แมลงอบกรอบไฮโซ สแน็กพันธุ์ไทยไประดับโลก
ปิยนุช ผิวเหลือง"เตรียมความพร้อมของตัวเอง และเริ่มสร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยตนเอง ทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ สร้างพฤติกรรมใหม่" ทัดณัฐ ฉันทธรรม์ ผู้ก่อตั้งธุรกิจขนมอบกรอบ (สแน็ก) ภายใต้แบรนด์แมลงอบกรอบไฮโซ กล่าวถึงโอกาสทางธุรกิจจากวิศวกรคอมพิวเตอร์สู่นักธุรกิจ ผู้สร้างนวัตกรรมแมลงอบกรอบเจ้าแรกในไทย
ปิยนุช ผิวเหลือง
"เตรียมความพร้อมของตัวเอง และเริ่มสร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยตนเอง ทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ สร้างพฤติกรรมใหม่" ทัดณัฐ ฉันทธรรม์ ผู้ก่อตั้งธุรกิจขนมอบกรอบ (สแน็ก) ภายใต้แบรนด์แมลงอบกรอบไฮโซ กล่าวถึงโอกาสทางธุรกิจจากวิศวกรคอมพิวเตอร์สู่นักธุรกิจ ผู้สร้างนวัตกรรมแมลงอบกรอบเจ้าแรกในไทย
ทัดณัฐ ฉันทธรรม์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สไมล์ บลู มาร์เก็ตติ้ง ผู้ผลิตและทำตลาดสแน็กแมลงอบกรอบไฮโซ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นธุรกิจที่สร้างแบรนด์แมลงทอดไฮโซ จนเป็นที่รู้จักในระดับหนึ่ง แต่ด้วยความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้น และต้องการปรับภาพลักษณ์ของสินค้าเจาะกลุ่มตลาดสุขภาพ จึงเปลี่ยนเป็นแมลงอบกรอบ ไฮโซ ด้วยกรรมวิธีการอบ นอกจาก ดีต่อสุขภาพแล้วยังทำให้เพิ่มกำลัง การผลิตด้วย
ทั้งนี้ จากการเปิดตัวนวัตกรรมสินค้าใหม่ในตลาด มีข้อดีด้านความแตกต่าง คู่แข่งน้อย แต่ความท้าทาย คือ เทคโนโลยีการผลิตยังไม่รองรับ และต้องสร้างการรับรู้ใหม่ในตลาดแก่กลุ่มผู้บริโภค สิ่งสำคัญ คือ ยิ่งใหม่ก็ยิ่งกลัว ต้องต่อสู้กับใจของตนเอง และเชื่อมั่นว่าต้องสำเร็จ โดยกลุ่มเป้าหมายสินค้าแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 1.ระดับแรก เจาะกลุ่มนิช มาร์เก็ต ตลาดเฉพาะผู้ที่เคยรับประทานแมลงมาก่อน และ 2.ขยายการรับรู้แก่ผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ ถึงคุณค่าทางอาหารของแมลงอบกรอบ เช่น กลุ่มคนรุ่นใหม่ ภายใต้แนวคิดรักษาฐานกลุ่มลูกค้าเดิมและขยายตลาดคลุมทุกกลุ่มผ่านการสร้างพฤติกรรมใหม่
"สิ่งท้าทายในช่วงแรก คือ ลูกค้าแนะว่ารสชาติยังแตกต่างจากรถเข็น จึงค่อยๆ ปรับเปลี่ยนรสชาติให้ใกล้เคียงที่สุด และสร้างสรรค์รสชาติอื่นๆสร้างพฤติกรรมการบริโภคใหม่ๆ ในตลาด" ทัดณัฐ กล่าว ขณะที่ช่องทางการประชาสัมพันธ์ สินค้าในประเทศได้นำเสนอผ่านออนไลน์ช่องทางโซเชียล มีเดีย โดยสื่อสารกับผู้บริโภค ด้านมาตรฐานและคุณค่าทางอาหารที่แมลงอบกรอบไฮโซ มอบให้แก่ผู้บริโภค ส่วนในต่างประเทศ สร้างการรับรู้ผ่านช่องทางโฆษณาออนไลน์ ทั้งโปรแกรมเสิร์ชเอนจิ้นในกูเกิล รวมถึงวิจัยความต้องการของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศก่อนที่จะนำเสนอสินค้า ปัจจุบันได้ส่งออกสินค้าไปยังยุโรป สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สเปน กัมพูชา และลาว
สำหรับความแตกต่างของพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศ คือ พฤติกรรมการรับประทาน และรสนิยมด้านรสชาติ โดยประเทศแถบอาเซียนความนิยมด้านรสชาติจะไม่แตกต่างกันมากนัก พบว่า นิยมรสชาติดั้งเดิม (เค็ม มัน) และรสชาติบาบีคิว เป็น 2 อันดับแรก ขณะที่ยุโรป ฝรั่งเศส สเปน จะนิยมรสชาติไม่จัดจ้าน เนื่องจากนำไปใช้ในการเป็นวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารชนิดอื่นต่อไป
ทั้งนี้ นอกจากการส่งออกในรูปแบบบรรจุซองแล้ว ยังได้ส่งออกลักษณะเป็นผงเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการประกอบอาหารในแถบประเทศตะวันตก "การรับรู้ด้านคุณค่าทางอาหารในประเทศพัฒนาแล้วจะมีมากกว่าประเทศกำลังพัฒนา เขารู้ว่าแมลงมีโปรตีนสูง เพียงแต่บางกลุ่มไม่ชอบรูปลักษณ์ของแมลงจึงนิยมให้บดเป็นผงเพื่อใช้ประกอบอาหารอื่น" ทัดณัฐ เปิดเผย
โดยมีสัดส่วนรายได้ปัจจุบัน 80% ตลาดในประเทศ และ 20% ใน ต่างประเทศ ในอนาคตวางแผนบุกตลาดจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น อีก ทั้งปลายปีวางแผนคลอดรสชาติ ใหม่ๆ พร้อมวางแผนเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบต้นน้ำ ได้เริ่มต้นโครงการฟาร์มดักแด้ ตั้งอยู่ที่ อ.สวนผึ้ง ปัจจุบันใช้วัตถุดิบดักแด้ปริมาณ 2 ตัน/วัน แมงสะดิ้ง 1 ตัน/วัน
ดังนั้น แผนการผลิตวัตถุดิบต้นน้ำ เพื่อขยายการรองรับการเติบโตในอนาคตที่ยังผลิตไม่ทันต่อความต้องการของตลาด ปัจจุบันผลิตแมลงอบกรอบ 2 ชนิด คือ ดักแด้ และแมงสะดิ้ง 4 รสชาติ คือ รสดั้งเดิม รสบาบีคิว รสชีส และรสโนริสาหร่าย วางเป้าปลายปีเติบโต 110-120% จากปี 2559 ด้วยมูลค่า 60-80 ล้านบาท