posttoday

เจาะลึกความแตกต่างด้านภาษีระหว่าง SME & Non SME

31 กรกฎาคม 2567

เจาะข้อมูลของภาษีที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME และ Non SME ในรูปแบบธุรกิจบุคคลธรรมดา และในรูปแบบธุรกิจนิติบุคคล

          ปัจจุบันมีธุรกิจเกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบมาก ในแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นทางด้านการบริหารงาน ด้านภาษี ด้านเงินลงทุน ซึ่งแต่ละแบบมีผลต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจ รวมถึงโอกาสในการได้รับสิทธิประโยชน์ว่าจะไปในทิศทางไหน

         ดังนั้นในบทความนี้จะขอเจาะข้อมูลเฉพาะในส่วนของภาษีที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME และ Non SME ในรูปแบบธุรกิจบุคคลธรรมดา และในรูปแบบธุรกิจนิติบุคคล สามารถอธิบายได้ดังนี้

ความแตกต่างระหว่างธุรกิจ SME และ Non SME ในรูปแบบนิติบุคคล

          การประกอบธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลระหว่าง SME กับ Non SME มีความแตกต่างกันสามารถอธิบายได้ดังนี้

เจาะลึกความแตกต่างด้านภาษีระหว่าง SME & Non SME

หมายเหตุ : ในส่วนของมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริม New Start Up ในเขตพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจ คือจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา เท่านั้น โดยมีเงื่อนไขดังนี้

1. จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2566 และมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจเท่านั้น

2. มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้า รวมถึงการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท

3. มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจของกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือรายได้เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมดในรอบระยะเวลาบัญชี

4. ยื่นคำขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ภายใน 31 ธันวาคม 2567 ทาง www.rd.go.th พร้อมแนบไฟล์หนังสือรับรองกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งออกโดย สวทช.และต้องได้รับอนุมัติตามคำขอ

5. ไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (ข้อมูลจากกรมสรรพากร)

ความแตกต่างระหว่างธุรกิจ SME และ Non SME ในรูปแบบบุคคลธรรมดา

          การประกอบธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาระหว่าง SME กับ Non SME นั้นในแง่ภาษีก็ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรการของรัฐที่มีในช่วงระยะเวลานั้นๆ เช่น  การขยายระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนออกไปอีก 3 ปี เฉพาะห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งมีเงินได้ไม่เกินปีละ 1.8 ล้านบาทเท่านั้น และมีกำหนดระยะสำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 โดยมีเงื่อนไขดังนี้

           1. ต้องเป็นวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล

          2. ต้องจดทะเบียนและได้รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจากกรมส่งเสริมการเกษตร

          3. ต้องมีเงินได้รวมทั้งหมดไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

          4. จัดทำและเก็บรักษาบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจำวัน (รายงานเงินสดรับ-จ่าย) รวมทั้งใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ไม่น้อยกว่า 5 ปี ณ ที่ตั้งของวิสาหกิจชุมชน

          5. ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90 โดยแสดงรายการเงินได้ที่ได้รับยกเว้นด้วย

          หมายเหตุ : ทั้งนี้ผู้ประกอบการใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในปีภาษีใด จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีนั้น

          นอกจากนี้ภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก จะได้รับยกเว้นภาษี หากมีภาษีที่ต้องเสียจะเสียภาษีตามอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันไดสูงสุด 35% และถ้าหากธุรกิจขาดทุนก็ยังต้องเสียภาษีอยู่ดี  

          กล่าวโดยสรุป รูปแบบการทำธุรกิจในโลกอนาคต ผู้ประกอบการอาจต้องมองถึงโอกาสในการขยับขยายธุรกิจให้กว้างขึ้น ซึ่งธุรกิจ SME ในรูปแบบนิติบุคคลอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าในแง่ของการประหยัดภาษีหากเทียบกับธุรกิจ SME ในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรืออธิบายแบบง่ายๆ เลย คือธุรกิจที่มีขนาดใหญ่การเป็นนิติบุคคลก็ยิ่งได้เปรียบในแง่ของภาษีมากกว่าบุคคลธรรมดา ซึ่งยังไม่ได้กล่าวรวมถึงสิทธิประโยชน์พิเศษตามนโยบายรัฐในแต่ละช่วงอีกมากมาย

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่  Inflow Accounting