posttoday

'เกรียงไกร'อัปเกรดท่าเรือไทยปูทางสู่ SMART City เทียบชั้นระดับโลก

12 พฤศจิกายน 2567

'เกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข' ผอ.การท่าเรือ ชู SMART CONNECTIVITY ใช้เทคโนโลยี ลดก๊าซคาร์บอนเพิ่มประสิทธิภาพขนส่งสินค้า อัปเกรดท่าเรือคลองเตย เป็นคอมเมอร์เชียลกับบิ๊กยูส ปูทางสู่ SMART City เขตเศรษกิจพิเศษใหม่

เมื่อวันที่ 12 พ.ย.67 นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กล่าวในงานสัมนา Thailand Smart City 2025 “การจัดการเมืองอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีและ AI เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต” SESSION 3 : SMART CONNECTIVITY เครือข่ายเชื่อมโยงอัจฉริยะ โดยโพสทูเดย์ ร่วมกับ สปริงนิวส์ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม ชั้น 6 โรงแรม อิสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯว่า การท่าเรือให้ความสำคัญกับการเป็น Smart port เรามีทั้งท่าเรือส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพต่างมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ การขนส่งสินค้าทางเรือมีต้นทุนต่ำและมีความปลอดภัย

นายเกรียงไกร กล่าวว่า เป็นครั้งแรกในประวัติศาสสตร์ ท่าเรือของไทยได้เพิ่มขีดความสามารถขนส่งสินค้าได้10.7ล้านตู้ อีกทั้งมีการนำเข้าและส่งออกใกล้เคียงกันและเราให้ความสำคัญกับการดึงศักยภาพของท่าเรือชั้นนำโลกนำมาปรับใช้กับท่าเรือในประเทศ การเป็นท่าเรือ สมาร์ทแอนด์กรีนพอต มีภารกิจสำคัญคือการออกแบบทั้งระบบ ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมนำเทคโนโลยีระบบ AI เข้ามาใช้ให้เป็นจุดสนใจจากทั่วโลก เป็นเกตเวย์ เป็นฮับการขนส่งเชื่อมโยง ทำระบบเรียลไทม์ เชื่อมโยงเพื่อให้บริการเป็นเลิศ เพื่อเป็นท่าเรือระดับชั้นนำของโลก
 

"ขอยกตัวอย่างที่เรากำลังจะไป นำของต่างประเทศกลับมาพัฒนาท่าเรือไทย อย่างท่าเรือแหลมฉบังวันนี้อยู่ที่ ลำดับ 17ของโลกถือว่าดีที่สุดเราจะพบว่า จีนติดอันดับต้นๆ เพราะมุ่งลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และนำเทคโนโลยีมาใช้ การขนส่งสินค้าใช้ระบบอัตโนมัติ ไร้คนขับ การนำรถ AGVมาลำเลียงสินค้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดรวดเร็วและไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกิดฝัน"นายเกรียงไกร กล่าว

นายเกรียงไกร ระบุด้วยว่า การวางแผนเรื่องของการทำสมาร์ทแอนด์กรีนพอร์ตต้องเริ่มต้นจากการทำมาสเตอร์แพลน นำระบบเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น AI ระบบการติดตามระบบต่างๆ การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง มีการถมพื้นที่2,000กว่าไร่ อีก2ปีจะแล้วเสร็จ เพิ่มขีดความสามารถอีก 7ล้านตู้ เชื่อว่าจะเป็นฮับเซ็นเตอร์จะเกิดขึ้นได้จริง

ส่วนการพัฒนา ท่าเรือกรุงเทพ ปรับจากเดิมใช้พื้นที่ 1ใน 3ให้เป็นท่าเรือที่มีความทันสมัย อีก2ส่วนจะเป็นคอมเมอร์เชียลกับบิ๊กยูส การแปลงของเสียให้เป็นของดี นำพลังงานไฟฟ้ามาขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดสมาร์ทคอมมูนิตี้ อยู่ด้วยกันกับชุมชนโดยไม่ทิ้งกัน สมาร์ท พอตใหม่ จะรองรับเรือท่องเที่ยว มีดิวตี้ฟรี เป็นเมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่ เชื่อมโยงรถไฟฟ้าใต้ดิน จะดำเนินการออกแบบให้เป็นท่าเรืออัจฉริยะ ท่าเรือสีเขียวและอำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจด้วย