posttoday

“การบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก” ถึงเวลาปรับวิธีคิดภาครัฐกันหรือยัง?

21 กุมภาพันธ์ 2567

เวทีสัมมนา “บริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก” อีกปี เราจะสร้างความมั่นคงในทรัพยากรน้ำ ผลักดันลงทุนเศรษฐกิจสีเขียว สู่การพัฒนาพื้นที่อีอีซีและชุมชนอย่างยั่งยืนได้อย่างไร เมื่อประเทศไทยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำถึง 43 หน่วยงานใน 7 กระทรวง?

“EEC เป็นพื้นที่พิเศษ ก็ต้องมีการบริหารจัดการที่พิเศษ”

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ร่วมกับ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) และศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี เรื่อง สถานการณ์ภาคตะวันออก พ.ศ. 2567 หัวข้อ “ระบบนิเวศของภาคตะวันออก และการบริหารจัดการน้ำ” ณ หอประชุมธํารงบัวศรี มหาวิทยาลัยบูรพา 

 

โดยมี ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานมูลนิธิเสนาะ อูนากูล เป็นประธาน ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี ร่วมปาฐกถาพิเศษ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวให้การต้อนรับ พร้อมด้วยผู้เข้าร่วมเสวนา และนำเสนอกรณีศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา กรรมการมูลนิธิเสนาะ อูนากูล ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการ TDRI ดร.ดิชพงษ์ ภูมิเกียรติศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบนวัตกรรม GISTDA นายสมชาย หวังวัฒนาพาณิช ประธานสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ส.อ.ท. เป็นต้น และมีดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน TDRI ร่วมดำเนินการเสวนา

 

“การบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก” ถึงเวลาปรับวิธีคิดภาครัฐกันหรือยัง?


ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานมูลนิธิเสนาะ อูนากูล กล่าวว่า งานสัมมนาฯ ครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีกลางแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ให้มีใช้อย่างยั่งยืน ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนรวมทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาสังคม ตลอดจนสถาบันการศึกษาและเยาวชน อีกทั้งเพื่อนำเสนอ “รายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก พ.ศ. 2565” เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ให้สาธารณชนโดยรวมได้รับทราบสถานภาพปัญหาและข้อเสนอแนะนำ โดยมูลนิธิเสนาะ อูนากูล ได้จัดทำรายงานชิ้นนี้ เพื่อติดตามสถานการณ์การพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนำเสนอข้อมูลโดยสรุป หรือDashboard เรื่อง State of the Eastern Region เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงใน 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการพัฒนาในพื้นที่

 

ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวถึง การบริหารความพิเศษเพื่อโอกาสของ อีอีซี ซึ่งเป็นการพัฒนาภายใต้แนวคิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยได้ใช้ข้อมูลเดียวกับแนวคิดการพัฒนาอีอีซี กลไกในการขับเคลื่อนการลงทุนและการบริหารงานใน สกพอ. การส่งเสริมการให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ การพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจ การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซี รวมถึงสิทธิประโยชน์ และมาตรการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนที่ สกพอ. พร้อมให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 
2566 – 2570

 

“การบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก” ถึงเวลาปรับวิธีคิดภาครัฐกันหรือยัง?


สำหรับงานสัมมนาวิชาการฯ ครั้งนี้ ได้นำเสนอกรณีศึกษาในการจัดการน้ำในพื้นที่ทั้งที่ใช้ระบบเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังของชุมชน เช่น ระบบ Actionable Intelligence Policy (AIP) ที่ GISTDA ได้พัฒนาและทดลองดำเนินการเพื่อเสริมการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซี และกรณีศึกษาชุมชนในท้องถิ่นที่ บ้านมาบจันทร์ จังหวัดระยอง ซึ่งมีความเข้มแข็งในการจัดการทรัพยากรน้ำด้วยตนเอง เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพและทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำในพื้นที่

 

“การบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก” ถึงเวลาปรับวิธีคิดภาครัฐกันหรือยัง?

 

นอกจากนี้ ภายในการเสวนาโต๊ะกลม เรื่องการจัดการน้ำในภาคตะวันออก ซึ่งมี ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์  ประธาน TDRI ดำเนินการเสนวนา ได้เจาะลึกถึงข้อเสนอหลักจากรายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก พ.ศ. 2565 ดังกล่าว รวมทั้งได้มีการอภิปรายจากมุมมองของหน่วยงานภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรผู้ใช้น้ำโดยเฉพาะภาคเอกชน รวมทั้ง TDRI GISTDA สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และ สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 

 

ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้นำเสนอประเด็นสำคัญและข้อเสนอแนะนำ 4 ข้อบนเวทีโต๊ะกลม ถึงเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ดังรายละเอียด

 

1) ปรับวิธีคิดของภาครัฐในการจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยให้คำนึงถึงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความคุ้มค่าในการพัฒนาแหล่งน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำด้วยนวัตกรรมการประหยัดน้ำ เป็นต้น

 

 2) เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งภาคประชาชนและองค์กรผู้ใช้น้ำ โดยพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนเพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงพัฒนาทักษะบุคลากรในระดับท้องถิ่น ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอทางด้านการจัดสรรน้ำและการจัดการน้ำเสีย และพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจและการเรียนรู้ขององค์กรผู้ใช้น้ำ สร้างความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของแก่ผู้ใช้น้ำ องค์กรผู้ใช้น้ำต้องเข้ามามีส่วนร่วม

 

 3) พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ หรือ  Integrated Water Resource Management (IWRM) โดยเน้นย้ำว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำถึง 43 หน่วยงานใน 7 กระทรวง จึงทำให้การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการเป็นไปได้ยาก ทั้งด้านแผนงานงบประมาณกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ที่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละกระทรวงกระทรวง โดยการบูรณาการนี้จะนำไปสู่การจัดการน้ำข้ามสาขาสาขาสร้างเอกภาพระหว่างหน่วยงานต่างๆทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ โดยอาจดำเนินการในลักษณะ Sandbox ในอีอีซี โดย สนทช. ควรเป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อน IWRM โดย

 

4) เตรียมแผนรองรับ ป้องกันความแปรปรวนของสภาพพูมิอากาศ 

ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือสภาวะอากาศสุดขั้ว รวมถึงการเกิดน้ำท่วมซ้ำซากและภัยแล้งจากการที่ตำแหน่งฝนตกเปลี่ยน ฝนไม่ตกหลังเขื่อน เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน (Sustainable Water Management) 

  • สร้างสิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศสำหรับการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน เช่น การสร้างพื้นที่สีเขียว การปลูกป่า
  • สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี : สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้น้ำอย่างประหยัด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตและบริโภค
  • การส่งเสริมพลังงานพลังงานทดแทนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมขนส่งสาธารณะ ในเขตพื้นที่อีอีซี รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย

 

“การบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก” ถึงเวลาปรับวิธีคิดภาครัฐกันหรือยัง?