posttoday

ใช้ “รถบัสชวนคุย” เมื่อความเหงาอันตรายเท่ากับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน!

29 พฤศจิกายน 2567

รู้หรือไม่ความเหงาเป็นภัยคุกคามระดับโลก และยังมีผลต่อสุขภาพอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักร ส่งผลให้รัฐบาลไม่อาจนิ่งเฉย เพราะผลการวิจัยระบุว่า 3 ใน 10 ของชาวอังกฤษจะมีหนึ่งวันเต็มๆ ที่ไม่ได้พูดคุยกับใครเลยในแต่ละสัปดาห์ แคมเปญสร้างสรรค์อย่าง “Chatty Bus” จึงเริ่มขึ้น!

เมื่อปัญหาเรื่องความเหงาใหญ่กว่าที่เราคิด ทำให้บริษัทขนส่ง Go-Ahead ผู้ให้บริการรถเมล์ใหญ่เป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร ได้จัดการกับปัญหาความเหงาทั่วสหราชอาณาจักรด้วยโครงการ “รถเมล์ชวนคุย” หรือ Chatty Bus ซึ่งเป็นโครงการพิเศษเพื่อช่วยทั้งผู้โดยสารและพนักงานในบริษัท

 

โครงการรถเมล์ชวนสนทนาเปิดตัวขึ้นเพื่อตอบสนองต่อกลยุทธ์ลดความเหงาความโดดเดี่ยวของผู้คนของรัฐบาลอังกฤษตั้งแต่เดือนมกราคม 2019 และได้มีการปรับเปลี่ยนโครงการนี้เรื่อยมาให้เหมาะสมกับผู้โดยสารในชุมชนต่างๆ รวมทั้งหัวข้อในการชวนคุย

 

ส่งผลให้บริษัทในเครือสร้างสรรค์ไอเดียชวนคุยอื่นๆ เช่นชุมชน East Yorkshire มีการสร้างเครือข่าย ‘แชมเปี้ยนชวนคุย’ หรือ Chatty Champion โดยมีคนขึ้นไปชวนคุยบนรถเมล์ในวันเวลาที่กำหนดเพื่อสร้างสรรค์บทสนทนากับผู้คนบนรถเมล์และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชน

 

ใช้  “รถบัสชวนคุย” เมื่อความเหงาอันตรายเท่ากับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน!

 

Go South Coast ได้วางรถเมล์ในใจกลางเมืองและมีแคมเปญชวนคุย “Conversation Starter” เรียกน้ำย่อยบทสนทนาด้วยเรื่องที่คนสนใจ เช่น เปียโน และมีทูตชวนคุยนำคนในชุมชน ที่เรียกว่า Guide Dogs กระตุ้นผู้คนในชุมชนให้เข้ามาคุยกันด้วย

 

Go East Anglia เป็นอีกหนึ่งผู้นำในแคมเปญนี้ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา บริษัทในเครือ Konectbus ได้โฟกัสไปที่มหาวิทยาลัย โดยมีนักศึกษากว่า 50% ที่ยอมรับว่า รู้สึกเหงาหรือโดดเดี่ยวในบางช่วงของชีวิตในมหาวิทยาลัย

 

บริษัทขนส่งนี้มีแผนที่จะจัดกิจกรรมเป็นประจำที่วิทยาเขต Norwich ของมหาวิทยาลัย East Anglia เพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจถึงความสำคัญของการเปิดใจ โดยเฉพาะเกี่ยวกับสุขภาพจิตของพวกเขา

 

 

ใช้  “รถบัสชวนคุย” เมื่อความเหงาอันตรายเท่ากับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน!

 

วัตถุประสงค์สำคัญของโครงการ Chatty Bus 

1. ลดความเหงา: การสร้างโอกาสให้ผู้คนได้สนทนาและสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างการเดินทาง

2. ส่งเสริมสุขภาพจิต: สนับสนุนให้ผู้โดยสารและพนักงานเปิดใจพูดคุยเรื่องสุขภาพจิต เพื่อสร้างความเข้าใจและลดความรู้สึกโดดเดี่ยว

3. สร้างความเป็นชุมชน: เสริมสร้างสปิริตของชุมชนผ่านการสนทนาและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

 

โครงการนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีและถูกปรับให้เหมาะสมกับความต้องการและลักษณะของแต่ละชุมชน ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการลดความเหงาและการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้คน

 

ปัญหาความเหงาเป็นปัญหาระดับโลก ไม่ใช่เพียงในสหราชอาณาจักร เพราะองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ ความเหงา (Loneliness) กลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพระดับโลก โดยระบุว่า ความเหงาอาจอันตรายเทียบได้กับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน