“นิด้าโพล” เผยผลสำรวจ “เพื่อไทย” ยังนำในสมุทรปราการ
ผลสำรวจนิด้าโพล เผยคนสมุทรปราการหนุน “อุ๊งอิ๊งค์” นำ พิธา และ บิ๊กตู่ ส่วนพรรคการเมืองอันดับหนึ่ง เพื่อไทย นำก้าวไกล ตามด้วย รวมไทยสร้างชาติ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง“คนสมุทรปราการเลือกพรรคไหน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-23 มีนาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรปราการ กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,100 หน่วยตัวอย่าง
การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนสมุทรปราการจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่าอันดับ 1 ร้อยละ 35.82 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 21.36 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 13.91 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 5.27 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) อันดับ 5 ร้อยละ 5.18 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) อันดับ 6 ร้อยละ 4.82 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 7 ร้อยละ 4.36 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 8 ร้อยละ 2.27 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 9 ร้อยละ 2.18 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) อันดับ 10 ร้อยละ 1.18 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) อันดับ 11 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) และร้อยละ 2.65 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) และนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ)
สำหรับพรรคการเมืองที่คนสมุทรปราการจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 44.64 ระบุว่าเป็นพรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 26.73 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 11.18 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 3.73 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 5 ร้อยละ 2.91 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐอันดับ 6 ร้อยละ 2.45 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 7 ร้อยละ 2.09 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 8 ร้อยละ 1.82 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 9 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 10 ร้อยละ 1.27 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 1.63 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคกล้า พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคไทยภักดี และพรรคประชาชาติ
ส่วนพรรคการเมืองที่คนสมุทรปราการจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 45.82 ระบุว่าเป็นพรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 25.73 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 11.55 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 4.09 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 5 ร้อยละ 2.55 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์อันดับ 6 ร้อยละ 2.36 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.18 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 8 ร้อยละ 1.64 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 9 ร้อยละ 1.55 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 10 ร้อยละ 1.18 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 1.35 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคไทยภักดี พรรคประชาชาติ และพรรคสร้างอนาคตไทย
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่จังหวัดสมุทรปราการ ตัวอย่าง ร้อยละ 46.45 เป็นเพศชาย และร้อยละ 53.55 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 12.00 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 18.55 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 20.72 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 27.00 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 21.73 อายุ60 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 97.36 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 1.64 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.00 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ ตัวอย่าง ร้อยละ 35.09 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.36 สมรส และร้อยละ 2.55 หม้าย หย่าร้างแยกกันอยู่
ตัวอย่าง ร้อยละ 17.36 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.91 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 11.36 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 33.73 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและร้อยละ 2.64 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.73 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 33.09 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.91 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 0.91 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.45 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.09 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.82 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.54 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 9.00 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 31.82 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 15.73 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.64 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.54 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.73 ไม่ระบุรายได้