posttoday

ตำนานผ้าทออลายน้ำไหลพัฒนาเจ้าระนใหม่

12 พฤศจิกายน 2557

โครงการเรียนรู้หัตถกรรมภาคเหนือ กับศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. ได้นำพาสื่อมวลชนไปเยี่ยมหัตถกรรมในภาคเหนือ ที่ จ.น่าน แหล่งหัตถกรรมสำคัญ ทั้งเครื่องหวาย เครื่องเงินชมพูภูคา และผ้าทอลายน้ำไหล ในตอนนี้จะนำไปพบกับผ้าทอลายน้ำไหล ที่มีอายุประวัติความเป็นมายาวนาน และมีเอกลักษณ์การทอที่งดงาม

โครงการเรียนรู้หัตถกรรมภาคเหนือ กับศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. ได้นำพาสื่อมวลชนไปเยี่ยมหัตถกรรมในภาคเหนือ ที่ จ.น่าน แหล่งหัตถกรรมสำคัญ ทั้งเครื่องหวาย เครื่องเงินชมพูภูคา และผ้าทอลายน้ำไหล ในตอนนี้จะนำไปพบกับผ้าทอลายน้ำไหล ที่มีอายุประวัติความเป็นมายาวนาน และมีเอกลักษณ์การทอที่งดงาม

“ครูจันทร์สม พรหมปัญญา” ผู้ก่อตั้งกลุ่มสตรีผ้าทอลายน้ำไหล จาก จ.น่าน เปิดเผยว่า เอกลักษณ์ของผ้าทอลายน้ำไหลคือ เป็นลายผ้าในอดีตนำมาปรับปรุงเป็นเอกลักษณ์ที่มีความประณีตโดดเด่น มีเกลียวคลื่นที่ดูสวยงามพลิ้วไหว ผ้าลายน้ำไหลใช้เทคนิคการทอที่เรียกว่า “เกาะ” หรือ “ล้วง” โดยใช้ด้ายพุ่งหลายสีสอดเป็นช่วงๆ เกี่ยวย้อนกลับไปกลับมา และผูกเป็นห่วงรอบเส้นด้าย เพื่อเกาะเกี่ยวความแข็งแรงให้กับเนื้อผ้า

ขณะเดียวกัน ครูจันทร์สมได้รวมกลุ่มกับประชาชนในพื้นที่จัดตั้งกลุ่มสตรีทอผ้า พร้อมกับนำเอาลวดลายผ้าโบราณกว่า 100 ปี ที่ได้มีโอกาสไปเป็นคณะกรรมการร่วมถอดลายผ้ากับกรมศิลปากร อาทิ ลายที่มาจากคุ้มเจ้าสมปรารถนา แล้วนำมาพัฒนาและต่อยอดเป็นผ้าทอลายน้ำไหล ส่วนโครงสร้างการทอใช้ได้ทั้งไหม ฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ โทเร ไหมแท้ ไหมประดิษฐ์ ดิ้นเงินดิ้นทอง ทำให้ได้ผ้าไหมที่มีลวดลายเฉพาะตัวของ จ.น่าน

“ทอผ้ามาตั้งแต่อายุ 12 ปี เป็นชาวไทลื้อ และทอผ้ามาจนถึงปัจจุบันที่อายุ 60 ปี จะยึดอาชีพทอผ้า ชื่นชอบการทอผ้ามาตลอด และทอผ้าเพื่อใส่เอง รวมถึงใส่ใจที่จะพัฒนาการทอผ้าลวดลายใหม่ เพื่อคงเอกลักษณ์ของผ้าทอลายน้ำไหลให้คงอยู่ต่อไป” ครูจันทร์สม กล่าว

ปัจจุบันกลุ่มที่ผลิตผ้าทอลายน้ำไหลมีประมาณ 10 ครัวเรือน หรือ 130 คน ส่วนใหญ่อายุ 30 ปีขึ้นไป จนถึงอายุสูงสุด 65 ปี ซึ่งปัญหาหลักของการทอผ้าในขณะนี้คือ คนรุ่นใหม่ที่ไม่สนใจเข้ามาสืบทอดการทอผ้า และเลือกไปทำงานอย่างอื่นแทน จึงต้องมีการกระตุ้นและทำให้คนรุ่นใหม่สนใจมาทอผ้ามากขึ้น เพราะถือเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่ต้องเข้ามาส่งเสริมคนรุ่นใหม่เช่นกัน

การทอผ้ามีจำนวนมากกว่า 1,000 ชิ้น/ปี โดยมีลวดลายของผ้าซิ่น (ผ้าถุง) ทั้งลายน้ำไหลที่มีชื่อเสียง ลายน้ำไหลไทลื้อ ผ้าซิ่นลายยกดอก ลายยกดอกน้ำไหล โดยส่วนใหญ่จะทอผ้าขนาดความยาว 2 เมตร ได้แก่ เสื้อผ้า ผ้าพันคอ ผ้าถุง ผ้าขาวม้า กระเป๋า ผ้าปูโต๊ะ ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดหน้า ผ้ารองจาน ซองใส่โทรศัพท์มือถือ แฟ้มเอกสาร หุ้มปกสมุด และไดอารี่ เป็นต้น ซึ่งการผลิตแต่ละชิ้นจะใช้เวลา 710 วันหากเป็นผ้าขนาดความยาว 2 เมตร มีราคาขายสินค้าตั้งแต่ 500 บาท จนถึง 4,000 บาท

สำหรับกลุ่มลูกค้าหลักจะเป็นคนทำงาน ลูกค้าหน่วยงานรัฐ ลูกค้าที่ชื่นชอบผ้าทอ ส่วนใหญ่จะออกงานแสดงสินค้าในประเทศเป็นหลัก รวมถึงงานแสดงของ ศ.ศ.ป.ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยการใช้ผ้าทอนั้นสามารถใช้ได้นานเป็นเวลาหลายสิบปี ที่ผ่านมาได้ทอผ้าและใช้มานานกว่า 39 ปีแล้ว ผ้าทอยังมีลวดลายที่งดงามเหมือนเดิม มีคุณภาพคงทน

รวมทั้งยังเปิดให้คนทั่วไปที่ไม่มีความรู้เรื่องการทอผ้ามาก่อนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ทันที เพราะอยากให้มีการสืบสานเอกลักษณ์การทอผ้าลายน้ำไหล โดยครูจันทร์สมพร้อมที่จะสอนให้ด้วยตัวเอง

“พิมพาพรรณ ชาญศิลป์” ผู้อํานวยการ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. กล่าวว่า ครูช่างจันทร์สมได้รับการยกย่องเชิด เป็นครูช่างในปี 2557 นี้ เพราะสามารถอนุรักษ์ลวดลายของผ้าทอน้ำไหลของชาวไทลื้อได้ต่อไป และทำให้งานผ้าทอมีคุณค่ามากขึ้น

ครูจันทร์สม กล่าวปิดท้ายว่า การจะพัฒนาลวดลายการทอผ้าให้มีลวดลายแบบใหม่ๆ และมีเอกลักษณ์โดดเด่น ต้องเปลี่ยนแนวคิดทั้งการนำผ้าไหมและผ้าฝ้ายมาทอ รวมทั้งจะมีสินค้าใหม่ๆ เข้ามาสู่ตลาดทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูป กระเป๋าดีไซน์ใหม่ เพื่อขยายตลาดและทำให้คนรุ่นใหม่สนใจใช้สินค้าเพิ่มขึ้น อีกทั้งอยากให้คนไทยและคนรุ่นใหม่ที่ว่า การใส่เสื้อผ้าไทย ผ้าไหมหรือผ้าทอ ทำให้ผู้สวมใส่มีความงามแบบไทย และใส่แล้วไม่ได้อายุมากขึ้นแต่อย่างใด