ราคาทองวันนี้ (13 ก.พ.) ที่เปิดตลาดราคาลดต่อ 50 บาทและมีแนวโน้มลงเล็กน้อย
ราคาทองวันนี้ (13 ก.พ.) ที่เปิดตลาดราคาลดลง 50 บาท โดยราคาทองแท่งขายออก 34,300 บาท ราคาทองรูปพรรณขายออก 34,800 บาท ส่วนราคาทองคำ Spot ช่วงเช้าปรับตัวในกรอบ 2,020 ดอลลาร์ และมีแนวโน้มปรับลงเล็กน้อย
รายงานราคาทองวันนี้ (13 ก.พ. 2567) โดยสมาคมค้าทองคำประกาศครั้งที่ 1 (เปิดตลาด) เมื่อเวลา 9.07 น. ซึ่งราคาลดลง 50 บาทเมื่อเทียบกับประกาศราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายของเมื่อวันก่อนหน้า (12 ก.พ. 2567) ที่ระหว่างวันมีการเปลี่ยนแปลงไป 2 ครั้ง ซึ่งรวมแล้วราคาลดลงไป 100 บาท
ราคาซื้อขายทองคําในประเทศชนิด 96.5% วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 (ประกาศครั้งที่ 1)
ราคาทองคำแท่งขายออกบาทละ 34,300 บาท
รับซื้อบาทละ 34,200 บาท
ราคาทองรูปพรรณขายออกบาทละ 34,800 บาท
ฐานภาษีบาทละ 33,579.40 บาท
แนวโน้มตลาดทองคำปรับตัวลงไม่มาก โดยราคาทองคำปรับลดลง (-4.27) ดอลลาร์ คิดเป็น (-0.21%) และปิดตลาดที่ระดับ 2,019 ดอลลาร์
Gold spot
สูงสุด – 2,027 ดอลลาร์
ต่ำสุด – 2,011 ดอลลาร์
ราคาทองคำแท่ง
สูงสุด – 34,400 บาท
ต่ำสุด – 34,350 บาท
ภาพรวมความเคลื่อนไหวที่ผ่านมา ราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยได้รับแรงกดดันจากเงินดอลลาร์แข็งค่า ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันนี้ ทั้งนี้ตลาดคาดว่าดัชนีจะชะลอตัวลง แต่หากไม่เป็นไปตามคาดการณ์ก็อาจสร้างแรงกดดันต่อราคาทองคำ ส่วนกองทุน SPDR ถือทองคำเท่าเดิม
ตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตาม คืนนี้สหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนม.ค. ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% จากเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน หรือเพิ่มขึ้น 2.9% จากที่เพิ่มขึ้น 3.4% เมื่อเทียบรายปี สะท้อนเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลดลงต่อเนื่อง
ฮั่วเซ่งเฮงวิเคราะห์ราคาทองคาดหลุดบริเวณ 2,020 ดอลลาร์ จากกรอบสามเหลี่ยม ที่มีรูปแบบ Symmetrical triangle ทำให้มีแนวโน้มปรับตัวลงได้ต่อ อย่างไรก็ตาม คาดว่าปรับตัวลงไม่มาก
ราคาทองตลาดโลก
แนวรับ 2,010 และ 2,005 ดอลลาร์
แนวต้าน 2,030 และ 2,036 ดอลลาร์
เปิดสถานะขาย เมื่อราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นมาบริเวณ 2,030 ดอลลาร์ โดยมีจุดตัดขาดทุนที่ 2,036 ดอลลาร์
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
แนวรับ 34,200 และ 34,150 บาท
แนวต้าน 34,400 และ 34,450 บาท
ราคาทองคำ spot อาจปรับตัวลงระยะสั้น ส่วนค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง ทั้งนี้คาดว่าระยะสั้นราคาทองคำแท่งปรับตัวลง แนะนำกลยุทธ์ Wait & See ซึ่งรอจับจังหวะการเข้าซื้อ