posttoday

Bangkok Cable ผู้นำด้านธุรกิจสายไฟกับบทบาทขับเคลื่อนไทยสู่ Smart City

28 สิงหาคม 2567

Bangkok Cable พร้อมเดินหน้าสู่ยุคใหม่ของพลังงานสะอาด เร่งพัฒนาเทคโนโลยีและขยายตลาดสู่ระดับโลก ย้ำวิสัยทัศน์ Net-Zero สร้างเมืองอัจฉริยะขับเคลื่อนไทยสู่ Smart City

นายพงศภัค นครศรี กรรมการบริหาร บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด หรือ Bangkok Cable (BCC) ผู้นำด้านการผลิตและพัฒนาสายไฟฟ้าและสายเคเบิลชั้นนำของประเทศไทย เผยว่า ในช่วงระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา บริษัทและสายไฟฟ้าของบริษัทได้มีส่วนช่วยเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคของประเทศ สร้างรากฐานการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม การพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของคนไทย อาทิ การพัฒนาสายไฟฟ้าใช้ในโครงข่ายของระบบส่งไฟฟ้าแรงสูง การริเริ่มนำสายไฟฟ้าลงดิน ตลอดจนการเชื่อมต่อสายส่งในระบบรถไฟฟ้า 

จนถึงวันนี้ที่โลกกำลังเดินหน้าสู่ยุค Net-Zero GHG Emissions มุ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ บริษัทประเมินว่าสายไฟฟ้าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญอีกมาก เนื่องจากทั่วโลกจะมีความต้องการการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึงราว 3 เท่าตัว พร้อมทั้งเปลี่ยนผ่านไปใช้แหล่งไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนถึงราว 91%ภายในปี ค.ศ.2050 ส่งผลให้จะมีความต้องการสายไฟฟ้าถึงราว 80 ล้านกิโลเมตร เพื่อใช้อัปเกรดสายไฟฟ้าเดิมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางไฟฟ้าใหม่ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานทดแทน

 “แนวโน้มในประเทศไทยเอง ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เราเห็นความต้องการสายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากหลากหลายปัจจัย ทั้งนโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ทั่วประเทศ การเดินหน้าแผนพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย หรือ Grid Modernization การขยายตัวต่อเนื่องของธุรกิจที่ต้องการใช้ไฟฟ้ามหาศาลอย่าง Data Center การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทดแทนของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้สอดคล้องกับทิศทาง Net Zero สายไฟฟ้าจะเป็นอีกหนึ่ง Key Driver ที่ช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน และขับเคลื่อนอนาคตของเมือง”

Bangkok Cable ผู้นำด้านธุรกิจสายไฟกับบทบาทขับเคลื่อนไทยสู่ Smart City

แนวโน้มการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกในอนาคตกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานสู่ Smart City

โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 และหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้คือการใช้พลังงานไฟฟ้า

จากข้อมูลในภาพ เราจะเห็นได้ว่าความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 50% ภายในปี 2050 สาเหตุหลักมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงสู่เทคโนโลยีดิจิทัล และความพยายามในการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น การผลิตพลังงานไฟฟ้าทั่วโลกจะต้องเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า และที่สำคัญคือพลังงานหมุนเวียนจะต้องมีบทบาทสำคัญในการผลิตไฟฟ้า โดยคาดการณ์ว่าพลังงานหมุนเวียนจะคิดเป็นสัดส่วนถึง 91% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2050

นอกจากนี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยทั่วโลกจะต้องมีการลงทุนในการพัฒนาและปรับปรุงระบบสายส่งไฟฟ้าทั้งสายส่งเหนือดิน สายส่งใต้ดิน และสายส่งใต้มหาสมุทร เพื่อรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงมาใช้พลังงานหมุนเวียน

Bangkok Cable ผู้นำด้านธุรกิจสายไฟกับบทบาทขับเคลื่อนไทยสู่ Smart City

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยกับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล

กรรมการบริหาร บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ลเผยว่า แนวโน้มสำคัญ 5 ประการที่กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย ได้แก่ การใช้พลังงานไฟฟ้า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การเติบโตของเมืองอัจฉริยะ เป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้า

1.การใช้พลังงานไฟฟ้า (Electrification)

เพิ่มขึ้น 30%: คาดการณ์ว่าภายในปี 2037 การใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นถึง 30% สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

2.การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digitalization)

เพิ่มขึ้น 31% ต่อปี: ศูนย์ข้อมูล (Data Center) มีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ย 31% ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัล อินเทอร์เน็ต และการทำงานจากระยะไกล

3.การเติบโตของเมืองอัจฉริยะ (Urbanization)

105 เมืองอัจฉริยะ: ภายในปี 2027 คาดว่าจะมีเมืองอัจฉริยะเกิดขึ้น 105 เมืองทั่วประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการเมืองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4.เป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (2065 Net Zero Commitment)

พลังงานหมุนเวียน 42,608 เมกะวัตต์: ประเทศไทยตั้งเป้าหมายที่จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และลมรวมกัน 42,608 เมกะวัตต์ ภายในปี 2037 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

5.การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้า (Grid Modernization)

ลงทุน 300 ล้านบาทต่อกิโลเมตร: จะมีการลงทุนเฉลี่ย 300 ล้านบาทต่อกิโลเมตร สำหรับการปรับปรุงสายเคเบิลใต้ดิน เพื่อรองรับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบไฟฟ้า
 

Bangkok Cable ผู้นำด้านธุรกิจสายไฟกับบทบาทขับเคลื่อนไทยสู่ Smart City

 

ระบบคมนาคมที่ดี พื้นฐานขับเคลื่อน Smart City

Bangkok Cable ได้ลงทุนพัฒนาระบบสายเคเบิลใต้ดินอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีสายเคเบิลใต้ดินที่มีความยาวรวมกันมากกว่า 235 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศไทย ให้ก้าวเข้าสู่ Smart CIty โดยระบบสายเคเบิลเหล่านี้ทำหน้าที่เชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าต่างๆ เข้าด้วยกัน อาทิ รถไฟฟ้า BTS และ MRT สายสีม่วง สีเขียว สีเหลือง และสีชมพู ทำให้การเดินทางของประชาชนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ระบบสายเคเบิลใต้ดินยังเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ของประเทศ ทำให้การดำเนินชีวิตและการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าระบบสายเคเบิลใต้ดินนี้เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ ที่คอยรองรับและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน
 

Bangkok Cable ผู้นำด้านธุรกิจสายไฟกับบทบาทขับเคลื่อนไทยสู่ Smart City

ความท้าทายในฐานะผู้นำด้านธุรกิจสายไฟกับบทบาทขับเคลื่อนไทยสู่ Smart City

คุณพงศภัค นครศรีเชื่อว่า คนส่วนใหญ่อยากเห็นเมืองไทยเอาสายไฟลงดินให้หมด เพราะนอกจากจะทำให้เมืองมีความสวยงามเป็นระเบียบมากขึ้น ยังเอื้อต่อการพัฒนาผังเมืองให้การใช้ชีวิตของทุกคนสะดวกขึ้น ซึ่งสำหรับ Bangkok Cable การดำเนินงานในจุดนี้ยังมีความท้าทายในด้าน “เวลาทำงาน” ที่สามารถทำได้เต็มที่เพียง 6 ชั่วโมงต่อวัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนยังสามารถดํารงชีวิตในเมืองได้ตามปกติ หากใครที่ยังใช้รถใช้ถนนตอนกลางคืน อาจสังเกตเห็นได้เวลาที่ต้องปิดถนนบางช่วง บางเลน นั่นคือการดำเนินงานของเราที่กำลังพยายามนำสายไฟลงดิน 

นอกจากนี้ เรื่องการพัฒนาคุณภาพสายไฟยังถือเป็นความท้าทายใหญ่ของบริษัทเช่นกัน โดยยึดหลักแนวคิด “เซฟคน เซฟเมือง เซฟสิ่งแวดล้อม”เพื่อยกระดับความปลอดภัยของทุกคนและขับเคลื่อนเมืองสู่อนาคต

แนวคิด “3 เซฟ” จะรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต โดยในระยะสั้น บริษัทได้พัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์แนวคิดดังกล่าว อาทิ สายไฟฟ้าแรงดันสูงพิเศษ (Extra High Voltage) ชนิด 230 กิโลวัตต์ รุ่น 230kV CE(CAS) รองรับการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางไฟฟ้า การนำสายไฟลงดินเพิ่มสุนทรียภาพของเมือง การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตัวนำอะลูมิเนียมคอมโพสิตหลัก (ACCC® Conductor) ซึ่งบริษัทเป็นผู้ผลิตรายแรกในไทย เพื่อใช้อัปเกรดระบบไฟฟ้าให้รองรับพลังงานหมุนเวียน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขณะเดียวกัน บริษัทจะเพิ่มกำลังการผลิตรวมจาก 55,000 ตันต่อปีในปัจจุบัน สู่ 60,000 ตันต่อปีภายในสิ้นปีนี้ และเพิ่มส่วนแบ่งตลาดสายไฟจาก 25% เป็น 35%

ขณะที่ในระยะกลาง 3 ปี (พ.ศ.2567-2569) บริษัทมุ่งสู่การเป็นผู้นำธุรกิจสายไฟฟ้าและสายเคเบิลในภูมิภาคอาเซียน ตอบโจทย์ความต้องการไฟฟ้าของทั้งไทยและโลก ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่

1.การขยายสู่ตลาดภูมิภาค (Global Expansion) นำงานวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่ล้ำสมัยของบริษัท นำเสนอเป็นสินค้าที่โดดเด่นสู่เวทีโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายและซัพพลายเชนของบริษัท

2.การพัฒนาโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) บูรณาการเทคโนโลยีใหม่ๆ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสายไฟ มุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0

3.การเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Growth)ฉลอง 60 ปีบางกอกเคเบิ้ล ด้วยการยึดมั่นบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตสายเคเบิ้ลที่จำเป็นในการรองรับความต้องการด้านไฟฟ้าของโลกยุค Net-Zero