posttoday

5 ข้อ ความเข้าใจที่ถูกต้องของการฉีดวัคซีนโควิดเข้าชั้นผิวหนัง

10 มกราคม 2565

"ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา" เผยความเข้าใจที่ถูกต้องของการฉีดวัคซีนโควิดเข้าชั้นผิวหนัง ชี้ภูมิขึ้นเท่ากับฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และภูมิอยู่นานพอกัน ผลข้างเคียงน้อยกว่า

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กให้ข้อมูลถึงการฉีดวัคซีนโควิดเข้าชั้นผิวหนัง โดยมีเนื้อหาน่าสนใจดังนี้

ความเข้าใจทึ่ถูกต้องของการฉีดวัคซีนโควิดเข้าชั้นผิวหนัง

วันที่ 10/1/65 รัฐบาลประกาศแล้วว่าเข็มกระตุ้นสามารถใช้ชั้นผิวหนังได้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์และความต้องการของคนที่จะได้รับวัตซีน

1- ภูมิขึ้นเท่ากับเข้ากล้าม

2- ภูมิอยู่นานพอกัน

3- ผลข้างเคียงน้อยกว่า อย่างน้อย 10 เท่า

4-ฉีดสบายๆ

5-เรื่องของทีเซลล์ การฉีดชั้นผิวหนังจะมีตัวจับย่อยวัคซีนสองชนิดด้วยกัน ไม่ใช่ชนิดเดียวแบบในกล้ามเนื้อ และส่งผ่านไปยังต่อมน้ำเหลืองซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาขั้นต้น คือ ที เชลล์ ถูกกระตุ้นโดยใช้เวลาประมาณสี่วัน ตามการศึกษาตั้งแต่ปี 2008 โดยใช้วิธี 2 photon microscopy และจะควบรวมสัมพันธ์กับบีเซลล์ในการสร้างภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองต่อ

การกระตุ้นทีเซลล์ ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

ตัวคนแต่ละคน ที่แบ่งออกเป็นตอบสนองกับวัคซีนได้สูงกลางตำ่ ซึ่งทราบกันดีมาตั้งแต่ก่อนปี 2010

ขึ้นอยู่กับอายุและมีโรคประจำตัวหรือไม่

ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน ทั้งนี้แม้แต่ SV SV AZ แม้กระตุ้นภูมิได้น้ำเหลืองได้สูงมากแต่การตอบสนองของที่เซลล์นั้นยังพบได้น้อยก็มี

การลดความรุนแรงไม่ได้ขึ้นกับทีเซลล์อย่างเดียว ยังขึ้นอยู่กับภูมิในน้ำเหลือง และยังขึ้นอยู่กับความรวดเร็วทันท่วงทีในอวัยวะนั้นๆ นั่นคือ ทันที ถูกที่ ถูกเวลา

ตั้งแต่ 37 ปีที่แล้ว ที่มีการริเริ่มฉีดเข้าชั้นผิวหนังของวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า เจอความเข้าใจผิดว่า ภูมิขึ้นน้อย-ภูมิอยู่สั้น-ผลข้างเคียงมาก-ฉีดยาก ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเข้าใจผิดทั้งหมด และในวัคซีนโควิดเช่นกันพิสูจน์ซ้ำ ทั้งสี่ข้อ

ส่วนในข้อที่ห้านั้น อาจต้องเข้าใจว่าแม้การติดเชื้อโควิดตามธรรมชาติที่เป็นการสร้างภูมิที่ดีที่สุด ระบบความจำทีเซลล์นั้นก็ไม่ได้อยู่ยั่งยืนตลอดและหายไปตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปก็มี ส่วนภูมิในน้ำเหลืองหายไปภายในเป็นสัปดาห์ก็มีในบางราย