posttoday

5 สตาร์ทอัพ ปรับวิถีทำนาสู้โลกร้อน หนุนเกษตรยั่งยืน

20 ตุลาคม 2567

เพราะการปลูกข้าวแบบดั้งเดิม ใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่งผลให้สภาพดินเสื่อมโทรม ผลผลิตลดลง แต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ชาวนาจึงต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยการผลิตทางการเกษตรให้เกิดความยั่งยืน

          บนพื้นที่แปลงนาสาธิตจำนวน 12 ไร่ ณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จากการสนับสนุนงบประมาณโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ Asian Development Bank (ADB) ที่ต้องการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมการปลูกข้าวในอนาคต ทั้งด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นการช่วยให้เกษตรกรพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

          ทำให้ 5 สตาร์ทอัพ ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA มีโอกาสนำนวัตกรรมที่มียกระดับการปลูกข้าวตลอดห่วงโซ่ ตั้งเริ่มเริ่มเตรียมดินไปจนถึงการส่งออก

สตาร์ทอัพ 5 ราย ที่พร้อมเข้ามาร่วมเปลี่ยนห่วงโซ่การทำนาข้าวเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย ไบโอม ,ลิสเซินฟิลด์, อีซี่ไรซ์ ,บอร์นไทยแลนด์ และวาริชย์ 

          ไบโอม คือ เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรในกลุ่มของจุลินทรีย์คึกคัก ที่ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์แบบเฉพาะเจาะจง ให้สามารถฟื้นฟูคุณภาพดินจากสารเคมีตกค้าง พร้อมทั้งเพิ่มผลผลิตให้เกิดขึ้นไปพร้อมกัน สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีได้ ช่วยลดความต้องการในการใช้ปุ๋ยเคมีลดลงได้อย่างต่อเนื่อง 

5 สตาร์ทอัพ ปรับวิถีทำนาสู้โลกร้อน หนุนเกษตรยั่งยืน

          ลิสเซินฟิลด์ เทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำด้วยข้อมูลเกษตรที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อช่วยเกษตรกรผู้ปลูกข้าว สามารถวางแผนการเกษตรให้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการผลิต และลดการสูญเสีย 

5 สตาร์ทอัพ ปรับวิถีทำนาสู้โลกร้อน หนุนเกษตรยั่งยืน

          อีซี่ไรซ์ โซลูชันตรวจสอบพันธุ์ข้าวและคุณภาพข้าวด้วย AI พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและตรวจสอบพันธุ์ข้าวเพื่อลดการเจือปนในการปลูก และเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพข้าวด้วยระบบตรวจวัดคุณภาพข้าวแบบดิจิทัลโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์และบิ๊กดาต้า ที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

5 สตาร์ทอัพ ปรับวิถีทำนาสู้โลกร้อน หนุนเกษตรยั่งยืน            บอร์นไทยแลนด์ แพลตฟอร์มตลาดสินค้าออนไลน์ สำหรับสินค้าชุมชนสนับสนุนเอกลักษณ์ภูมิปัญญาทั่วไทย ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service) สำหรับเกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าเกษตรและแปรรูปที่ต้องการพัฒนาแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้ได้มาตรฐาน และสามารถส่งออกได้ 

5 สตาร์ทอัพ ปรับวิถีทำนาสู้โลกร้อน หนุนเกษตรยั่งยืน

          วาริชธ์ บริการแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง และสร้างช่องทางจำหน่ายออนไลน์และออฟไลน์แบบครบวงจร ด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวรูปแบบใหม่ที่ใช้การทอดกรอบแบบสูญญากาศ เพื่อลดของเสียจากอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร

5 สตาร์ทอัพ ปรับวิถีทำนาสู้โลกร้อน หนุนเกษตรยั่งยืน

          กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการปลูกข้าวคือ ปัญหาภาวะโลกร้อน และความไม่แน่นอนของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อกลุ่มแรงงานในภาคเกษตร ที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำนาลดลง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร เช่น ดิน พันธุ์ข้าว แหล่งน้ำ การทิ้งช่วงของฝน และอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบและปัจจัยสำคัญตลอดฤดูกาลทำนา การเจริญเติบโตและการเก็บเกี่ยว รวมทั้งคุณภาพของผลผลิต 

          จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมวิถีการทำนารูปแบบใหม่ที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยขับเคลื่อน เพื่อให้อุตสาหกรรมการเกษตรไทยสามารถเติบโตได้ในทุกการเปลี่ยนแปลง

5 สตาร์ทอัพ ปรับวิถีทำนาสู้โลกร้อน หนุนเกษตรยั่งยืน

กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA          

          การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเกษตร และเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรมีนวัตกรรมเข้ามาช่วยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการทำนาของเกษตรกรในช่วงฤดูเพาะปลูก

การทำแปลงนาสาธิตจะช่วยให้เกษตรกรเกิดความเข้าใจและเปิดใจยอมให้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนวิถีการทำเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การทำเกษตรแบบสมาร์ทฟาร์ม ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรที่ทำอาชีพปลูกข้าวมีผลผลิตที่มีคุณภาพ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมการปลูกข้าวสามารถเติบโตไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน

          สำหรับการจัดสรรเงินทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนั้น ศรีนิวะสัน อันชา  ที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ADB อธิบายว่า โครงการสาธิตการปลูกข้าวยั่งยืนฯ เป็นหนึ่งโครงการที่ ADB ให้การสนับสนุน ซึ่ง ADB ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชนบทและความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงได้มีการจัดสรรเงินทุนเพื่อสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากกว่า 170 โครงการ มูลค่า 26 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 858 พันล้านบาท 

โครงการสาธิตการปลูกข้าวยั่งยืนฯ มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมการปลูกข้าวในอนาคต ทั้งด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นการช่วยให้เกษตรกรพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 

5 สตาร์ทอัพ ปรับวิถีทำนาสู้โลกร้อน หนุนเกษตรยั่งยืน

          อีกทั้งโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือระดับภูมิภาคแม่โขงที่เรียกว่า Greater Mekong Subregion ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549 มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาภาคเกษตรและความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 

          ดังนั้นหากโครงการสาธิตนี้ประสบความสำเร็จ ADB อาจขยายผลเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในอนาคต เช่นเดียวกับโครงการปลูกข้าวคาร์บอนต่ำคุณภาพสูงในเวียดนาม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1 ล้านเฮกตาร์