"Traffy Fondue" ถอดบทเรียนแผ่นดินไหว ยกระดับความปลอดภัยในเมือง

31 มีนาคม 2568

"Traffy Fondue" แพลตฟอร์มแจ้งเหตุเมืองกับกรณีศึกษาแผ่นดินไหวกรุงเทพ เชื่อมโยงผู้ประสบภัยกับภาครัฐด้วยปลายนิ้ว

ชีพธรรม คำวิเศษณ์ ผู้ช่วย สุธรรม แสงประทุม สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้นำเสนอรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับ

 

“Traffy Fondue : แพลตฟอร์มบริหารจัดการรายงานปัญหาเมือง แนะนำการใช้งาน และ กรณีศึกษาแผ่นดินไหวกรุงเทพฯ” ผ่านแพลตฟอร์ม X (เดิม Twitter) 

 

พร้อมทั้งนำเสนอกรณีศึกษาสำคัญจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 โดยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้

 

\"Traffy Fondue\" ถอดบทเรียนแผ่นดินไหว ยกระดับความปลอดภัยในเมือง

 

กรณีศึกษา “บทบาทของ Traffy Fondue กับแผ่นดินไหวกรุงเทพฯ”

 

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูดในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งส่งผลให้กรุงเทพมหานครรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนและเกิดความเสียหายในหลายพื้นที่

 

เหตุการณ์นี้ได้กลายเป็นกรณีศึกษาสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ Traffy Fondue ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

ภายหลังเกิดแผ่นดินไหว ประชาชนในกรุงเทพฯ ได้รายงานความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายของอาคารผ่าน Traffy Fondue ประมาณ 9,500 กรณี

 

โดยส่วนใหญ่เป็นรายงานเกี่ยวกับรอยร้าวบนตัวอาคาร แม้ว่าจะมีรายงานจำนวนมาก แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ชี้แจงว่า

 

รอยร้าวหลายแห่งเป็นเพียงความเสียหายภายนอกที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างหลัก

 

\"Traffy Fondue\" ถอดบทเรียนแผ่นดินไหว ยกระดับความปลอดภัยในเมือง

Traffy Fondue มีบทบาทสำคัญในการประสานงานระหว่างประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

โดยกรุงเทพมหานคร (BMA) ได้ส่งวิศวกรอาสาสมัครเข้าตรวจสอบความเสียหายตามรายงานที่ได้รับ และจัดเตรียมที่พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

 

กรุงเทพมหานคร (BMA) ยังได้ร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมืองในการวางแผนการตรวจสอบอาคารต่างๆ โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ประชาชนแจ้งเข้ามาผ่านแพลตฟอร์ม

 

นอกจากการรับแจ้งเหตุแล้ว Traffy Fondue ยังถูกใช้เป็นช่องทางในการให้ข้อมูลและมาตรการความปลอดภัยแก่ประชาชนภายหลังเกิดแผ่นดินไหว

 

BMA ได้เปิดสายด่วนและสั่งการให้เจ้าของอาคารขนาดใหญ่ทำการตรวจสอบอาคารเป็นประจำทุกปี

\"Traffy Fondue\" ถอดบทเรียนแผ่นดินไหว ยกระดับความปลอดภัยในเมือง

 

Traffy Fondue คืออะไร

 

Traffy Fondue ถูกออกแบบมาเพื่อเป็น "แม่สื่อ" ที่เชื่อมโยงประชาชนผู้ประสบปัญหาในเมืองกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

 

โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถรายงานปัญหาต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ผ่านแอปพลิเคชันบนระบบ Android และ  iOS

 

ที่สำคัญคือ LINE Chatbot (@traffyfondue) ซึ่งเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย 

 

Traffy Fondue ใช้ยังไง

 

การใช้งาน Traffy Fondue นั้นง่ายดาย เพียงถ่ายภาพปัญหา ระบุประเภท และแชร์ตำแหน่งที่เกิดเหตุ

 

ระบบจะทำการส่งรายงานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยอัตโนมัติ ประชาชนยังสามารถติดตามสถานะการแก้ไขปัญหาได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ

 

สำหรับหน่วยงานภาครัฐ Traffy Fondue มาพร้อมกับระบบการจัดการและติดตามเรื่องร้องเรียน ช่วยคัดแยกประเภทปัญหาและส่งต่อไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

 

นอกจากนี้ ฟังก์ชัน Traffy Fondue Manager บน LINE ยังช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถจัดการเคสต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา

 

\"Traffy Fondue\" ถอดบทเรียนแผ่นดินไหว ยกระดับความปลอดภัยในเมือง

 

Traffy Fondue เครื่องมือจัดการปัญหาเมืองครอบคลุมทั่วประเทศ

 

รายงานระบุว่า Traffy Fondue ถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ทั้งในระดับจังหวัดและองค์กรต่างๆ โดยมีหน่วยงานภาครัฐกว่า 15,000 แห่ง และภาคเอกชนกว่า 3,000 แห่งใช้งานแพลตฟอร์มนี้ 

 

ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2566 เผยว่ามีการรับเรื่องร้องเรียนผ่าน Traffy Fondue กว่า 940,000 เรื่อง

 

และแก้ไขปัญหาสำเร็จแล้วถึง 77% เฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีการรายงานปัญหาแล้วกว่า 380,704 เรื่อง

 

และแก้ไขได้กว่า 279,184 เรื่อง ซึ่งปัญหาที่ถูกรายงานเข้ามามากที่สุด ได้แก่ ถนน ทางเท้า น้ำท่วม ความปลอดภัย แสงสว่าง และความสะอาด

 

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ Traffy Fondue สามารถพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต รายงานเสนอแนะให้มีการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ ขยายขอบเขตการใช้งานไปยังบริการอื่นๆ ของภาครัฐ

 

ส่งเสริมการใช้งานผ่านกิจกรรมประชาสัมพันธ์ และบูรณาการเข้ากับแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเมืองและการรับมือกับภัยพิบัติ

 

ซึ่งการลงทุนอย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มผลกระทบระยะยาวของ Traffy Fondue ต่อการบริหารจัดการเมืองในประเทศไทย

 

Thailand Web Stat