เจาะต้นตอ ระบบแจ้งเตือนภัยผ่านมือถือ ล่าช้า อยู่ที่ใคร

01 เมษายน 2568

ระบบแจ้งเตือนภัยผ่านมือถือล่าช้า อยู่ที่ใคร โพสต์ทูเดย์ พาไขคำตอบ เมื่อ เรย์แด้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล ชนะประมูล และต้องทำให้เสร็จภายในเดือน ก.ค.นี้

ชัดเจนแล้ว สำหรับการทำระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยได้รับการยืนยันจาก น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่าประชาชนจะสามารถใช้งานได้ในเดือน ก.ค. 2568 ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เพิ่งประกาศผู้ชนะการเสนอราคา คือ บริษัท เรย์แด้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ด้วยมูลค่าในการพัฒนาระบบ 430 ล้านบาท ตามที่โพสต์ทูเดย์ได้เสนอไปก่อนหน้านี้ https://www.posttoday.com/smart-sme/721846

โพสต์ทูเดย์ พาทำความเข้าใจระบบระบบ Cell Broadcast ว่าทำงานอย่างไร และทำไมประเทศไทยถึงยังไม่สามารถใช้งานได้ https://www.posttoday.com/smart-city/713429

Cell Broadcast คือ ระบบแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจงพื้นที่ จะเป็นการส่งข้อความเตือนภัยแบบส่งตรงจากเสาส่งสัญญาณสื่อสารในพื้นที่ ไปยังโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องในบริเวณนั้น แม้ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ แตกต่างจากระบบ SMS ทั่วไป เพราะไม่จำเป็นต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งจะทำให้การสื่อสารข้อมูลเตือนภัยทำได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทั้งพื้นที่เกิดเหตุ โดยประชาชนไม่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันใดๆ

เจาะต้นตอ ระบบแจ้งเตือนภัยผ่านมือถือ ล่าช้า อยู่ที่ใคร

สำหรับโครงสร้างของการนำเทคโนโลยี Cell Broadcast Service แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ  

ฝั่งที่ 1 : ดำเนินการและดูแล โดย ศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ ผ่านระบบ Cell Broadcast Entities (CBE) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการกำหนดเนื้อหาและพื้นที่ในการจัดส่งข้อความ ประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ อาทิ การบริหารจัดการระบบ (Administrator), การจัดการข้อความที่จะสื่อสาร (Message Creator ) และ การอนุมัติยืนยันความถูกต้อง (Approver) 

ฝั่งนี้เป็นความรับผิดชอบของ ปภ.กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเพิ่งได้ บริษัท เรย์แด้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในการเข้ามาทำระบบ และจะต้องเสร็จภายในเดือน ก.ค. 2568 ตามที่นายกรัฐมนตรี ให้คำมั่น 

ฝั่งที่ 2 : ดำเนินการและดูแล โดย ผู้ให้บริการโครงข่าย ผ่านระบบ Cell Broadcast Center (CBC) ซึ่งเป็นระบบที่ทำหน้าที่นำเนื้อหาข้อความ ไปจัดส่งในสถานีฐานตามพื้นที่ที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง โดยจะประกอบไปด้วย การบริหารระบบและการตั้งค่า (System & Configuration), การส่งต่อข้อความสื่อสารที่ได้รับมาผ่านโครงข่าย (Message Deployment Function) และ การบริหารโครงข่ายสื่อสาร (Network Management)    

ฝั่งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้อนุมัติงบประมาณให้ค่ายมือถือลงทุนเพื่อนำมาลดหย่อนยูโซ่เรียบร้อยแล้ว โดยระบบก็พร้อมใช้งาน รอเพียงระบบต้นทางจากระบบที่ บริษัท เรย์แด้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ทำ https://www.posttoday.com/pr-news/715887 https://www.posttoday.com/business/718893

คำถามคือ “ระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ต้องเสร็จภายใน 1 ปี ” เป็นคำประกาศที่นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ในสมัยที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ประกาศไว้เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2566 ในสมัยรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการทำระบบ 6-12 เดือน นั้น ล่าช้าเพราะอะไร 

บริษัท เรย์แด้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด คือ ต้นตอที่ล่าช้า หรือไม่ และจริงๆแล้ว เรย์แด้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นใคร มีประสบการณ์ทำงานด้านความปลอดภัยอย่างไรบ้าง โพสต์ทูเดย์จะมาเล่าในตอนถัดไป

Thailand Web Stat