posttoday

ทีดีอาร์ไอหนุนรัฐบาลอุ้มค่ารถไฟฟ้า กดราคา 30 บาทตลอดสาย

30 มีนาคม 2562

ทีดีอาร์ไอ หนุนรัฐบาลซับซิดี้ค่ารถไฟฟ้าปีละหมื่นล้าน กดค่าโดยสารเหลือ 30 บาทตลอดสาย หนุนไอเดียลดหย่อนภาษีแก้รถติด ด้าน ‘ขนส่ง’ เล็งตรึงค่าแท็กซี่ตามเดิม ปรับแค่ค่ารถติด-พิจารณาขยับเพดานรถติดตามผู้ประกอบการเสนอ

ทีดีอาร์ไอ หนุนรัฐบาลซับซิดี้ค่ารถไฟฟ้าปีละหมื่นล้าน กดค่าโดยสารเหลือ 30 บาทตลอดสาย หนุนไอเดียลดหย่อนภาษีแก้รถติด ด้าน ‘ขนส่ง’ เล็งตรึงค่าแท็กซี่ตามเดิม ปรับแค่ค่ารถติด-พิจารณาขยับเพดานรถติดตามผู้ประกอบการเสนอ

ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ เปิดเผยว่าความคืบหน้าการศึกษาปรับโครงสร้างราคาค่าโดยสารรถไฟและรถไฟฟ้านั้นพบว่าค่ารถไฟปกติถูกเกินไปไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในปัจจุบันอีกทั้งยังไม่มีการปรับขึ้นมานานแล้ว ขณะที่ค่ารถไฟฟ้านั้นแพงเกินไปสนับสนุนให้กำหนดเกณฑ์ควบคุมแต่คงต้องเกี่ยวพันกับสัญญาเดินรถของเอกชน อย่างไรก็ตาม ทีดีอาร์ไอ สนับสนุนแนสคิดของสำนักงานนโยบายแผลการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งมีไอเดียให้ประชาชนสามารถนำค่ารถไฟฟ้าไปลดหย่อนภาษีได้เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้มากขึ้นและแก้ปัญหารถติดในเมืองหลวงที่เกิดจากปริมาณยานพาหนะบนท้องถนนมากเกินไป ส่วนแนวคิดด้านการให้รัฐบาลอุดหนุน(Subsidy) ค่ารถไฟฟ้านั้นมองว่าสามารถทำได้เช่นกันแตกต่างกันที่นโยบายของแต่ละรัฐบาล โดยซับซิดี้ด้วยการอุ้มค่าโดยสารเพื่อกดราคาให้ต่ำราว 20-30 บาทตลอดสาย ซึ่งเป็นตัวเลขราคาที่ผู้คนทุกระดับเข้าถึงได้ ในส่วนนี่คาดว่าใช้งบประมาณปีละไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท แต่ทั้งนี้รัฐบาลต้องดำเนินการไปควบคู่กับการสร้างแหล่งรายได้เพิ่มเพื่อรองรับการซับซิดี้ อาจทำควบคู่ไปกับการปลูกฝังวินัยจราจรเช่น การปรับอัตราโทษวินัยจราจร ปรับเพิ่มค่าจอดรถและเพิ่มภาษียานพาหนะในเขตเมืองหลวง เพื่อนำรายได้ดังกล่าวไปอุดหนุนค่ารถไฟฟ้า ตลอดจนป้องกันคำครหาเรื่องการนำภาษีส่วนรวมของประเทศมาช่วยเหลือแค่คนเมืองหลวง

ดร.สุเมธกล่าวต่อว่าขณะนี้ ทีดีอาร์ไอ ได้ส่งผลศึกษาเรื่องปรับโครงสร้างค่าโดยสารรถไฟฟ้าและรถไฟ ไปยังกรมการขนส่งทางบก(ขบ.)แล้วเพื่อเตรียมเสนิกระทรวงคมนาคมต่อไป เช่นเดียวกับผลศึกษาปรับโครงสร้างราคาค่าโดยสารรถเมล์และรถแท็กซี่ โดยล่าสุดทางขบ.นั้นอาจพิจารณาตรึงค่าโดยสารแท็กซี่ไว้เหมือนเดิมแต่จะปรับแค่ค่ารถติดซึ่งตะใช้แนวทาง 5% หรือคิดตามนาทีนั้นยังไม่ชัดเจน แต่สามารถเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการได้ 10-20% ได้แน่นอนตามข้อเรียกร้อง นอกจากนี้ขบ.ยังอยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอของผู้ประกอบการที่เสนอให้ปรับเพดานกำหนดความเร็วช่วงรถติด จากเดิมกำหนด 6 กม./ชม. เป็น 15-30 กม./ชม. ให้ถือว่าเป็นช่วงรถติดเพื่อคิดราคาพิเศษตามอัตราโครงสร้างโดยสารใหม่