อารมณ์กับการสื่อสารผ่านแชทไลน์
คอลัมน์ Great Talk
สวัสดีค่ะ คุณปรมะ
สมมุติ เราทำงาน อยู่ในองค์กรนึง รู้สึกว่านโยบายของบริษัทไม่ค่อยได้รับความเป็นธรรม หรือไม่เหมาะสม
มีพนักงานหลายคน หรือ ส่วนใหญ่ รู้สึกเเบบเดียวกัน เเต่ไม่กล้าที่จะพูด สื่อสาร ออกมา เพราะกลัว จะถูก เพ่งเล็ง ว่าเป็นคนมีปัญหา
เพราะมีแค่ตำแหน่งเล็กๆในบริษัท หรือ คิดว่า พูดออกไปก็ไม่ทำให้สถาณการณ์ดีขึ้น
ยกตัวอย่าง
บริษัท มีนโนบายให้บริหารจัดการเวลาชม.ทำให้เหมาะสมกับปริมาณงานในเเต่ละวันประหยัดค่าใช่จ่าย พนง. ลดการใช้ไฟฟ้า เเอร์ ลิฟท์ เพราะสถาณการณ์ โรคระบาด เศรฐกิจชลอตัว อันนี้เข้าใจได้ยอมรับได้ เห็นด้วย
เราสงสัย เลยสอบถาม มีอยู่วันนึง ปริมาณงานเยอะมาก พนง.ก็ขาด เราจึงสอบถามไปกับหัวหน้างาน ในสายงาน ว่า ถ้ากรณีปริมาณงานมาก ขอให้พิจารณา เป็นวันๆไปได้มั๊ยค่ะ ดูให้เหมาะสมกับปริมาณงาน เเละ คนปฎิบัติงานในวันนั้น
หัวหน้าในสายงาน ตอบกลับมาว่า หัวหน้าที่ใหญ่ขึ้นไป อีกบอกว่า ถ้าไม่เสร็จ อยู่ต่อได้ เเต่ไม่ให้โอที
เราก็เลย สอบถามต่อ ไป กับ ฝ่ายบุคคล ก็ ได้รับคำตอบ ตามนโยบายบริษัท
สิ่ง ที่มีผลกระทบ กลับมาหาเราคือ เราเป็นคนพูดเยอะ เวิ่นเว้อไม่จบ เรื่องง่ายๆเข้าใจยาก เรามักจะเป็นเเบบนี้กับอีกหลายเรื่อง จนมีคนมาเตือนว่าระวังถูกเพ่งเล็ง เราก็เลย คิดว่า เราสื่อสารไปไม่ดี ไม่ถูกจังหวะ หรือ เราไม่ได้อยู่ในฐานะที่ควรจะพูด
เรื่องราวก็ประมาณนี้อ่ะค่ะ
อ่อลืม บอกไปอย่าง การสื่อสาร ที่เล่า คือผ่านตัวอักษรไลน์ ของ บ.น่ะค่ะ
รบกวนขอความรู้ด้วยค่ะ จาก สุ
สวัสดีครับ คุณสุ
ปัญหาของเรื่องนี้ คือ เรื่องการสื่อสารครับ การสื่อสารมี ผู้ส่งสาร อุปสรรคของการสื่อสาร ช่องทางการสื่อสาร และสุดท้าย ผู้รับสาร
สมมุติว่า คุณ สุ กำลังทำอาหารเช้าในครัวเพื่อให้ลูกน้อยของคุณสุทาน เสียงก้อดังโวยวายจากคุณลูกที่บ่นร้องว่าหิวข้าว หม้อที่ต้มซุปก็ร้อนเหลือเกิน แล้วไหนจะต้องรีบเร่งไปทำงานตอนเช้า
อยู่ดีๆมีไลน์เด้งขึ้นมา จากเพื่อนสนิทของคุณ “อยู่ไหนแล้วแก” ด้วยความที่คุณเร่งทำอาหาร จึงแค่เหลือบตาไปมองแต่ไม่ได้กดเข้าไปดู “ร้อนไหมแก” “เอาอะไรไหม”
ไลน์จากคุณเพื่อนตามมา ด้วยความที่คุณสุกำลังเร่งรีบทำอาหารคุณสุจึงคว้ามือถือกดไลน์ตอบกลับไปว่า “ร้อนสิวะถามได้จะให้เอาอะไรล่ะ รีบจะตายอยู่แล้ว ถามอยู่นั้นแหล่ะ”
ภาพตัดกลับมาที่เพื่อนของคุณยืน งงๆ อยู่หน้าร้านกาแฟเจ้าประจำที่คุณสุกับเพื่อนชอบมาทาน คิดในใจว่า “อะไรวะ แค่จะโทรไปถามว่าเอาน้ำอะไรเย็นๆไหม เพราะเห็นว่าอากาศมันร้อน”
เพื่อนของคุณสุ คือ ผู้ส่งสาร ซึ่งคิดอีกอย่าง เพราะตนเองเดินอยู่กลางถนนแล้วอากาศมันร้อน ตอนนั้นเพียงแค่จะสั่งเครื่องดื่มเย็นๆเจ้าประจำไปให้คุณ คลายร้อน
อุปสรรค คือ อาการต้องรีบเร่งไปทำงาน ความร้อนจากหม้อซุป เสียงลูกน้อยร้องดังโวยวาย
ช่องทางการสื่อสารคือ ไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารแบบไม่เห็นอารมณ์และไม่สามารถสังเกตุสิ่งแวดล้อมได้
ส่วนผู้รับสารคือคุณสุ ซึ่ง ณ ขณะนั้น คิดอะไรบ้างไม่มีใครทราบได้ยกเว้นตัวคุณสุเอง
ปัจจุบันเราใช้การสื่อสารผ่านมือถือกันเยอะแต่ข้อจำกัดก็อย่างที่กล่าวไป ผมจะบอกลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอว่า
เวลาคุยไลน์ เอาแค่เรื่องสำคัญ ข้อความสั้นๆ ส่งข้อมูลให้ชัดอย่ากำกวม อยากได้อะไรหรือไม่ต้องการอะไรบอกไปเลย
และสุดท้ายครับ เทคนิคผม ส่งเครื่องหมาย “^ ^” เพื่อให้เห็นอารมณ์เช่น ข้อความเดียวกันในไลน์ “ไม่เอาครับ” กับ “ไม่เอาครับ” ^^
เห็นไหมครับต่างกันลิบลับเลย ^^