posttoday

‘ลิกเตนสไตน์’ อีกประเทศที่ประกาศสมรสเท่าเทียมในเดือน ม.ค.2025

12 มกราคม 2568

อีกหนึ่งประเทศที่ประชาชนสามารถสมรสเท่าเทียมได้ในเดือนมกราคม 2025 ตีคู่มากับประเทศไทยคือ ‘ลิกเตนสไตน์’ ประเทศที่ประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก แต่เรื่องสิทธิมนุษยชนก็สูงลิบไม่แพ้ที่ใดในโลก

KEY

POINTS

  • ลิกเตนสไตน์ใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมวันที่ 1 มกราคม 2025
  • ลิกเตนสไตน์เป็นประเทศอนุรักษ์นิยมแต่มีพัฒนาการด้านกฎหมายที่รับรองสิทธิมนุษยชนแก่ LGBTQIA+ มาโดยตลอด
  • เปิด 38 รายชื่อประเทศ (รวมไทย) ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ณ ปัจจุบัน

ลิกเทนสไตน์ เป็นประเทศที่ถือว่ามีพัฒนาการในด้านสิทธิและการยอมรับความหลากหลายเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าลิกเตนสไตน์จะเป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือสาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ซึ่งก่อนหน้าปี 2023 ศาสนจักรได้มีการต่อต้านได้เรื่องของการแต่งงานในเพศเดียวกันมาอย่างสม่ำเสมอ แต่กลายเป็นว่าลิกเตนสไตน์มีความก้าวหน้าในเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก  และล่าสุดได้ประกาศให้การสมรสเท่าเทียมถูกกฎหมายและเริ่มใช้ก่อนประเทศไทย โดยให้ใช้ได้ในวันที่ 1 มกราคม 2025 ที่ผ่านมา

 

ภูมิทัศน์ของประเทศลิกเตนสไตน์

 

ความเป็นมาของกฎหมายสมรสเท่าเทียมฉบับนี้ เริ่มจากในเดือนพฤศจิกายน 2022 สภาแห่งชาติได้ผ่านญัติติเรียกร้องให้รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายเพื่อรองรับการสมรสเพศเดียวกัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายพรรคการเมือง ร่างกฎหมายดังกล่าวจึงถูกเสนอในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 และผ่านการลงมติครั้งสุดท้ายในสภาแห่งชาติไปเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2024 ด้วยคะแนนเสียง 24 ต่อ 1  และกฎหมายดังกล่าวได้มีการลงพระปรมาภิไธยจากเจ้าชายอะลอยส์ (Prince Alois) เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2024  ทำให้ลิกเตนสไตน์กลายเป็นประเทศที่ 22 ของยุโรปและเป็นประเทศที่ 37 ของโลกที่รับรองการสมรสเพศเดียวกัน

 

ใช้กฎหมายการจดทะเบียนคู่ชีวิตมานานกว่า 14 ปี

ลิกเตนสไตน์ ได้เริ่มให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2011 ซึ่งกลายเป็นประเทศที่สองในโลกที่ผ่านกฎหมายการจดทะเบียนคู่ชีวิตผ่านประชามติ ต่อจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์  แต่กฎหมายที่รองรับสิทธิของการจดทะเบียนคู่ชีวิตนั้นไม่ได้รวมถึงการอนุญาตในเรื่องการรับบุตรบุญธรรมร่วมกันหรือสิทธิทางศาสนาที่ยังทำไม่ได้ แต่สิทธิเรื่องการจัดการเงินและทรัพย์สินสามารถมีสิทธิได้เช่นเดียวกับผู้ที่แต่งงานทุกประการในคราวแรก

 

ยินยอมให้สามารถรับบุตรบุญธรรมได้ก่อนหน้าการมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม

วันที่ 15 มิถุนายน 2021 ลิกเตนสไตน์ไปไกลกว่านั้น โดยศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินว่าคู่รักที่จดทะเบียนคู่ชีวิตควรมีสิทธิในการรับบุตรบุญธรรม แม้ในเวลานั้นยังไม่มีการประกาศสมรสเท่าเทียมก็ตาม โดยศาลให้เวลาแก่รัฐสภา 1 ปีในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลจากคราวนั้นรัฐบาลได้ร่างกฎหมายซึ่งผ่านการอนุมัติในวันที่ 6 พฤษภาคม 2022 แม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งไม่อยากให้คู่รักเพศเดียวกันเข้าถึงสิทธิการรับบุตรบุญธรรมและการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ก็ตาม  ซึ่งทำให้กฎหมายดังกล่าวได้รับการอนุมัติและมีผลบังคับใช้เป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน 2023

 

ประเด็นด้านศาสนายังคงเห็นการต่อต้านจากคริสตจักรลูเธอรัน แต่คริสตจักรคาทอลิกเปิดกว้างมากขึ้น

อีกประเด็นหนึ่งที่ยังคงค้างเติ่งอยู่ คือสิทธิทางด้านศาสนา โดยศาสนจักรโรมันคาทอลิกคัดค้านการสมรสเพศเดียวกัน และไม่อนุญาตให้บาทหลวงประกอบพิธีสมรสดังกล่าว ซึ่งมีการโจมตีจากอาร์คบิชอบในประเด็นนี้ว่าเป็นสิ่งที่ผิด

ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคม 2023 วาติกันได้เผยแพร่เอกสารชื่อ Fiducia supplicans ซึ่งเป็นประกาศที่อนุญาตให้บาทหลวงคาทอลิกสามารถอวยพรคู่รักที่ไม่ถือว่าแต่งงานตามคำสอนของศาสนจักร รวมถึงการอวยพรคู่รักเพศเดียวกัน แต่สหพันธ์คริสตจักรลูเธอรันแห่งสวิตเซอร์แลนด์และราชรัฐลิกเตนสไตน์ ไม่ได้ประกอบพิธีสมรสเดียวกันให้ ซึ่งท่ามกลางบางหลวงของคริสตจักร ก็มีบาทหลวงที่ได้ออกมาเรียกร้องให้เกิดการยอมรับคู่รักเพศเดียวกันอยู่เรื่อยๆ

 

ทำเนียบรัฐบาลของประเทศลิกเตนสไตน์

 

รายชื่อประเทศที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ณ ปัจจุบัน

ยุโรป

  1. เนเธอร์แลนด์ (2001)
  2. เบลเยียม (2003)
  3. สเปน (2005)
  4. นอร์เวย์ (2009)
  5. สวีเดน (2009)
  6. โปรตุเกส (2010)
  7. ไอซ์แลนด์ (2010)
  8. เดนมาร์ก (2012)
  9. ฝรั่งเศส (2013)
  10. อังกฤษและเวลส์ (2013)
  11. สก็อตแลนด์ (2014)
  12. ลักเซมเบิร์ก (2014)
  13. ไอร์แลนด์ (2015)
  14. ฟินแลนด์ (2017)
  15. มอลตา (2017)
  16. เยอรมนี (2017)
  17. ออสเตรีย (2019)
  18. สวิตเซอร์แลนด์ (2022)
  19. สโลเวเนีย (2023)
  20. อันดอร์รา (2023)
  21. เอสโตเนีย (2024)
  22. กรีซ (2024)
  23. ลิกเตนสไตน์ (2025)

 

อเมริกาเหนือ

  1.  แคนาดา (2005)
  2. สหรัฐอเมริกา (2015)
  3. เม็กซิโก (nationwide by 2022)
  4. คิวบา (2022)

 

อเมริกาใต้

  1. อาร์เจนตินา (2010)
  2. บราซิล (2013)
  3. อุรุกวัย (2013)
  4. โคลัมเบีย (2016)
  5. เอกวาดอร์ (2019)
  6. ชิลี (2022)

 

เอเชีย

1. ไต้หวัน (2019)

2. ไทย (2025)

 

แอฟริกา

1. แอฟริกาใต้ (2006)

 

โอเชียเนีย

1. นิวซีแลนด์ (2013)

2. ออสเตรเลีย (2017 )