด โดยมีพื้นฐานมาจากงานออกแบบยานอวกาศแห่งโลกอนาคต ที่เสนอโดย          ผู้ก่อตั้ง เอ็มบีแอนด์เอฟ แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ที่เป็นแฟนตัวยงของภาพยนตร์ไซไฟและซีรีส์โทรทัศน์อันยิ่งใหญ่ ด้วยความร่วมมือกับแม็ก แมร์เทนส์ ซึ่งจบการศึกษาด้านการออกแบบจากอีซีเอแอล (ECAL) ขณะที่ เอ็มบีแอนด์เอฟ ได้สร้างวิวัฒนาการขึ้นจากงานออกแบบสไตล์ยานอวกาศดั้งเดิมของซิน หวัง พร้อมทั้งผสมผสานอย่างอัจฉริยะด้วยคุณสมบัติอันจำเป็นทั้งหมดของกล่องดนตรี อาทิ หวีปรับแต่งเสียง, กระบอกสูบพร้อมพิน, จักรกลไขลาน, กระปุกลานเมนสปริง, อุปกรณ์ควบคุม และตัวเรือนที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านเสียง

“สิ่งที่เราออกแบบในวันนี้มีความซับซ้อนมากกว่า มิวสิคแมชชีน ดั้งเดิม” แม็ก บูซเซอร์ อธิบาย “เก้าปีต่อมา ด้วยสิ่งที่ผมได้เรียนรู้และสิ่งที่ผมได้สร้างวิวัฒนาการ รวมถึงรสนิยมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป เราได้ทำงานขึ้นใหม่บนพื้นฐานของบางรายละเอียด เพื่อสร้างสรรค์ซึ่งสิ่งที่ผมคาดหวังและต้องการในวันนี้ ผมไม่ได้พูดว่าไม่ชอบในสิ่งที่เราเคยทำมาก่อนหน้านี้ แต่เพียงเพราะการเป็นนักสร้างสรรค์อย่างที่ผมเป็นในวันนี้ นี่คือสิ่งที่ผมค้นพบว่ามีความคูลมากกว่า”

สิ่งที่ บูซเซอร์ และแมร์เทนส์ ได้สร้างสรรค์นั้นมีความเป็นธรรมชาติทางภาพที่มองเห็นมากกว่าผลงาน มิวสิคแมชชีน ดั้งเดิม โดยนักออกแบบหนุ่มจากเบอร์ลินได้เปิดตัวแนะนำเพิ่มเติมถึงคอนเซปต์ที่เขานั้นเรียกว่า “มีความลื่นไหลของอากาศมากกว่า”

ซีรีส์ มิวสิคแมชชีน นั้นมีความสำคัญอย่างแท้จริงสำหรับ แม็ก แมร์เทนส์ แม้ว่าจะเป็นก้าวแรกแห่งการสร้างแรงบันดาลใจของผลงานสร้างสรรค์ประเภทนี้ เมื่อเขาได้เห็นผลงาน มิวสิคแมชชีน รุ่นดั้งเดิมครั้งแรกย้อนกลับไปเมื่อราวปี ค.ศ. 2015 ขณะที่ยังเป็นนักเรียนออกแบบ และนั่นได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับเขาในการเปลี่ยนทิศทางและวิธีคิดของเขา ดังนั้น จึงนับเป็นสิ่งที่เป็นเหมือนดั่งฝันที่กลายเป็นจริงสำหรับเขาในการทำงานออกแบบใหม่ให้กับผลงานนี้อย่างแม่นยำ “แต่ผมได้สร้างไปสู่สิ่งที่มีความเป็นอากาศพลศาสตร์มากขึ้น และเป็นเหมือนภาษางานออกแบบของผมเองบยิ่งขึ้น” เขาอธิบาย ซึ่งนี่เกี่ยวข้องกับการที่ แมร์เทนส์ ได้ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาเป็นฐานมากขึ้น และเสริมด้วยวิศวกรรมด้านอากาศยาน “ผลงานทั้งชิ้นนั้นเป็นดั่งผลงานที่ลื่นไหล” เขากล่าว “นี่เป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได้ภายใต้เหล่าปีกอากาศยานโดยเฉพาะ ซึ่งในวันนี้ เราสามารถมองเห็นได้ราวกับอยู่ท่ามกลางอุโมงค์สายลม ด้วยความลื่นไหลของอากาศที่ไม่อาจมองเห็นได้รอบๆ”

“ผมได้นำแนวคิดดั้งเดิมของวิธีการ และตำแหน่งซึ่งเราได้จัดวางไว้ด้วยจักรกลต่างๆ และเปลี่ยนแปลงทุกอย่างอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ มิวสิคแมชชีน โดยปราศจากการสูญเสียซึ่งหัวใจหลักสำคัญของผลงานชิ้นก่อนหน้า เพื่อให้มีความเป็นเวอร์ชัน “รีโหลดเดด” อย่างแท้จริง” แมร์เทนส์ กล่าว

โครงสร้างหลักของ มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด นั้นมีหัวใจสำคัญเดียวกัน แต่ แมร์เทนส์ ได้คิดค้นหลากหลายองค์ประกอบหลักๆ ขึ้นใหม่ โดยหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงใหญ่นั้นคือลำตัวทั้งหมด ที่ในวันนี้ทำจากอโนไดซ์อลูมิเนียม (anodized aluminium) แทนที่จะเป็นไม้เหมือนในผลงาน มิวสิคแมชชีน ดั้งเดิม “กระบวนการในการผลิตขึ้นรูปจากอลูมิเนียมนั้นมีความดึงดูดใจอย่างมาก ทั้งยังแม่นยำสูง และมีพื้นผิวอันสวยงามมากเช่นกัน” เขากล่าว แต่จุดหลักนั้นคือ แมร์เทนส์ ต้องการที่จะมั่นใจว่าแต่ละชิ้นงานเฉพาะหนึ่งเดียวของ มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด นั้นจะดูราวกับเป็นผลงานที่ผสมผสานเป็นหนึ่งเดียว

“และผมไม่เคยซ่อนซึ่งจักรกล” เขากล่าว “นี่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับผมเช่นกัน”

เสียงดนตรี

มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด ไม่ได้เพียงดูเหมือนกับสิ่งที่มาจากภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ แต่ด้วยสามเสียงดนตรีนั้นยังถอดแบบโดยตรงมาจากภาพยนตร์คลาสสิกไซไฟเช่นกัน

โดยกระบอกสูบด้านซ้ายของ มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด ได้เล่นกับธีมดนตรีจากสตาร์ เทร็ก โดยเจอร์รี โกลด์สมิธ (Jerry Goldsmith) เช่นเดียวกับธีมดนตรีจาก สตาร์ วอร์ส และ “อิมพีเรียล มาร์ช” จาก ดิ เอ็มไพร์ สไตรค์ แบ็ค ซึ่งทั้งคู่ได้รับอิทธิพลมาจากดนตรีภาพยนตร์อันยิ่งใหญ่ของจอห์น วิลเลียมส์ (John Williams) ขณะที่สองธีมดนตรีแรกนั้นเล่นกับแนวเพลงปลุกใจที่ชวนให้นึกถึงจิตวิญญาณความเป็นฮีโร่และการผจญภัย ส่วนดนตรีหลังนั้นพาคุณให้เตรียมรับมือและยกโล่ขึ้นพร้อมออกรบ เมื่อได้รับสัญญาณการใกล้มาถึงของวายร้าย ดาร์ธ เวเดอร์ (Darth Vader)

ทว่า สำหรับ เอ็มบีแอนด์เอฟ นั้นเป็นมากกว่าภาพยนตร์ไซไฟอย่างมาก กับผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ ของแบรนด์ที่ทั้งโดดเด่นทันสมัยและมีความเป็นไอคอนสูง ซึ่งล้วนเชื่อมโยงสัมพันธ์กับโลกแห่งเรือนเวลาระดับไฮเอนด์ แต่ด้วยมุมมองแนวร็อกแอนด์โรล (rock ‘n’ roll)  ที่ถ่ายทอดด้วยสัญลักษณ์อันเป็นระเบียบลงตัวโดยสามทำนองดนตรีของกระบอกสูบด้านขวา ทั้งดนตรีปลุกใจเพื่อต่อต้านสงครามอันแสนคลาสสิกของ จอห์น เลนนอน อย่าง “อิมแมจิน” หรือ “สโมค ออน เดอะ วอเตอร์” อันเหนือจินตนาการของดีป เพอร์เพิล และ “อนาเธอร์ บริค อิน เดอะ วอลล์” ในความทรงจำและได้รับความนิยมชื่นชอบของสังคมจากพิงค์ ฟลอยด์

บูซเซอร์ ได้ดึงความเป็นวัยหนุ่มของเขา เมื่อเลือกสิ่งเหล่านี้มาหลอมรวมไว้ภายในผลงาน มิวสิคแมชชีน ดั้งเดิม และการเลือกนั้นนับเป็นภารกิจอันท้าทาย เพราะเขานั้นเชื่อมโยงถึงช่วงเวลานั้นจริงๆ “นอกเหนือจากธีมดนตรีต่างๆ จากนิยายแนววิทยาศาสตร์ ผมต้องการที่จะผสมผสานสามทำนองดนตรีนี้ที่ล้วนมีความสำคัญสำหรับผมในระหว่างช่วง 20 ปีแรกของชีวิต จากรายการดนตรีที่เลือกไว้มากมาย ผมได้คัดเลือกให้เหลือเพียงสามเพลง แต่นั่นก็เป็นซึ่งประสบการณ์อันท้าทายอย่างมาก!”

ด้วยประสบการณ์ทำให้เขาได้เข้าใจและมองเห็นอย่างชัดเจน ซึ่งเขาไม่ได้เปลี่ยนความคิดหรือมุมมองในเหตุผลที่เขาใช้เลือกเพลงเหล่านี้เท่าใดนัก “การได้รับการจดจำว่านี่คือผลงานสร้างสรรค์แห่งความร่วมมือครั้งแรกของผม และยังเป็นยุคที่ทุกๆ สิ่งนั้นยังคงเชื่อมโยงกับวัยหนุ่มของผม วัยเด็กของผมและอื่นๆ และยังเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการสร้างสรรค์สิ่งที่ผมนั้นหลงใหลที่จะได้ครอบครอง กับสิ่งที่ผมอยากจะฟัง ที่แน่นอนว่าย่อมเป็นธีมดนตรีต่างๆ จากภาพยนตร์อย่าง สตาร์ วอร์ส และสตาร์ เทร็ก (ที่ในวัยหนุ่มของผมนั้น ผมผูกพันกับโรงภาพยนตร์) ผมคิดว่าเป็นเรื่องคูลมากที่ได้มี “สโมค ออน เดอะ วอเตอร์” ของดีป เพอร์เพิล มารวมอยู่ในผลงานนี้ กับการได้มาเห็น รูช ซึ่งเป็นนักสร้างสรรค์กล่องดนตรีตามประเพณี และการได้เสนอว่าผมต้องการที่จะมีเสียงดนตรีของดีป เพอร์เพิล ไว้ในกล่องดนตรีของผม ซึ่งนั่นเป็นความรู้สึกที่มิอาจประเมินค่าได้”การสร้างสรรค์เสียงดนตรีด้วยศรัทธา...ในเชิงจักรกล

รูช ได้สร้างสรรค์เสียงดนตรีเชิงจักรกลขึ้นใหม่ สิ่งแรกนั้นคือนักดนตรีของรูชได้ทดลองใช้ชิ้นงานต่างๆ ของบทเพลง และจำแนกถึงส่วนของดนตรีอันเป็นที่จดจำได้มากที่สุดของแต่ละเพลง จากนั้น นักดนตรีได้ตั้งเป้าหมายในการสร้างสรรค์ซึ่งส่วนของดนตรีเหล่านี้ขึ้นใหม่สำหรับใช้ในกล่องดนตรี และคำนึงถึงเสมอว่ากระบอกสูบด้านหนึ่งจะบรรจุไว้ด้วยเสียงดนตรีร็อกสามทำนองเพลง และอีกหนึ่งกระบอกสูบที่จะมีเสียงดนตรีที่ได้แรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์ไซไฟสามเพลง รวมถึงแต่ละ พินของกระบอกสูบนั้นจะดึงหนึ่งในหวีกำเนิดเสียงที่ประกอบด้วย 72 โน้ตดนตรี

การทำงานกับการจัดการระหว่างสองกลุ่มของการจัดวางทั้งสามทำนองดนตรีนั้น  แต่ละเสียงดนตรีจะถูกจำกัดอยู่เพียงประมาณ 35 วินาที และหลากหลายโน้ตดนตรีที่เพลงเหล่านี้ได้ถ่ายทอดต่อกัน (บางโน้ตดนตรีถูกใช้โดยทั้งสามทำนองเพลง ขณะที่บางโน้ตมีเฉพาะกับทำนองเพลงเดียว) ซึ่งเป็นตัวแทนถึงความสำเร็จสำคัญทั้งทางเทคนิคและศิลปะจากมันสมองของนักดนตรี จากสัมผัสแห่งการแสดงออก และความอัจฉริยะทางอารมณ์ที่อยู่เหนือกว่าคอมพิวเตอร์ใดๆ

มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด มีสองกลไกอิสระ แต่ละกลไกประกอบด้วยใบพัดขับเคลื่อนการไขลาน รวมถึงกระปุกลานเมนสปริง (ที่ดูคล้ายกับลูกสูบใต้ใบพัดขับเคลื่อน), กระบอกสูบแนวนอน พร้อมด้วยพินที่สร้างสรรค์เป็นสามทำนองเพลง และหวีแนวตั้ง พร้อมกับซี่ปรับจูนด้วยมือเฉพาะตัวที่ให้เสียงเป็นแต่ละโน้ตดนตรี ที่แม้ว่าอาจจะเป็นเรื่องง่ายกว่ากับการถอดแบบของสองกลไกและเปลี่ยนเพียงทำนองดนตรี ทว่า ตามแนวคิดดั้งเดิมของ เอ็มบีแอนด์เอฟ นั้นคือการพยายามสร้างสรรค์ซึ่งความสมมาตรอันสมบูรณ์แบบ และหากกลไกนั้นมีความคล้ายกันกับหวีบนแต่ละกระบอกสูบจึงไม่ได้ติดตั้งอยู่บนด้านนอก ด้วยเหตุนี้ รูชได้ก้าวไปสู่อีกขั้นที่ยังไม่เคยมีมาก่อนของการสร้างโครงร่างของสองกลไกที่เป็นเหมือนดั่งภาพกระจกเงาของกันและกัน ซึ่งนั่นย่อมหมายถึงการออกแบบที่กลับกันทั้งหมดของชิ้นส่วนและสถาปัตยกรรมกลไก

หวีกำเนิดเสียง

หวีกำเนิดเสียงในแนวตั้งสองตัวนั้นดูเหมือนกับช่องโค้งไล่อากาศบนทั้งสองด้านของลำตัวหลักบนเรือ หวีในแนวตั้งแต่ละชิ้นนี้จะบรรจุไว้ด้วยการคัดสรรเฉพาะของ 72 โน้ตดนตรีที่ถูกเลือกโดยนักดนตรีของรูช ตามสามทำนองเพลงที่กระบอกสูบนั้นๆ เล่น หวีเหล่านี้ถูกปรับแต่งด้วยมือจากโลหะสตีลอัลลอยเฉพาะที่เลือกขึ้นพิเศษสำหรับมอบประสิทธิภาพด้านเสียง สำหรับโน้ตเสียงเบส น้ำหนักของซี่หวีจะถูกขยายไปด้านหลัง โดยวิธีการทางประเพณีของการใช้ตะกั่ว จากนั้นเครื่องจักรจึงทดสอบความถี่ของแต่ละซี่และจำนวนเล็กน้อยมากๆ ของวัสดุที่ถูกนำออก เพื่อการปรับแต่งแต่ละโน้ตเสียงได้อย่างถูกต้อง โดยอุปกรณ์ซึ่งควบคุมด้วยมือที่รูชใช้ในกระบวนการนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นทั้งหมดภายในโรงงานของตนเอง

ขนสังเคราะห์ใสเล็กๆ จะถูกเพิ่มไว้ด้านหลังซี่ของโน้ตเสียงเบส ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนแดมเปอร์ (dampers) เพื่อให้โน้ตเสียงสะท้อนได้สูงสุด และจากนั้น หวีนี้จึงถูกเชื่อมต่อเข้ากับ ‘แผ่นสั่นสะท้อน’ (vibration plate) ทองเหลืองที่พาดผ่านลำตัวหลัก พร้อมด้วยสกรูหกตัวทำให้เป็นสีน้ำเงินด้วยความร้อน โดยแผ่นสั่นสะท้อนนี้จะถ่ายทอดเสียงไปยังตัวเรือน ซึ่งจะเป็นการขยายเสียงมากขึ้นตามลำดับ และเมื่อหวีกำเนิดเสียงนี้ได้ถูกติดตั้ง หูอันเชี่ยวชาญในการับฟังเสียงของนักดนตรีจึงจำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการปรับแต่งอย่างละเอียดในขั้นตอนสุดท้าย “การได้เห็นการทำงานของจักรกลนั้นเป็นสิ่งที่สวยงาม” แอมร์ อโลไทชาน ผู้อำนวยการใหญ่ของรูช กล่าว “และนั่นได้เพิ่มความซับซ้อนของสิ่งที่เคยสร้างสรรค์มาแล้ว เช่นเดียวกับเพิ่มคุณค่าซึ่งรับรู้ได้ คุณเพียงไม่ต้องการที่จะซ่อนมัน แต่พร้อมเผยให้ผู้คนได้ชื่นชมและหลงใหลที่ได้เห็นเครื่องยนต์ภายในเหล่านี้”

กระบอกสูบ

ประกายแวววาวของกระบอกสูบซึ่งตกแต่งด้วยมืออย่างสวยงามนั้น ดูคล้ายกับคู่ของเครื่องปฏิกรณ์อันโดดเด่นที่ตั้งอยู่ด้านบนสุดของลำตัวหลักสำหรับ มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด โดยกระบอกสูบเหล่านี้บรรจุไว้ด้วย ‘โน้ตดนตรี’ (scores) ของทำนองเพลง ด้วยพินที่จัดวางอย่างแม่นยำจำนวนมากถึง 1,400 หมุดที่ดึงซี่ของหวี ขณะที่กระบอกสูบนั้นหมุน นักดนตรีของรูชได้กำหนดตำแหน่งอันแม่นยำในการจัดวางทุกๆ พินไว้ โดยพินเหล่านั้นจะถูกตัดเฉือนและจากนั้นจึงขัดเงา เพื่อให้มั่นใจถึงความยาวที่เหมือนและสอดคล้องกันทั้งหมด จากนั้นในขั้นตอนสุดท้าย คือการใช้เรซินร้อนพิเศษภายในกระบอกสูบ ซึ่งเมื่อแข็งขึ้นจะติดเชื่อมอย่างมั่นคงเข้ากับพิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขยายคุณภาพเสียงได้อย่างสูงสุด

เมื่อเพลงหนึ่งถูกเล่น กระบอกสูบจะค่อยๆ เคลื่อนที่ไปตามแกนยาวของมัน  และการเปลี่ยนตำแหน่งนี้ยังจัดให้เป็นแนวเดียวกันกับพินด้านขวาด้วยซี่ด้านขวาเพื่อเล่นทำนองดนตรีถัดไป แต่ละทำนองดนตรีนี้จะยาวนานประมาณ 35 วินาที และสอดคล้องไปกับการหมุนหนึ่งรอบของกระบอกสูบ โดยกระบอกสูบเหล่านี้ยังเชื่อมต่อผ่านรางเกียร์เฟืองที่สามารถมองเห็นได้สู่ห้องเครื่องยนต์หลังของ มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด

อุปกรณ์ควบคุมแบบใบพัด

บนทั้งสองด้านของเลเวอร์ไขลาน (winding levers) รูปทรงคล้ายใบพัดนั้นโดดเด่นด้วยแผ่นวงกลมแนวตั้ง ขณะที่ภาพเหล่านี้ยังดูเหมือนราวกับจานเรดาร์เพื่อนำทางไปสู่สนามดาวเคราะห์น้อย (asteroid field) หรือสนามแรง (force field) ที่ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้โจมตีด้วยตอร์ปิโดโปรตอนไปยังศัตรู และยังทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม (regulators) ความเร็วของกระบอกสูบ ที่เมื่อถูกไขลานเต็ม เมนสปริงจะทำหน้าที่หมุนกระบอกสูบให้เร็วขึ้นกว่าเมื่อใกล้หมดลาน และเพื่อชดเชยกำลังที่ลดลงนี้ ตัวควบคุมอากาศแบบใบพัดวงกลมเหล่านี้จะมอบกำลังต้านที่มากขึ้น เมื่อมีการหมุนที่เร็วขึ้นกว่าช้าลง และช่วยให้เกิดการหมุนอย่างสม่ำเสมอ

ลำตัว, ท่อนยึดปีกด้านล่าง, ท่าและแพลตฟอร์มสำหรับเทียบลงจอด

รังสรรค์ขึ้นจากอโนไดซ์อลูมิเนียมสีน้ำเงิน สีแดง หรือสีดำ ที่ลำตัวอันปราดเปรียวของ มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด ได้ช่วยขยายเสียงซึ่งส่งผ่านจากแผ่นสั่นสะท้อนทองเหลืองซึ่งบรรจุไว้ ณ ศูนย์กลางภายในตัวเรือน และแผ่นนี้ยังทำให้เกิดการสั่นสะท้อนไปตามท่าสำหรับการเทียบลงจอดสไตล์ระโยงระยางไปด้วยคานยื่น รวมถึงท่อนยึดปีกด้านล่างบนด้านข้างทรงโค้งทำจากอโนไดซ์อลูมิเนียมตกแต่งแบบบีดบลาสต์ ทั้งยังบรรจุด้วยการสั่นที่จะส่งต่อไปยังแพลตฟอร์มเทียบท่าของ มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด

“ผมคิดว่ามันคือความคูลอย่างมาก หากผมไม่รู้ว่าจะทำอะไรได้แล้ว ผมก็เลือกที่จะซื้อมัน” แอมร์ อโลไทชานกล่าวสรุปถึงความรู้สึกที่เขามีต่อ มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด “เราได้นำงานฝีมือแห่งประเพณีมาสู่ความเป็นหนุ่มสาวยิ่งขึ้น ด้วยโลก ณ ปัจจุบัน ที่กำลังสร้างซึ่งการเปลี่ยนรูปอันแสนวิเศษ เพื่อให้พวกมันนั้นได้สร้างซึ่งความน่าหลงใหลต่อผู้คนเช่นกัน”

มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด

มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด – ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค

มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด ผลิตจำนวนจำกัดเพียง 33 เรือน ในสีน้ำเงิน, 33 เรือนในสีแดง และ 33 เรือนในสีดำ

ตัวเรือน, กรอบ และแพลตฟอร์ม

ลำตัวหลัก: อโนไดซ์อลูมิเนียม

แขนค้ำ: อโนไดซ์อลูมิเนียมและบีดบลาสต์; ตกแต่งอโนไดซ์แบบด้านสีดำสำหรับเวอร์ชันสีดำ

สัดส่วน: กว้าง 381 x ยาว 476 x สูง 140 มม.; น้ำหนักรวม: ประมาณ 3 กิโลกรัม

แพลตฟอร์มสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพเสียง: ไม้สีดำตกแต่งแบบด้าน

กลไกและการตกแต่ง

มิวสิคแมชชีน วัน รีโหลดเดด มาพร้อมสองกลไก ขนาด 3.72 (3 อ้างอิงถึงจำนวนของทำนองดนตรีบนแต่ละกระบอกสูบ; 72 อ้างอิงถึงจำนวนโน้ตเสียงบนแต่ละหวี); กลไกหนึ่งอยู่บนด้าน “ขวา” ของโครงร่าง; กลไกหนึ่งอยู่บนด้าน “ซ้าย” ของโครงร่าง (โดยการหมุนในทิศทางตรงข้ามกัน)

แท่นเครื่อง: ทองเหลืองชุบนิเกิล, ตกแต่งด้วยลวดลายโคตส เดอ เฌแนฟ (Côtes de Genève) แท่นเครื่องรองรับทั้งสองกลไก; แต่ละกลไก รวมไว้ด้วยเมนสปริง, กระบอกสูบ, หวี และอุปกรณ์ควบคุม

เมนสปริง: ไขลานโดยผ่านใบพัดขับเคลื่อน

กระปุกลาน: สเตนเลสสตีล; แต่ละตัวบรรจุด้วยสกรู 6 ตัว ทำให้เป็นสีน้ำเงินด้วยความร้อนด้านบน; ด้านข้างแบบ “ลูกสูบ” เซาะร่อง

ตัวควบคุม: ใบพัดทำจากสเตนเลสสตีล

สำรองพลังงาน: ประมาณ 10 นาที

กระบอกสูบ: ทองเหลือง

เริ่มต้น/หยุด และฟังก์ชันดำเนินการต่อ

ตัวรองรับกระบอกสูบ: ทองเหลืองชุบนิเกิล

หนึ่งทำนองดนตรี = การหมุนหนึ่งรอบของกระบอกสูบ

สามทำนองดนตรีต่อกระบอกสูบ  

ความยาวของแต่ละทำนองดนตรี: ประมาณ 35 วินาที

พลังงานสำรองต่อกระบอกสูบ: ประมาณ 10 นาที

พินแบบนำมาติดตั้งด้วยมือและขัดเงาด้วยมือ

ความยาวของพิน: 1 มม.; ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของพิน: 0.3 มม.

จำนวนพินต่อกระบอกสูบด้านขวา: 1,279 ชิ้น; จำนวนพินต่อกระบอกสูบด้านซ้าย: 1,399 ชิ้น

หวีกำเนิดเสียง: สตีลอัลลอยและตะกั่ว; 72 ซี่ต่อหวี; แต่ละหวียึดเชื่อมเข้ากับแผ่นสั่นสะท้อนทองเหลือง ด้วยสกรูสตีลหกตัวทำให้เป็นสีน้ำเงินด้วยความร้อน

ทำนองดนตรีต่างๆ

กระบอกสูบด้านขวา – คัดตอนมาจาก:

“อนาเธอร์ บริค อิน เดอะ วอลล์” (“Another Brick in the Wall”) (ค.ศ. 1979) เขียนโดย โรเจอร์ วอเตอร์ส (Roger Waters) และแสดงดั้งเดิมโดย พิงค์ ฟลอยด์ (Pink Floyd)

“สโมค ออน เดอะ วอเตอร์” (“Smoke on the Water”) (ค.ศ. 1973) เขียนและแสดงดั้งเดิมโดย ดีป เพอร์เพิล (Deep Purple)

“อิมแมจิน” (“Imagine”) (ค.ศ. 1971) เขียนและแสดงดั้งเดิมโดย จอห์น เลนนอน (John Lennon)

กระบอกสูบด้านซ้าย – คัดตอนมาจาก:

สตาร์ วอร์ส (Star Wars) (ค.ศ. 1977) ชื่อหลักโดย จอห์น วิลเลียมส์ (John Williams)

“อิมพีเรียล มาร์ช” (“Imperial March”) (ค.ศ. 1980) โดย จอห์น วิลเลียมส์ (John Williams)

สตาร์ เทร็ก (Star Trek) (ค.ศ. 1979) ชื่อหลักโดย เจอร์รี โกลด์สมิธ (Jerry Goldsmith)

รูช ผู้ผลิตระดับพรีเมียมของจักรกลออโตเมตอนเสียงดนตรีของโลก

ตั้งอยู่ในเซนต์ครัวซ์ (Sainte-Croix) (สวิตเซอร์แลนด์) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1865 รูช (REUGE) ได้รับการยกย่องในฐานะผู้นำของโลกแห่งจักรกลออโตเมตอนเสียงดนตรีระดับโลก ด้วยมากกว่า 155 ปีแห่งความเชี่ยวชาญ รูชผลิตผลงานที่มีความล้ำเลิศชั้นยอดทางด้านเทคนิค เสียงและความสวยงาม โดยผสมผสานซึ่งการเคลื่อนไหวของจักรกลออโตเมตอนด้วยเสียงก้องกังวานอันประณีตวิจิตร ที่ได้มอบซึ่งประสบการณ์แห่งสัมผัสความรู้สึกอันมิอาจเทียบเคียงได้ แนวคิดอันก้าวล้ำและนวัตกรรมที่นิยาม รูช นั้นมีคุณค่าเสมอเหมือนกับความเคารพของแบรนด์ที่มีต่องานหัตถศิลป์ตามประเพณี แบรนด์ยังคงมองหาอย่างไม่ลดละในวัสดุใหม่ๆ ด้วยแนวดนตรีดั้งเดิมและเสียงอันน่าทึ่ง ที่จะสร้างซึ่งวิถีแห่งจักรกลออโตเมตอนเสียงดนตรีอันร่วมสมัยของศตวรรษที่ 21 ความสามารถของ รูช ในการเปลี่ยนรูปโลหะอันไม่ง่ายต่อการทำงานไปสู่อารมณ์ความรู้สึกได้นั้นยังคงเดินหน้ามอบเสน่ห์และดึงดูดใจผู้ซึ่งมองหาผลงานศิลปะอย่างแท้จริง และการเข้าถึงเทรนด์อันเหนือล้ำยิ่งกว่า ขณะที่ รูช เองมีทั้งคอลเลกชันอันงดงามของจักรกลออโตเมตอนเสียงดนตรีคลาสสิกและร่วมสมัย ที่แบรนด์ภาคภูมิใจในความสามารถของตนในการสร้างสรรค์ซึ่งผลงานเฉพาะหนึ่งเดียว หรือซีรีส์จำนวนจำกัด (เช่นใน มิวสิคแมชชีน) สำหรับลูกค้าที่หลงใหลในงานศิลป์อันแสนวิเศษอย่างแท้จริง

ในปี ค.ศ. 1865 ชาร์ลส รูช (Charles Reuge) ได้ก่อตั้งร้านนาฬิกาพกเสียงดนตรีแห่งแรกของเขาขึ้นในเซนต์ครัวซ์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ชาร์ลส รูช นับเป็นนักบุกเบิก ทั้งการผสมผสานกระบอกสูบเสียงดนตรี และหวีกำเนิดเสียงแบบย่อส่วนขนาดจิ๋วลงสู่กลไกของนาฬิกา ในเวลาต่อมา บุตรชายของเขา อัลเบิร์ต รูช (Albert Reuge) ได้เปลี่ยนห้องปฏิบัติการของครอบครัวมาสู่โรงงานขนาดเล็กในปี ค.ศ. 1886 และกลไกจักรกลเสียงดนตรีของรูช ที่เริ่มต้นบรรจุไว้ภายในวัตถุสิ่งของมากมาย ซึ่งนั่นรวมไปถึงตลับแป้งเล็กๆ และไฟแช็คจุดบุหรี่ ต่อมา กิวโด รูช (Guido Reuge) ได้เข้ารับหน้าที่ดูแลแบรนด์ในช่วงศตวรรษที่ 20 และนำทางให้ รูช ก้าวรุดหน้ามากว่า 60 ปี  

ด้วยพลังขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม กิวโดได้สร้างโรงงานการผลิตในปัจจุบันของ รูช แมนูแฟคเจอร์ (REUGE Manufacture) ขึ้นในเซนต์ครัวซ์ เมื่อปี ค.ศ. 1930 รวมถึงการขยายบริษัท โดยในยุค 1960s และ ‘70s รูชได้ขยายพรมแดนการผลิตและเข้าครอบครองกิจการโรงงานการผลิต และการทำตลาดของนกร้องเพลงจักรกล (mechanical singing birds) ของบอนเทมส์ (Bontems) และเอชเลอ (Eschle) ทั้งยังเริ่มต้นขยายฐานองค์ความรู้ของแบรนด์ รวมถึงพัฒนาซึ่งทักษะและความสามารถในการสร้างสรรค์หรือจำลองถอดแบบด้านภาพและรูปลักษณ์ของทุกๆ อุปกรณ์ด้านเสียงดนตรี โดยนกร้องเพลงนั้นถือเป็นสมบัติสำคัญสำหรับคอลเลกชันของรูช รวมถึงการเปิดตัวต่างๆ ในปี ค.ศ. 2019 ของผลงานสร้างสรรค์อันร่วมสมัย อย่างทาบาเตียร์ (Tabatière) ที่ครั้งหนึ่งเปรียบดั่งสิ่งประดิษฐ์ของช่วงเวลาในอดีตที่ได้กลายเป็นความโดดเด่นอันทันสมัยและเปี่ยมด้วยอารมณ์ กับศิลปะเสมือนจริงอันน่าอัศจรรย์ของออโตเมตอนที่เป็นเสมือนบทพิสูจน์ถึงความอัจฉริยะและองค์ความรู้ของโรงงานการผลิตแห่งนี้

เซนต์ครัวซ์ได้กลายเป็นศูนย์กลางอันมีชื่อเสียงโด่งดังของอุตสาหกรรมกล่องเสียงดนตรีสวิส และในปี ค.ศ. 2021 หมู่บ้านแห่งนี้ก้าวสู่สปอตไลต์อีกครั้ง อันเป็นผลมาจากการเพิ่มเติมขององค์ความรู้ทางประเพณี ที่ได้นำไปสู่การได้รับการบรรจุโดยยูเนสโก (UNESCO) ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้ของมนุษย์ ตั้งตระหง่านในฐานะกล่องดนตรีบนยอดสุดของเนินเขาแห่งเซนต์ครัวซ์ โรงงานการผลิตแห่ง รูช ได้สร้างการเติบโตและรุ่งเรืองภายในอาคารหลังใหม่นี้ของแบรนด์ และมีแอมร์ อโลไทชาน (Amr Alotaishan) เป็นผู้นำในฐานะผู้อำนวยการบริหารใหญ่ ผู้ซึ่งอุทิศตนในการธำรงรักษาและพัฒนาองค์ความรู้อันมีเอกลักษณ์เฉพาะหนึ่งเดียวนี้ไว้ เพื่อให้มรดกทางวัฒนธรรมยังคงเดินหน้าดำรงอยู่ต่อไปในทุกยุคสมัย

MB&F ต้นกำเนิดแห่งแนวคิดห้องปฏิบัติการด้านเครื่องจักรกลบอกเวลา

ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2005 เอ็มบีแอนด์เอฟ (MB&F) คือห้องปฏิบัติการเครื่องจักรกลบอกเวลาแนวคิดใหม่แห่งแรกของโลก ด้วยชุดกลไกที่น่าทึ่งเกือบ 20 ชุด ที่สร้างฐานอันมั่นคงให้กับเครื่องจักรกลบอกเวลาอันมีชื่อเสียง ทั้งในคอลเลกชัน ออโรโลจิ-คัล แมชชีน (Horological Machines) และ เลกาซี แมชชีน (Legacy Machines) โดยเอ็มบีแอนด์เอฟ ยังคงดำเนินรอยตามวิสัยทัศน์ของ แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ (Maximilian Büsser) ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการด้านการสร้างสรรค์ ในการสร้างศิลปะ     จลศาสตร์สามมิติที่แตกต่างจากการประดิษฐ์นาฬิกาแบบดั้งเดิม

หลัง 15 ปีของการบริหารงานให้กับเหล่าแบรนด์นาฬิกาอันทรงเกียรติ แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการบริหาร ณ แฮร์รี วินสตัน (Harry Winston) ในปี ค.ศ. 2005 เพื่อสร้างสรรค์แบรนด์ เอ็มบีแอนด์เอฟ (MB&F) ที่ย่อมาจาก แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ แอนด์ เฟรนด์ส (Maximilian Büsser & Friends) โดยเอ็มบีแอนด์เอฟเป็นห้องปฏิบัติการเชิงศิลป์และวิศวกรรมจุลภาค ที่ทุ่มเทให้กับการออกแบบและประดิษฐ์รังสรรค์นาฬิกาตามแนวคิดสุดขั้ว ด้วยจำนวนการผลิตไม่มาก แต่เป็นการรวบรวมเหล่ายอดฝีมือและมืออาชีพด้านเครื่องบอกเวลาผู้เปี่ยมด้วยพรสวรรค์ ที่บูซเซอร์ทั้งความเคารพและสนุกกับการทำงานร่วมกัน

ในปี ค.ศ. 2007 เอ็มบีแอนด์เอฟ เปิดตัวนาฬิกา ออโรโลจิคัล แมชชีน (Horological Machine) รุ่นแรกใน เอชเอ็ม1 (HM1) ภายใต้ประติมากรรมตัวเรือนสามมิติและเครื่องยนต์ (กลไก) ที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม ซึ่งได้มอบมาตรฐานให้กับเหล่านาฬิกาในตระกูล ออโรโลจิคัล แมชชีน รุ่นถัดมา ที่นับเป็นแมชชีน (Machines) ทุกๆ เรือนซึ่งบอกเวลาได้ มิใช่เป็นเพียงในฐานะเครื่องบอกเวลาเท่านั้น โดย ออโรโลจิคัล แมชชีน ได้ออกสำรวจมาแล้วทั้งในโลกอวกาศ (เอชเอ็ม2 (HM2), เอชเอ็ม3 (HM3), เอชเอ็ม6 (HM6)), ท้องฟ้า (เอชเอ็ม4 (HM4), เอชเอ็ม9 (HM9)), ท้องถนน (เอชเอ็ม5 (HM5), เอชเอ็มเอ็กซ์ (HMX), เอชเอ็ม8 (HM8)) และอาณาจักรของสัตว์ (เอชเอ็ม7 (HM7), เอชเอ็ม10 (HM10))

ในปี ค.ศ. 2011 เอ็มบีแอนด์เอฟ เปิดตัวคอลเลกชัน เลกาซี แมชชีน ภายใต้ตัวเรือนทรงกลมร่วมสมัย โดยผลงานเหล่านี้เป็นมากกว่าความคลาสสิกซึ่งรังสรรค์ขึ้นเพื่อสดุดีให้กับความเป็นเลิศของการประดิษฐ์นาฬิกาในศตวรรษที่ 19 โดยการตีความใหม่ให้กับความซับซ้อนจากเหล่านักประดิษฐ์นวัตกรรมเรือนเวลาผู้ยิ่งใหญ่ในอดีตเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัย เริ่มจากผลงาน แอลเอ็ม1 (LM1) และแอลเอ็ม2 (LM2) จากนั้นจึงตามมาด้วย แอลเอ็ม101 (LM101) ที่นับเป็นเครื่องจักรบอกเวลาหรือแมชชีนของเอ็มบีแอนด์เอฟรุ่นแรก ที่นำเสนอด้วยกลไกซึ่งพัฒนาขึ้นทั้งหมดภายในโรงงานของตนเอง (in-house) ก่อนจะขยายคอลเลกชันนี้ไปสู่ความสมบูรณ์แบบและซับซ้อนของทั้งผลงาน แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล (LM Perpetual), แอลเอ็ม สปลิท เอสเคปเมนท์ (LM Split Escapement) และแอลเอ็ม ธันเดอร์โดม (LM Thunderdome) โดยในปี ค.ศ. 2019 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญกับการสร้างสรรค์ เอ็มบีแอนด์เอฟี แมชชีน รุ่นแรกที่อุทิศให้กับสุภาพสตรี นั่นคือ แอลเอ็ม ฟลายอิ้งที (LM FlyingT) และเอ็มบีแอนด์เอฟได้เฉลิมฉลอง 10 ปีของ เลกาซี แมชชีน ในปี ค.ศ. 2021 ด้วย แอลเอ็มเอ็กซ์ (LMX) ซึ่งโดยปกติแล้ว เอ็มบีแอนด์เอฟจะสลับระหว่างการเปิดตัว ออโรโลจิคัล แมชชีน อันร่วมสมัยและแปลกแหวกแนวไปจากประเพณีดั้งเดิม กับผลงานของ เลกาซี แมชชีน ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่

โดยมี เอฟ (F) ที่หมายถึงผองเพื่อน (Friends) และเป็นไปโดยธรรมชาติที่ เอ็มบีแอนด์เอฟได้พัฒนาความร่วมมือขึ้นมากมายร่วมกับเหล่าศิลปิน ช่างนาฬิกา นักออกแบบ และผู้ผลิต ที่พวกเขาต่างยกย่อง

และด้วยความร่วมมือนี้เองที่ได้นำพามาซึ่งสองสาขาใหม่ นั่นคือศิลปะการแสดง (Performance Art) และความร่วมมือแห่งการสร้างสรรค์ (Co-creations) ขณะที่ชิ้นงานศิลปะการแสดงนั้นคือแมชชีนรุ่นต่างๆ ของ เอ็มบีแอนด์เอฟ ที่ได้นำมากลับมารังสรรค์ใหม่อีกครั้งโดยผู้เชี่ยวชาญและเปี่ยมด้วยพรสวรรค์จากนอกองค์กร กับความร่วมมือแห่งการสร้างสรรค์ต่างๆ ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงนาฬิกาข้อมือ แต่ยังรวมไปถึงประเภทอื่นๆ ของเครื่องยนต์จักรกลหรือแมชชีน ที่ผ่านการคิดค้นทางวิศวกรรมและรังสรรค์ขึ้นด้วยงานฝีมือโดยเหล่าผู้ผลิตนาฬิกาสวิสจากแนวคิดและงานออกแบบของเอ็มบีแอนด์เอฟ และผลงานหลายๆ ชิ้นจากความร่วมมือแห่งการสร้างสรรค์เหล่านี้ อาทิ นาฬิกาคล็อกบอกเวลาที่สร้างสรรค์ขึ้นร่วมกับ เลเป 1839 (L’Epée 1839) เช่นเดียวกับความร่วมมืออื่นๆ กับ รูช (Reuge) และคารันดาช (Caran d’Ache) ได้สร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบของศิลปะจักรกลไว้ด้วยกัน

และเพื่อมอบสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์จักรกลหรือแมชชีนเหล่านี้ทั้งหมด บูซเซอร์ได้มีแนวคิดของการจัดแสดง ผลงานเหล่านี้ไว้ภายในแกลลอรีศิลปะ ร่วมไปกับอีกหลากหลายรูปแบบของศิลปะจักรกลที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยศิลปินแขนงอื่นๆ ที่เป็นมากไปกว่าการจัดแสดงหน้าร้านเหมือนทั่วไป และนั่นได้นำมาสู่การสร้างสรรค์ของเอ็มบีแอนด์เอฟ แมดแกลลอรี (MB&F M.A.D.Gallery) (M.A.D. หมายถึง Mechanical Art Devices) แห่งแรกขึ้นในเจนีวา ซึ่งต่อมายังได้เปิดตัวตามมาโดยเหล่าแมดแกลลอรีแห่งต่างๆ ทั้งในไทเป ดูไบ และฮ่องกง

มากไปกว่านั้น ยังมีรางวัลอันโดดเด่นอีกมากมายที่ย้ำเตือนถึงธรรมชาติแห่งนวัตกรรมการเดินทางสร้างสรรค์สำหรับเอ็มบีแอนด์เอฟ ซึ่งหากจะกล่าวถึงบางส่วนแล้ว มีไม่น้อยกว่า 7 รางวัลจากเวทีอันมีชื่อเสียงและทรงเกียรติสูงสุดของ กรังด์ ปรีซ์ เดอ’ออร์โลเฌอรี เดอ เฌแนฟ (Grand Prix d'Horlogerie de Genève) เช่นในปี ค.ศ. 2021 เอ็มบีแอนด์เอฟ ได้รับสองรางวัลอันทรงเกียรติ โดยรางวัลหนึ่งสำหรับผลงานรุ่น แอลเอ็มเอ็กซ์ (LMX) ในฐานะนาฬิกาสลับซับซ้อนสำหรับสุภาพบุรุษยอดเยี่ยม (Best Men’s Complication) และอีกหนึ่งรางวัลจาก แอลเอ็ม เอสอี เอ็ดดี้ ฌาเกต์ ‘อะราวนด์ เดอะ เวิลด์ อิน เอจตี้ เดย์ส’ (LM SE Eddy Jaquet ‘Around The World in Eighty Days’) ในประเภท ‘งานหัตถศิลป์’ (‘Artistic Crafts’) ขณะที่ในปี ค.ศ. 2019 จากรางวัลนาฬิกาสลับซับซ้อนสำหรับสุภาพสตรียอดเยี่ยม (Best Ladies Complication) ที่มอบให้กับแอลเอ็ม ฟลายอิ้งที (LM FlyingT) และในปี ค.ศ. 2016 จาก แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล (LM Perpetual) ที่ชนะรางวัลนาฬิกาปฏิทินยอดเยี่ยม (Best Calendar Watch) หรือเช่นในปี ค.ศ. 2012 ที่ เลกาซี แมชชีน นัมเบอร์ 1 (Legacy Machine No.1) ได้คว้ารางวัลทั้งในสาขารางวัลสาธารณชน (Public Prize) (ซึ่งโหวตโดยเหล่าคนรักเรือนเวลา) และรางวัลนาฬิกาสุภาพบุรุษยอดเยี่ยม (Best Men’s Watch Prize) (โหวตให้โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ) และในปี ค.ศ. 2010 เอ็มบีแอนด์เอฟ ชนะรางวัลนาฬิกาคอนเซปต์และงานออกแบบยอดเยี่ยม (Best Concept and Design Watch) จากผลงานรุ่น เอชเอ็ม4 ธันเดอร์-โบลต์ (HM4 Thunderbolt) ส่วนในปี ค.ศ. 2015 เอ็มบีแอนด์เอฟได้รับรางวัลยอดเยี่ยมของเรด ดอท (Red Dot: Best of the Best) ซึ่งนับเป็นรางวัลสูงสุดของการมอบรางวัลระดับสากล เรด ดอท อวอร์ดส (Red Dot Awards) จากผลงานรุ่น เอชเอ็ม6 สเปซ ไพเรท (HM6 Space Pirate)