posttoday

Angel Investing

07 สิงหาคม 2560

ธนพงษ์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส Beacon VC Managing DirectorBeacon Venture Capital - KBank Assignmentในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสการสร้างธุรกิจบริษัทสตาร์ทอัพในไทยมาแรงจริงๆ มองไปทางไหนก็เจอธุรกิจเกิดใหม่ไม่เว้นแต่ละวัน แต่แท้จริงแล้วกระแสนี้มีมาเกือบสิบปีแล้วในต่างประเทศ มี กูเกิล เฟซบุ๊ก แอร์บีเอ็นบี อูเบอร์ จาก ฝั่งตะวันตก และเสี่ยวหมี่ อาลีบาบา จากฝั่งเอเชีย เป็นผู้นำกระแสในยุคแรกๆ

ธนพงษ์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส Beacon VC Managing DirectorBeacon Venture Capital - KBank Assignment

ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสการสร้างธุรกิจบริษัทสตาร์ทอัพในไทยมาแรงจริงๆ มองไปทางไหนก็เจอธุรกิจเกิดใหม่ไม่เว้นแต่ละวัน แต่แท้จริงแล้วกระแสนี้มีมาเกือบสิบปีแล้วในต่างประเทศ มี กูเกิล เฟซบุ๊ก แอร์บีเอ็นบี อูเบอร์ จาก ฝั่งตะวันตก และเสี่ยวหมี่ อาลีบาบา จากฝั่งเอเชีย เป็นผู้นำกระแสในยุคแรกๆ

ธุรกิจเหล่านี้ต่างก็เริ่มต้นมาจากจุดเดียวกัน คือ ไม่มีเงินทุนเพียงพอเพื่อขยายกิจการ และต้องออกตามหานักลงทุนเพื่อสนับสนุนพวกเขา โดยให้หุ้นของบริษัทเพื่อแลกกับเงินสนับสนุน โดยนักลงทุนก็มีหลากหลายขนาด ตั้งแต่นักลงทุนสถาบัน หรือ Venture Capital ไปจนถึงนักลงทุนบุคคล หรือ "Angel Investor"

โดยทั่วไปแล้ว Angel Investor จะลงทุนด้วยจำนวนเงินที่ไม่มากเมื่อเทียบกับนักลงทุนสถาบัน แต่มักจะเป็นนักลงทุนคนแรกๆ ที่ลงทุนตั้งแต่บริษัทยังเพิ่งเริ่มต้น ดังนั้นเมื่อบริษัทประสบความสำเร็จ ผลตอบแทนจึงมากกว่านักลงทุนที่ลงในช่วงหลังๆ อยู่หลายเท่าตัว

อย่างเฟซบุ๊กก็มี Angel Investor ที่สนับสนุนในช่วงตั้งบริษัทแรกๆ อยู่หลายคน แต่คนที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดคนนึง คือ David Choe จิตรกรเชื้อสายเกาหลี David ไม่ได้ร่ำรวย อะไร และไม่เคยมีความรู้เรื่องการลงทุน แต่เค้าบังเอิญได้รับว่าจ้างมาให้เพนต์ กำแพงสำนักงานแรกของเฟซบุ๊กในแคลิฟอร์เนีย โดยเค้าได้รับข้อเสนอให้เลือกระหว่างเงินค่าจ้าง 6 หมื่นเหรียญ หรือหุ้นของเฟซบุ๊กที่มีมูลค่าเท่ากัน David ที่ชอบความเสี่ยง เลือกที่จะรับหุ้นแทนเงินโดยไม่ได้คิดอะไรมาก เพียงเพราะเค้ารู้สึกชอบในตัวของ Sean Parker ผู้บริหารของเฟซบุ๊ก

ในขณะนั้นเมื่อเฟซบุ๊กเข้าตลาด หลักทรัพย์ในปี 2012 จากหุ้นมูลค่าไม่กี่หมื่นดอลลาร์สหรัฐก็เพิ่มมูลค่ากลายเป็นหลายร้อยล้านดอลลาร์ จึงนับได้ว่าจิตรกร David Choe ผู้นี้เป็น Angel Investor ที่ประสบความสำเร็จมากๆ รุ่นแรกๆ (โดยไม่ได้ตั้งใจ)

ในประเทศไทย แม้ว่า Angel Investing จะยังไม่แพร่หลายเท่าในต่างประเทศ แต่เนื่องจากกระแส ของ บริษัทสตาร์ทอัพที่กำลังมาแรง การลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพจึงเริ่ม ได้รับความสนใจ ทำให้เกิดกลุ่ม 2-3 กลุ่มที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางให้ Angel Investor และผู้ก่อตั้งธุรกิจ (Founder) ที่ต้องการเงินทุนมาพบกัน

โดยทั่วไป Angel Investor ในไทยจะลงทุนด้วยกันเป็นกลุ่ม (Syn dicated) ต่อหนึ่งธุรกิจ และลงทุน ในจำนวนเงินที่ไม่มากนัก คือประมาณรายละ 1-5 ล้านบาท การลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพ นับได้ว่าเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างเสี่ยง โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพในสหรัฐมักแนะนำว่าไม่ควรลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพเกินกว่า 10% ของสินทรัพย์รวม และควรกระจายความเสี่ยงโดยลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพอย่างน้อย 10 ราย

การคัดเลือกบริษัทสตาร์ทอัพที่จะเข้าไปลงทุน มีวิธีแตกต่าง จากการคัดเลือกหุ้นในตลาด หลักทรัพย์มาก เนื่องจากหุ้น ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์นั้น มีตัวเลขผลประกอบการที่ครบถ้วนย้อนหลังหลายปี ทำให้สามารถประเมินความน่าสนใจของธุรกิจ ความคุ้มค่าในการลงทุน และมูลค่าของบริษัท (Valuation) ได้จากกระแสเงินสด (Cash flow) อัตราการเติบโต (Growth) อัตรากำไร (Margin) และเงินปันผล (Dividend)

ในขณะที่บริษัทสตาร์ทอัพนั้นไม่มีตัวเลขทางการเงินย้อนหลังมากเท่าบริษัทในตลาดหุ้น และเนื่องจากบริษัทยังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น จึงมักจะยังไม่มีกำไรหรือเงินปันผล บางครั้งไม่มีแม้แต่รายได้ ทั้งยังยากที่จะประเมินว่าอัตราการเติบโตในอนาคตจะเป็นเท่าไหร่ ดังนั้น Angel Investor จึงต้องใช้ประสบการณ์ของตนเองเป็นหลักในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ โดยมีแนวทางพิจารณาเบื้องต้น ดังนี้

ทั้งนี้ ที่กล่าวมาเป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นในการพิจารณาตัดสินใจ ลงทุนสำหรับ Angel Investor ท่านที่ประสงค์อยากลงทุนแบบนี้ ควร ต้องทำการศึกษาแนวทางการลงทุน และธุรกิจที่ต้องการเข้าไปลงทุนอย่างรอบคอบเพื่อให้สามารถประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงในการลงทุน และตัดสินใจลงทุนได้อย่างเหมาะสม