Wait and See ตลาดหุ้นทั่วโลก เข้าสู่โหมดปรับฐาน
ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับความผันผวนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีหลากหลายปัจจัยคอยกดดันอย่างต่อเนื่อง
ความกดดันที่โลกเผชิญอยู่ อาทิเช่น
1. ความกังวลเรื่องแนวโน้มดอกเบี้ยที่อาจค้างสูงและลดได้ช้ากว่าที่คาดไว้ หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน มี.ค.67 ออกมาสูงกว่าคาด ทั้งในแง่ของเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐาน
2. ตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังคงแข็งแกร่ง ทำให้ Bond Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น และค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า กดดันตลาดหุ้นทั่วโลก
3. ความเสี่ยงด้านสงครามที่ยังคงปกคลุม และสร้างความผันผวนให้กับตลาด หลังอิหร่านเปิดฉากโจมตีอิสราเอลด้วยโดรน และขีปนาวุธ
โดย ทีมวิจัยหลักทรัพย์บัวหลวง ประเมินว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกจะเข้าสู่โหมดการปรับฐานตาม Sentiment เชิงลบ เผชิญแรงขายทำกำไร หลังตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า เราแนะนำ Wait and See เพื่อรอประเมินสถานการณ์
สำหรับมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นหลักทั่วโลก ทีมวิจัยฯ ประเมินไว้ค่อนข้างน่าสนใจ ดังนี้
1. ตลาดหุ้นไทย : ในช่วงที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น ดัชนี SET ยืนเหนือ 1,400 จุด จากปัจจัยบวกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาฯ และความคืบหน้าในเรื่องของเงินดิจิทัล เรามองว่าตลาดหุ้นไทยมี Downside ของตลาดเริ่มจำกัด และยัง Laggard กว่าตลาดหุ้นอื่น ถึงแม้ว่า Upside ของตลาดอาจยังไม่ชัดเจน แต่มองเป็นจังหวะทยอยซื้อ หากดัชนีเคลื่อนไหวแถวบริเวณต่ำกว่า 1,400 จุด+/-
2. ตลาดหุ้นเวียดนาม : ฟื้นตัวได้กว่า 1% หลังปรับตัวลดลงแรงในช่วงก่อนหน้า เรามองว่าระยะสั้นตลาดหุ้นเวียดนามมีโอกาสพักตัว หลังปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างโดดเด่น และจากสถิติย้อนหลังในเดือนเม.ย. ตลาดหุ้นเวียดนามมักปรับตัวลดลงมากกว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ยังดี กำไรฟื้นตัว ราคาไม่แพง เรามองว่า ดัชนี VNI มีโอกาสขึ้นทดสอบแถวบริเวณ 1,300 จุด เรายังคงแนะนำ Let Profit Run ต่อ และสามารถทยอยซื้อสะสมได้ เมื่อดัชนีย่อตัว
3. ตลาดหุ้นจีน : ปรับตัวผสมผสาน โดยตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ปรับตัวลดลงแรง ขณะที่ตลาดหุ้นฮ่องกงสามารถยืนปิดบวกได้เล็กน้อย หลังตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมี.ค. กลับมาชะลอตัว 0.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ -1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกกลับมาหดตัวอีกครั้งและต่ำกว่าคาด -7.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เราคาดว่าตลาดหุ้นจีนจะยังคงมี Momentum เชิงบวกต่อไปได้ หลังตลาดซึมซับปัจจัยลบไปแล้วระดับหนึ่ง และราคาหุ้นค่อนข้างถูก แนะนำทยอยซื้อสะสม แต่ทั้งนี้ Sentiment เชิงลบ ตามตลาดหุ้นทั่วโลก อาจกดดันดัชนีได้ในช่วงนี้
4. ตลาดหุ้นสหรัฐฯ : ในช่วงที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงทั้ง 3 ดัชนีหลัก โดยมีปัจจัยกดดันจากความกังวลเรื่องแนวโน้มดอกเบี้ยที่อาจค้างสูง และลดได้ช้ากว่าที่คาดไว้ หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน มี.ค. 67 ออกมาสูงกว่าคาด เรามองว่า ระยะสั้นตลาดมีโอกาสเกิด Sector Rotation จากหุ้นกลุ่ม Growth ไปสู่หุ้นกลุ่ม Defensive โดยเรายังแนะนำ Let Profit Run ต่อ และมองเป็นจังหวะในการเข้าทยอยซื้อสะสม เมื่อดัชนีมีการย่อตัวลง และหากนักลงทุนกังวลต่อการพักฐาน แนะนำกระจายเข้าลงทุนในหุ้นกลุ่ม Defensive รับโอกาสเกิด Sector Rotation
5. ตลาดหุ้นยุโรป : ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงเล็กน้อย ตามตลาดหุ้นทั่วโลก โดยธนาคารกลางยุโรป ECB มีมติคงดอกเบี้ยตามคาด และพร้อมส่งสัญญาณว่า มีโอกาสลดดอกเบี้ยลงได้ก่อนธนาคารกลางสหรัฐฯ FED แต่ทั้งนี้ขอพิจารณาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปยังคงมี Valuation ที่ถูก เมื่อเทียบกับตลาดอื่น เป็นปัจจัยหนุนในการจำกัดความเสี่ยงขาลง แต่ระยะสั้นตลาดหุ้นยุโรปมีโอกาสพักตัว ชะลอความร้อนแรง หลังปรับตัวขึ้นมาอย่างโดดเด่น แนะนำให้ติดตามเงินเฟ้อ เดือนมี.ค. โดยตลาดคาดจะอยู่ระดับ 2.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
6. ตลาดหุ้นญี่ปุ่น : กลับมาฟื้นตัวได้ดี หลังปรับตัวลดลงแรงในช่วงก่อนหน้า ซึ่งสวนทางตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวลดลง โดยเรามองว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง และมี Momentum เชิงลบมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือน มี.ค. ซึ่งดัชนี NIKKEI225 หลุดต่ำกว่าบริเวณ 40,000 จุด ทำให้เรามองว่าระยะสั้นตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสเผชิญกับความผันผวน มีโอกาสย่อตัว ชะลอความร้อนแรง แต่ทั้งนี้แนวโน้มกำไรของบริษัทยังคงแข็งแกร่ง หากดัชนี NIKKEI225 ไม่หลุด 38,000 จุด+/- แนะนำถือลงทุนต่อ และรอประเมินสถานการณ์
7. ตลาดหุ้นอินเดีย : เคลื่อนไหวในกรอบ Sideway แคบ ขณะที่การรายงานเงินเฟ้อออกมาต่ำกว่าคาด และชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยในระยะสั้นเรามองว่าตลาดหุ้นอินเดียยังมีโอกาสพักตัวต่อ มองเป็นจังหวะทยอยซื้อสะสมเพิ่ม เมื่อดัชนีมีการย่อตัวลง หากไม่หลุดแถวบริเวณ 71,000 จุด+/- หลังแนวโน้มเศรษฐกิจและกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ยังคงแข็งแกร่งจะเป็นปัจจัยหนุนในระยะข้างหน้าต่อไป และการเลือกตั้งในเดือน เม.ย.- พ.ค. มักจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้น จากสถิติย้อนหลัง
สำหรับการลงทุนในกองทุนรวมท่ามกลางตลาดผันผวน รายงาน BLS Top Funds ที่จัดทำโดยฝ่ายค้าตราสารการเงิน หลักทรัพย์บัวหลวง ได้ให้คำแนะนำไว้ค่อนข้างน่าสนใจ ซึ่งเราได้คัดข้อมูลฉบับย่อมาให้ได้อ่านกันในบทความนี้ เช่น
• กองทุนรวม SCBGOLDH ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีก +1.45% โดยยังได้รับแรงหนุนจากความตึงเครียดทางสงครามฝั่งตะวันออกกลางระหว่างอิหร่านกับอิสราเอล ซึ่งระหว่างสัปดาห์ราคาทองคำเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนขึ้นลงกว่า 100 เหรียญ เรายังคงแนะนำถือลงทุนต่อ และรอประเมินสถานการณ์
• กองทุนรวม B-BHARATA ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น +0.54% แม้ว่าดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ Sideway แคบ ขณะที่เงินเฟ้อออกมาต่ำกว่าคาดและชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยเรามองว่าตลาดหุ้นอินเดียมีโอกาสพักฐาน ตามตลาดหุ้นทั่วโลก หากดัชนี SENSEX ไม่หลุดแถวบริเวณ 71,000 จุด+/- มองเป็นจังหวะทยอยซื้อสะสมเพิ่ม เมื่อดัชนีมีการย่อตัวลง หลังแนวโน้มเศรษฐกิจและกำไรของบริษัทฯ ที่ยังคงแข็งแกร่ง จะเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาดหุ้นอินเดีย ยังคงแนะนำ Let Profit Run ต่อ
• กองทุน ASP-SME-A ปรับตัวเพิ่มขึ้น +0.66% หลังตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น ดัชนี SET ยืนเหนือ 1,400 จุด จากปัจจัยบวกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาฯ และความคืบหน้าในเรื่องของเงินดิจิทัล โดยเรามองว่าตลาดหุ้นไทยมี Downside ของตลาดเริ่มจำกัด และยัง Laggard กว่าตลาดหุ้นอื่น ถึงแม้ว่า Upside ของตลาดอาจยังไม่ชัดเจน แต่มองเป็นจังหวะทยอยซื้อสะสม หากดัชนีเคลื่อนไหวแถวบริเวณต่ำกว่า 1,400 จุด+/-
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาโอกาสกระจายการลงทุนผ่านกองทุนรวมกับหลักทรัพย์บัวหลวง สามารถติดตามอ่านคำแนะนำการลงทุนฉบับเต็มได้จากรายงาน BLS Top Funds ซึ่งจัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมืออาชีพ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม BLS Customer Service โทร. 0-2618-1111